FPIT ฟันธง Relocation สร้างโอกาสดึงเม็ดเงินลงทุนเข้า EEC

17 ส.ค. 2565 | 16:34 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ส.ค. 2565 | 16:20 น.
613

FPIT วิเคราะห์โอกาสและทิศทาง EEC เผย การย้ายและการขยายฐานการผลิตจากจีน สร้างโอกาสการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ แนะรัฐเร่งสร้างความเชื่อมั่น พร้อมชูนโยบายสนับสนุนการลงทุนที่ชัดเจน

นายโสภณ ราชรักษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) หรือ FPIT กล่าวในงาน สัมมนา EEC New Chapter Ne Economy ที่จัดขึ้นโดยเครือเนชั่น ในหัวข้อ อีอีซีเดินหน้า...สร้างบทบาทใหม่เศรษฐกิจไทย ว่า แนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในไทยและ EEC มีโอกาสมาก เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การลงทุนอั้นมาก

 

 

เมื่อทุกอย่างเริ่มเดินหน้า เขาพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 เฟส คือ เฟสแรก การกลับเข้ามาในช่วงระยะสั้น จากการย้านฐานการผลิต (Relocation) เนื่องจากผลกระทบของ Tech และ Tech War

 

 

ปัญหาจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ที่กระทบกับเรื่องของซัพพลายเชน รวมไปถึง China Plus One หรือการที่บริษัทญี่ปุ่นที่เคยลงทุนหรือทำธุรกิจกับจีนพยายามลดสัดส่วนการพึ่งพาจีนลงเนื่องจากความไม่มั่นใจในความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศทั้งสอง 

 

ปัจจัยเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานผลิต หาที่ประกอบการใหม่ ซึ่งเน้นความรวดเร็ว (On Demand Solution) เพื่อย่นระยะเวลาการเข้าสู่ตลาด (Time to Market) และต้องเป็นพื้นที่ที่สามารถขยายหรือลดได้ในอนาคต (Flexible Space/Resilience) ซึ่งนักลงทุนจะมองหาพื้นที่ในแถบเอเชียแปซิฟิก และไทยก็คือหนึ่งในนั้น

โสภณ ราชรักษา

เฟสที่ 2 คือ การขยายฐานการผลิต ซึ่งเป็นการลงทุนในระยะกลางและยาว เป็นการลงทุนเพืื่อการขยายธุรกิจสู่ New Economy หรือ New Product ที่ต้องอาศัยซัพพลายเชนเน็ตเวิร์คและเทคโนโลยี และต้องการพื้นที่ที่้องปรับทั้งเรื่อง Physical, Social และ regulatory Infrstructure  

FPIT ฟันธง Relocation สร้างโอกาสดึงเม็ดเงินลงทุนเข้า EEC

 

กลยุทธ์ที่สำคัญที่จะดึงให้นักลงทุนไหลเข้ามาในพื้นที่ EEC คือ 

  • การต่อยอด (Evolve)จากเทรนด์โลกมากมายที่กระทบอุตสาหกรรม สิ่งหนึ่งที่ต้องรองรับให้ได้คือ Smart Industrial Property รองรับอุตสาหกรรม 4.0 โดยต้องมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลีและออโตเมชั่นในอาคาร 
  • การปรับปรุงใหม่ (Enhance) ต้องมีการปรับปรุงอาคาร เพื่อให้รองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งต้องคำนึงถึงเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) เพราะนี่คือมาตรฐานการทำงานในโลกยุคใหม่ที่ทั่วโลกมองหา รวมไปถึงต้องมีการปรับปรุงระบบ Logistics Park ที่มีความทันสมยและอำนายความสะดวกกับการใช้งาน
  • การพัฒนาใหม่ (Create) ด้วยการพัฒนาอาคารโรงงานพร้อมเช่าในรูปแบบใหม่ New Generation เพื่อรองรับกับการใช้พื้นที่อาคารที่เปลี่ยนไป และต้องพัฒนาคลังสินค้าเพิ่มเติม ทั้ง Built-to-Suit และอาคารเฉพาะทางพร้อมใช้

 

นายโสภณ กล่าวว่า ส่วนของ FPIT มีการลงทุนใน EEC ทั้งอาคารคลังสินค้า และ อาคารโรงงานมาตรฐานสำเร็จรูป มี Logistics Park และ มีระบบการก่อสร้างโรงงานแบบ Built-to-Suit โดยปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 1.5-1.6 ล้านตารางเมตร

 

 

ทั้งโรงงานสำเร็จรูป และแวร์เฮ้าส์ และมีพื้นที่เหลืออีก 1500 ไร่ สำหรับพัฒนาเพิ่มเติม โดยใน EEC มีอัตราการเช่าอาคารโรงงาน 85%จากกว่า 200 กว่าอาคาร และอาคารคลังสินค้าอัตราการเช่า 75% จากกว่า 300 ดังนั้น จึงมีความสามารถเพียงพอต่อการรองรับตลาด 

 

สำหรับการแข่งขันและโอกาสของไทยในพื้นที่อีอีซี สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือการสร้างความเชื่อมั่น และเสถียรภาพ ให้กับนักลงทุน เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุนที่จะเลือกย้ายและเข้ามาใช้พื้นที่อีอีซีเป็นฐานการผลิตต่อไป