"โออาร์" เล็งขยายธุรกิจไป 100 ประเทศในปี 73 คาดยอดขายน้ำมันปีนี้โต 8-10%

23 ก.ค. 2565 | 09:36 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ค. 2565 | 23:24 น.
694

"โออาร์" เล็งขยายธุรกิจไป 100 ประเทศในปี 73 คาดยอกขายน้ำมันปีนี้โต 8-10% มั่นใจสิ้นปีนี้เตรียมปิดดิลอีก 1 ประเทศ

นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิจ 5 เดือนที่เหลือ โออาร์จะยังคงเดินหน้าการลงทุนเพิ่มเติมคาดว่าจะมีการร่วมมือทั้งธุรกิจบริการ สตาร์ทอัพ คอเปอร์เรท และเอสเอ็มอี ประมาณ 5 รายเป็นขั้นต่ำ 

 

โดยที่ผ่านมา 10 ราย ใช้เงินในจำนวนไม่มากจากจำนวนเงินที่วางไว้  5 ปี ที่  9.6 หมื่นล้านบาท ถือว่ายังเหลืออีกมากะ ซึ่งสิ่งที่ตั่งใจจะลงทุนคือ กลุ่มพลังงานสะอาด เช่น เป็นผู่ให้บริการ เพราะจุดแข็งคือสถานีบริการน้ำมันจะเป็นจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ได้ โดยเป้าสิ้นปีนี้ที่ 450 สถานี

 

ส่วนการขยายการลงทุนต่างประเทศ คาดว่าภายในปีนี้จะไปลงทุนอย่างน้อย 1 ประเทศ จากที่มีอยู่แล้ว 10 ประเทศ เป็นลักษณะพาร์ทเนอร์ไม่ใช้เงินลงทุนสูง และตั้งเป้าหมายปี 2030 (2572) จะขยายเป็น100ประเทศ 

สำหรับในวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันผันผวน การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น โออาร์มองว่าวิกฤตมาพร้อมโอกาส เมื่อระบบสาธารณสุขดีขึ้น การท่องเที่ยวฟื้นส่งผลให้ผลดำเนินงาน 6 เดือนเมื่อเที่ยบกับปีก่อนมียอดขายเพิ่มขึ้น 6-8% ส่งผลรวมไปถึงการเข้าใช้บริการนอนออยล์ในสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย

 

ทั้งนี้ คาดว่าสิ้นปี 2565 ถ้าไม่มีผลกระทบจากโควิดรอบใหม่ มาตการรักษาระยะห่างผลดำเนินงานไตรมาส 3-4/2565 จะเข้าสู่เทรนด์ปกติ คือฤดูการท่องเที่ยว ไฮซีซั่น จะส่งผลยอดขายน้ำมันปีนี้จะโตกว่าปีที่แล้ว 8-10% ส่วนมาเกตแชร์ปีนี้อยู่ที่ 38-39% ในขณะที่ปี 2564 อยู่ที่ 34-35% 

 

นอกจากนี้ วิกฤตพลังงานจะทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคหันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ลดการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ อีกทั้งนโยบายภาครัฐบาลสนับสนุนการใช้รถอีวี โออาร์จึงมีการเตรียมตัวเพิ่มสถานีบริการชาร์จอีวี 

 

โออาร์คาดยอกขายน้ำมันปีนี้โต 8-10%

 

อย่างไรก็ตามส่วนปัญหาของเมียนมาที่เกิดขึ้นขณะนี้ โออาร์แทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เนื่องจากการร่วมลงทุนกับพาสเนอร์ทั้งการทำคลังน้ำมัน คลังแอลพีจี มีความคืบหน้าแล้ว 80% ส่วนการชำระเงินให้ผู้รับเหมาก็ไม่มีปัญหาอะไร ด้านแฟรนไชส์ อเมซอนจำนวน 6 สาขา ก็ดำเนินธุรกิจได้ปกติ

นางสาวจิราพร ยังกล่าวอีกว่า วิถีการทำธุรกิจใหม่ด้วยเป้าหมายใหม่ จะสร้างโอกาส เกิดประโยชน์ที่เติบโตมาด้วยกัน จะไม่ได้เติบโตแค่ธุรกิจ แต่เติบโตด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ในอดีตการดำเนินธุรกิจจะเน้นการประสบความสำเร็จ เป็นการทำธุรกิจรูปแบบเดิม ต้องการกำไรให้องค์กรแบบเดิมถือว่าไม่ผิด 

 

อย่างไรก็ตาม เกิดผลลัพธ์ที่จะผลักดันให้เกิด คือ 

 

  • การปฏิวัติด้านอุตสาหกรรม นับว่าเป็นการก่อให้เกิดการก้าวกระโดดระบบเศรษฐกิจของโลก กลายเป็นการแบ่งแยกคนออกเป็น 2 กลุ่ม คือคนที่ได้ประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาจะมีแค่ 10% ของโลก มีรายได้มากกว่า 90 เท่าของคนที่อยู่ในระบบล่าง 

 

