ต่อรถไฟสินค้าไทยเชื่อมโลก  เก้าเจริญรับขนสินค้า อาเซียน-จีนทะลุรัสเซีย

22 ก.ย. 2565 | 17:02 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ย. 2565 | 00:17 น.

"เก้าเจริญฯ” บุกไม่หยุด เปิดอีกเส้นทางขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เชื่อมราง-เรือ  จากมาบตาพุดถึงท่าเรือกลังในมาเลเซีย เปิดทางเลือกฐานผลิตอีอีซี กับเส้นทางเดินเรือโลก เล็งต่อทั้งรับขนส่งสินค้าอาเซียน- จีน ขนส่งอาหารแห้งส่งรถไฟถึงรัสเซีย ทุ่นเวลา ลดต้นทุนขนส่ง แก้รถติด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่สถานีรถไฟมาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง นายณรงค์ ชูสลับ นายสถานีรถไฟมาบตาพุด จ.ระยอง พร้อมด้วยนายปัญญา ปะพุธสะโร ประธานกรรมการ พร้อมด้วยนายปุรเชษฐ์ ปะพุธสะโร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เก้าเจริญ เทรน ทราน สปอร์ต จำกัด ร่วมกันปล่อยขบวนรถขนส่งสินค้าคอนเทน เนอร์ จำนวน 7 ตู้  สินค้าประเภทปิโตรเคมี (เม็ดพลาสติก) โดยส่งออกทางรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ จากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปลายทางประเทศมาเลเซีย  

 

นายปัญญา กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ให้บริการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ด้วยระบบรางทางรถไฟขนส่งสินค้ามาตั้งแต่ปี 2562 ต่อมาในปี 2564 จึงเริ่มให้บริการขนส่งสินค้าผ่านแดนส่งออกทางรถไฟเช่นกัน ในเส้นทางมาบตาพุด-ลาว และมาบตาพุด-จีน โดยรถไฟสินค้ารฟท. ต่อเข้าระบบรถไฟจีน-ลาว 

ต่อรถไฟสินค้าไทยเชื่อมโลก  เก้าเจริญรับขนสินค้า อาเซียน-จีนทะลุรัสเซีย

ต่อรถไฟสินค้าไทยเชื่อมโลก  เก้าเจริญรับขนสินค้า อาเซียน-จีนทะลุรัสเซีย

“ล่าสุดได้เปิดเส้นทางขนส่งสินค้ากลุ่มปิโตรเคมีเที่ยวปฐมฤกษ์ดังกล่าว เป็นเส้นทางที่ 3 จากเดิมที่การขนส่งสินค้าจะใช้เส้นทางเดินเรือ โดยนำสินค้าออกจากท่าเรือมาบตาพุด ไปแหลมฉบัง แล้วอ้อมไปมาเลเซีย แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้การขนส่งสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ทางราง ออกจากสถานีรถไฟมาบตาพุดตรงไปมาเลเซีย ซึ่งระยะทางจะสั้นกว่า และค่าขนส่งถูกกว่าการขนส่งทางเรือ อีกทั้งการขนส่งทางรางยังช่วยลด ปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุบนท้องถนน”

 

นายปัญญากล่าวต่อว่า มีเป้าหมายที่จะพูดคุยในกลุ่มพันธมิตรธุรกิจขนส่งสินค้า โดยจะรับตู้สินค้าสลับกัน ต้นทางมาจากจีนลงมาลาวผ่านไทยและไปยังมาเลเซีย ซึ่งจะช่วยร่น ระยะทางสั้นลงกว่าการขนส่งทางเรือจากจีนมามาเลเซีย ที่ใช้เวลา 7-10 วัน แต่ถ้าเปลี่ยนมาขนส่งทางราง จะเหลือเวลาเพียง 5 วันเท่านั้น ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงได้กว่า 35%

ต่อรถไฟสินค้าไทยเชื่อมโลก  เก้าเจริญรับขนสินค้า อาเซียน-จีนทะลุรัสเซีย

ต่อรถไฟสินค้าไทยเชื่อมโลก  เก้าเจริญรับขนสินค้า อาเซียน-จีนทะลุรัสเซีย

รวมทั้งในเร็วๆ นี้ จะขยายเส้นทางขนส่งเพิ่ม เพื่อขนส่งสินค้าประเภทอาหารแห้งไปประเทศรัสเซียด้วยรถไฟเพิ่มเติมอีก โดยจะใช้เส้นทางสถานีมาบตาพุดไปถึงลาว ผ่านเข้าจีนซึ่งมีโครงข่ายระบบรางผ่านเอเซียกลาง ไปถึงรัสเซีย โดยจะเป็นขบวนตู้สินค้า 5 ตู้คอนเทนเนอร์ ใช้เวลาเดินทาง 14 วัน ร่นเวลาจากเดิมที่ขนส่งทางเรือที่ต้อง ใช้เวลาถึง 45 วัน 

