“กัญชง” ดาวเด่นดวงใหม่ตลาดเฮลธ์แคร์ไทย “ไทยลีฟ”เตรียม 1,000 สูตรลุยตลาด

06 ก.ย. 2565 | 17:02 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.ย. 2565 | 04:21 น.

"ยิ่งยศ จารุบุษปายน" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย ลีฟ ไบโอเทคโนโลยี จำกัด เขียนบทความ เรื่อง “กัญชง”จะเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่สำหรับประเทศไทย“ใช้ให้ถูก ควบคุมให้เป็น” จะสร้างธุรกิจใหม่ให้กับตลาดเฮลธ์แคร์ไทย ใจความสำคัญดังนี้

 

ถ้าจะกล่าวว่า “ธุรกิจกัญชงเติบโตแน่ในวงการเฮลธ์แคร์” คงจะเป็นคำกล่าวที่ไม่น่าเกินจริง เพราะเมื่อเจาะลึกไปถึงสรรพคุณของ “กัญชง” (Hemp) ที่ ณ เวลานี้ได้รับสมญานามเป็น “พืชมหัศจรรย์” ในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการพิสูจน์ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมแล้วในหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา รวมถึงหลาย ๆ ประเทศในทวีปยุโรป ที่ได้มีการค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับกัญชง และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กว่า 20 ปี และจำหน่ายสู่ตลาดแล้วนั้น

 

จะพบว่า สารสกัด CBD จากกัญชง มีคุณประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมหาศาล โดยสารจัดอยู่ในกลุ่มคานนาบินอยด์ ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ไม่ทำให้มึนเมา และขีดเส้นใต้ชัดว่ากัญชงไม่จัดเป็นยาเสพติด

 

ยิ่งยศ  จารุบุษปายน

 

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีความสับสนว่ากัญชง ใช่สิ่งเดียวกับกัญชาหรือไม่ ซึ่งผู้ที่จะให้ข้อมูลกัญชงได้ดีและถูกต้อง ย่อมหนีไม่พ้นผู้ที่คลุกคลีในวงการธุรกิจการแพทย์อย่าง นายยิ่งยศ จารุบุษปายน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย ลีฟ ไบโอเทคโนโลยี จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตผลิตภัณฑ์และสกัดสาร CBD จากกัญชง

 

  • “กัญชง” พืชที่ต้องใช้ให้เป็น จะเป็นดาวเด่นดวงใหม่ของวงการแพทย์และยา

นายยิ่งยศ เผยว่า กัญชงไปได้ไกลกว่ากัญชาแน่นอน หากรู้จริงและนำไปใช้ให้ถูกวิธี ด้วยคุณประโยชน์ที่มีมากอนันต์ โดยเฉพาะสารสกัด CBD (Cannabidiol) จากกัญชง เพราะสารสกัด CBD สามารถนำไปพัฒนาเพื่อการใช้งานต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ โดยมีคุณสมบัติออกฤทธิ์เพื่อคลายเครียด ปกป้องเซลล์ประสาท แก้ปวด ลดการอักเสบ และอื่น ๆ

 

 

“กัญชง” ดาวเด่นดวงใหม่ตลาดเฮลธ์แคร์ไทย “ไทยลีฟ”เตรียม 1,000 สูตรลุยตลาด

 

แต่ถึงกระนั้นภาพจำของผู้คนต่อกัญชา ที่มีสาร THC อยู่ที่ร้อยละ 1-10 อันเป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีผลเสียต่อสมอง ร่างกาย และทำให้ขาดสติได้ ก็มีผลต่อความเข้าใจเรื่องกัญชงอย่างมาก ซึ่งแท้จริงแล้วกัญชงมีสาร THC ต่ำ น้อยกว่าร้อยละ 0.2 จึงไม่ถือเป็นสารเสพติดแต่อย่างใด

 

กัญชงถือเป็น พืชมหัศจรรย์ และสารสกัด CBD จากกัญชงมีคุณสมบัติที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ยา อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะการนำไปใช้ทางการแพทย์ ซึ่งต่างประเทศทั้งฝั่งอเมริกาเหนือ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝั่งอเมริกาใต้บางส่วน ฝั่งยุโรป และฝั่งออสเตรเลีย ต่างก็ยอมรับในประสิทธิภาพการใช้งานในวงการแพทย์ และได้มีการนำสาร CBD มาพัฒนาสูตรจนมีผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายแล้วในหลายประเทศ

 

กลับมาที่ประเทศไทย สารสกัด CBD จากกัญชง นับเป็นดาวเด่นดวงใหม่ของวงการแพทย์และยา อีกทั้งจะมีโอกาสทางธุรกิจในตลาดอาหารเสริม และตลาดเฮลธ์แคร์ที่ชัดเจนมาก ในปัจจุบัน เราได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) อย่างสมบูรณ์ และด้วยความก้าวหน้าของวงการแพทย์ในประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็น Medical Hub ของโลกและเอเชีย

 

“กัญชง” ดาวเด่นดวงใหม่ตลาดเฮลธ์แคร์ไทย “ไทยลีฟ”เตรียม 1,000 สูตรลุยตลาด

 

นอกจากนี้คุณสมบัติของ CDB สามารถใช้เพื่อช่วยรักษาโรคที่พบได้ในประชากรส่วนใหญ่ของคนไทย เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคเครียด โรคพาร์กินสัน อาการปวดข้อเข่าได้ ดังนั้น ไทยลีฟฯ จึงมองว่า กัญชง จะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทางด้านเฮลท์แคร์ในอนาคตแน่นอน และประชาชนจะเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นภายในปี 2566 หลังจากเริ่มมีการพัฒนาและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

 

  • ไทยลีฟฯ กับโจทย์สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัด CBD จากกัญชง สู่ตลาดเฮลธ์แคร์

“ผู้บริโภคจะต้องได้ใช้ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดกัญชงที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์มากที่สุด ในราคาที่เหมาะสม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยลีฟระบุ

 

ปัจจุบันคนไทยคิดว่าน้ำมันจากสารสกัด CBD กัญชง ใช้หยดเพื่อนอนหลับได้อย่างเดียว ซึ่งข้อนี้ถือเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นพื้นฐานของกัญชงเท่านั้น เพราะแท้จริงสารสกัด CDB จากกัญชงมีคุณประโยชน์มากกว่านั้น เมื่อนำไปพัฒนาเป็นสูตรต่าง ๆ ตามลักษณะแต่ละผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิต

 

ทั้งนี้ไทยลีฟฯ ได้เล็งเห็นประโยชน์ของสาร CBD ในหลายด้านที่จะเข้ามาช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย สร้างสมาธิ และไม่ทำให้มึนเมา ผนวกกับต้องการเสนอทางเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยรักษาโรคที่คนไทยกำลังประสบกันมาก เช่น โรคนอนไม่หลับ (Sleep Disorder) ที่ตามข้อมูลวิจัยพบว่าประชากรไทยร้อยละ 30 หรือกว่า 20 ล้านคน กำลังเผชิญอยู่ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เหตุเกิดจากความเครียดในการทำงาน สภาวะแวดล้อม ความกดดัน

 

ประโยชน์ของสารสกัด CBD จากกัญชงยังสามารถขยายไปสู่โรคซึมเศร้า (Depression) โรควิตกกังวล (Panic) ออฟฟิศซินโดรม และอื่น ๆ ได้ หลังจากได้เล็งเห็นประโยชน์อันมหาศาลจากกัญชงแล้ว ทางไทยลีฟฯจึงได้ร่วมกับหลายภาคส่วนในต่างประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการวิจัยสายพันธุ์กัญชงกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยกัญชงมากว่า 30 ปี

 

“กัญชง” ดาวเด่นดวงใหม่ตลาดเฮลธ์แคร์ไทย “ไทยลีฟ”เตรียม 1,000 สูตรลุยตลาด

 

ปัจจุบัน ไทยลีฟฯ มีสูตรผลิตภัณฑ์ที่พร้อมพัฒนาทันทีกว่า 1,000 สูตร มีการจดลิขสิทธิ์และขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแล้วในอเมริกา ซึ่งวางแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่มแรกในปี 2566 คือ 1.กลุ่มเครื่องดื่ม (Drinks & Beverages) 2. กลุ่มอาหารเสริม (Supplement) และ 3. กลุ่มเวชสำอาง (Cosmetic) ตามด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาตามลำดับ ซึ่งเวลานี้มีสูตรยาที่มีกัญชงเป็นสารประกอบแล้วราว 40 ชนิด