 

“ก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองเส้นทางจนมั่นใจว่า สามารถทำได้ ซึ่งการขนส่งทางรางจะช่วยลดต้นทุนถูกกว่าการขนส่งทางเรือ และทางรถบรรทุก สินค้าไปถึงมือลูกค้าเร็วกว่า” นายปัญญายํ้า

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท เก้าเจริญฯ เปิดเส้นทางรถไฟ ขนส่งสินค้าของอินโดรามา เที่ยวปฐมฤกษ์ เมื่อ 15 พ.ย. 2564  จากมาบตาพุด สู่เส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหนองคาย ก่อนจะข้ามนํ้าโขงไปถึงสถานีท่านาแล้ง ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของระบบรถไฟไทยในฝั่งสปป.ลาว  

ต่อรถไฟสินค้าไทยเชื่อมโลก  เก้าเจริญรับขนสินค้า อาเซียน-จีนทะลุรัสเซีย

โดยก่อนหน้านั้นบริษัทซึ่งให้บริการขนส่งสินค้าคอนเทน เนอร์ระบบรางอยู่ก่อนแล้ว เมื่อปี 2564 ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ขอถ่ายลำและผู้ขอผ่านแดนทางรถไฟจากกรมศุลกากร และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จึงเริ่มให้บริการขนส่งตู้สินค้าที่เข้ามาจากท่าเรือแหลมฉบัง ไปส่งสปป.ลาว ระยะทางประมาณ 720 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 14 ชั่วโมง

 

จากนั้นจึงเปิดเส้นทางขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ จากสถานีมาบตาพุด ถึงสถานีท่านาแล้งดังกล่าว ระยะทาง 780 กม. ใช้เวลาเดินทาง 15 ชม. เร็วกว่าทางถนนที่ต้องใช้เวลา 2-3 วัน หรือทางทะเล 5-7 วัน และต่อมาขยายการขนส่งทางรางต่อเข้าไปถึงประเทศจีน ผ่านเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งมีโครงข่ายระบบรางไปถึงเอเซียกลางและต่อเข้ายุโรป-รัสเซียได้

ต่อรถไฟสินค้าไทยเชื่อมโลก  เก้าเจริญรับขนสินค้า อาเซียน-จีนทะลุรัสเซีย

การเปิดเส้นทางขนส่งจากมาบตาพุดถึงมาเลเซีย เท่า กับขยายเส้นทางลงใต้ไปถึงมาเลเซีย และอาจถึงสิงคโปร์ในอนาคต เป็นการต่อจิกซอว์โครงข่ายโลจิสติกส์กลุ่มสินค้าข้ามแดนผ่านแดน จากใต้สุดของกลุ่มอาเซียนบนคาบสมุทร ด้วยระบบรางผ่านไทย สปป.ลาว เข้าเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางของจีน ที่พร้อมกระจายต่อถึงตะวันออก ยุโรป รัสเซีย ได้แล้ว 

 

นอกจากระบบรางยังเชื่อมต่อสายการเดินเรือ โดยขนส่งสินค้าถึงท่าเรือกลัง (Port Klang) สถานีปลายทางการขนส่งสินค้าจากสถานีมาบตาพุดครั้งนี้ ซึ่งเป็นท่าเรือหลักและเก่าแก่ที่สุดของมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกาในรัฐเซลังงอร์ ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของมาเลเซีย เป็นท่าเรือใหญ่มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าเรือมากติดอันดับ 1 ใน 20 ของโลก อยู่บนเส้นทางขนส่งสินค้าเชื่อมเอเชียตะวันออก (ญี่ปุ่น เกาหลี จีน) ผ่านช่องแคบมะละกาและอาเซียนเข้ามหาสมุทร อินเดีย ไปตะวัน ออกกลาง และต่อเข้ายุโรปหรือแอฟริกาได้อีกทาง 

ต่อรถไฟสินค้าไทยเชื่อมโลก  เก้าเจริญรับขนสินค้า อาเซียน-จีนทะลุรัสเซีย

อัจฉรา วิเศษศรี/รายงาน          

หน้า10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,821  วันที่ 22-24 กันยายน พ.ศ.2565