 

ไทยลีฟฯ เชื่อว่าผลิตภัณฑ์ที่จะออกสู่ตลาด สามารถตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ ใน 3 ปัญหาหลัก ได้แก่ 1.การนอนหลับ ที่ผู้ใหญ่มักจะนอนดึก ตื่นเช้า 2.การปวดเมื่อย ซึ่งมักจะปวดช่วงข้อเข่าหรือหลังจากการนั่งเป็นเวลานาน และ 3.การรับประทานอาหาร โดยกัญชงมีโปรตีนสูง มีแคลเซียม สามารถทำเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุได้

 

  • แนวทางควบคุมจากภาครัฐและเอกชนที่ต้องทำควบคู่กัน

สำหรับ “กัญชง” ในประเทศไทย เป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพ และมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากทั้งในตลาดอาเซียนและทั่วโลก ซึ่งความท้าทายของการบริหารธุรกิจในชั่วโมงนี้คือ “ความเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย” มิใช่คู่แข่งในตลาดการแข่งขันกัญชงแต่อย่างใด เพราะมั่นใจในธุรกิจกัญชงแบบครบวงจร One Stop Service ที่บริหารตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำของบริษัท

 

ขณะเดียวกันไม่ได้มองคนอื่นเป็นคู่แข่ง แต่มองผู้ร่วมดำเนินธุรกิจด้านกัญชงทุกบริษัทเป็นพาร์ทเนอร์ ซึ่งข้อกฎหมายจากภาครัฐที่กำหนดข้อปฏิบัติไม่ชัดเจน มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง อาจจะทำให้คนไทยสับสนว่าสิ่งใดทำได้และสิ่งใดทำไม่ได้ ดังนั้นภาครัฐควรจะเพิ่มการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ต่อข้อมูลที่ถูกต้องให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนในทิศทางเดียวกัน ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ต้องจับมือร่วมกับภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการใช้กัญชงอย่างถูกต้อง ซึ่งบริษัทไทยลีฟฯ ในบทบาทของผู้พัฒนา ที่พร้อมด้วยประสบการณ์ เครื่องมือ และเครือข่าย พร้อมที่จะให้การสนับสนุนภาครัฐทุกรูปแบบ เพื่อขับเคลื่อนพืชเศรษฐกิจใหม่นี้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อได้ในอนาคตเช่นกัน

 

นอกจากนี้ อีกหนึ่งความท้าทายของการพัฒนากัญชงในประเทศไทย คือ เกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญหลักที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อสร้างอาชีพ เสริมรายได้ ดังนั้นจะต้องคำนึงถึงตลาดรองรับ ชนิดของสายพันธุ์ ความรู้ความเข้าใจในการปลูก ราคาขาย ความสามารถในการแข่งขัน สภาพอากาศ เทคโนโลยีในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพตามความต้องการของตลาด

 

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่ ต้องคำนึงหลายประเด็น อาทิ 1. เงื่อนไขและมาตรฐานการผลิตที่เข้มงวด เช่น สารสกัด CBD จากกัญชง ให้มีปริมาณสาร THC ที่ไม่เกิน 0.2% ในอาหารหรือเครื่องดื่ม 2.ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรกัญชง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมกลางน้ำที่ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ได้มาตรฐานสูง 3.ความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งบริษัทกัญชงหลายแห่งในต่างประเทศแม้จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ที่สูงแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงโดยเฉพาะต้นทุนจากโรงงานเครื่องจักรสกัด

 

4.ค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนา 5.การสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ทั้งด้านการรักษาความปลอดภัย หรือผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชง รวมทั้งการต่อต้านของกระแสสังคมและวัฒนธรรม 

 

“ปัจจุบันการรับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง และคุณประโยชน์จากกัญชงยังไม่เป็นที่ทั่วถึงมากนัก เนื่องจากกฎหมายไทยจัดให้พืชกัญชงอยู่ในกลุ่มยาเสพติดมาเป็นเวลานาน” นายยิ่งยศ กล่าวสรุป