  • การปฏิวัติข่าวสารข้อมูล จะเห็นได้ว่าระบบการศึกษา ระบบอินเทอร์เน็ต จากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่ดี คน 96% เป็นคนที่อ่านออกเขียนได้ ส่วนประเทศที่ด้อยพัฒนาจะมีสัดส่วนน้อยมาก 

 

  • การปฏิวัติเทคโนโลยี และดิจิทัล พบว่าประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่ดี มีความมั่งคั่ง ทั้งโลกมีแค่ 24% ในยุคการค้าขายอีคอมเมิร์ซมีโอกาสสร้างรายได้มากกว่า 

 

  • การปฏิวัติด้านสังคม เป็นผลลัพธ์มาจากการปฏิวัติทางเศรษฐกิจ ประเทศที่พัฒนาแล้วใช้งบประมาณหรือรัฐสวัสดิการคนละ 5 พันดต่อปี ส่วนประเทศด้วยพัฒนาใช้งบประมาณแค่ 30 เหรียญ ต่อคนต่อปีเท่านั้น

 

“ทั้ง 4 การปฏิวัติจะก่อให้เกิดใสเรื่องของความเชื่อ ซึ่งโซเชียลที่เปลี่ยนแปลงไป คือ ความแตกต่างด้านฐานะทางการเงิน เกิดการแตกต่างมากมาย โดย 1% ของโลกนี้ มีความมั่งคั่ง ข้อสำคัญคือหนี้รอกระบบ มีคนเพียง 1 ใน 4 สามาถหาแหล่งเงินทุนได้”

 

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า จากปัญหาโควิด-19 การรับวัคซีนเข็มแรกนั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วคนเกือบทั้งประเทศมีโอกาสรับวัคซีนเข็มแรกมากกว่า เพราะการบริหารงานด้านสาธารณสุขมีการพูดถึงเยอะ การจะมีสุขภาพที่ดี และได้รับโอกาสทางการแพทย์มัดจะขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าด้วยเช่นกัน

 

นอกจากนี้ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมที่เสียหาย สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้น จะเห็นว่า คนที่มีรายได้สูง จะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจและเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจแต่กลับสร้างผลเสียในวงกว้าง จะส่งผลให้ 8 ปี ต่อจากนี้ คนที่อยู่ในโลก 40% อาจจะต้องอพยพ และไม่สามารถอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งได้อีกต่อไป เพราะคุณภาพชีวิตไม่ดี เกิดการแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย คนที่อยู่ในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดี จะมีดัชนีสันติภาพโลก (GPI) ที่ 1.15


อย่างไรก็ดี หากปล่อยให้สภาพแวดล้อมเลวร้ายต่อไปเรื่อย ๆ เด็กที่เกิดในปี 2030 จะมีถึง 2 ใน 3 ของเด็กที่เกิดใหม่ และอยู่ในสภาวะสังคมที่แตกแยกแข่งขัน ดังนั้น การทำธุรกิจต้องเปลี่ยนความคิด องค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปลี่ยนความคิดการทำธุรกิจ 

 

และต้องเปลี่ยนการทำธุรกิจแบบเดิม ที่เน้นพัฒนาสินค้าตอบโจทย์แค่ปัจจัยที่ 4 แต่ปัจจุบันผู้บริโภคจะให้ความสำคัญว่าสินค้าและบริการแบรนด์นั้น ๆ จะสร้างมูลค่าอย่างไร สร้างมลพิษหรือไม่ ถือเป็นคุณค่าที่ช่วยตัดสินใจซื้อหรือใช้แบรนด์นั้น จะเห็นได้ว่า กลุ่มวัยรุ่นสมัยใหม่มองว่าหากใช้พาสติก 100% ก็จะไม่สนับสนุน 

 

นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจในอดีต จะเน้นลดค่าใช้จ่าย สร้างผลตอบแทนผู้ถือหุ้น การดำเนินธุรกิจอาจต้องต้นทุนต่ำ แต่ยุคต่อจากนี้ไป ควรคำนึงว่าต้องตอบแทนผู้มีส่วนได้เสียเป็นหลัก ดูความต้องการในบริบทของสังคม เมื่อสังคมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน 

 

จากแค่คิดว่า การดำเนินธุรกิจเพื่อองค์กร ตัวเรา คู้ค้าเท่านั้น จะต้องเปลี่ยนแนวคิด ถ้าไม่เปลี่ยนก็จะแพ้ทั้งคู่ การดำเนินธุรกิจจะต้องช่วยขยายตลาด เป็นระบบนิเวศให้คนทุกขนาด ทุกประเภทให้เติบโตไปด้วยกัน ทั้งนี้ จะเกิดผลลัพธ์ในภาพรวม จากที่เคยโตคนเดียวมาเป็นโตไปด้วยกัน เมื่อเป็นวิถีใหม่สภาวะโลกผันผวนรุนแรง ความร่วมมือจะเกิดผลสำเร็จ 

 

โออาร์พร้อมที่จะเป็นองค์กรต้นแบบในการเปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจ Exclusive เป็น Inclusive Growth ให้ผู้บริโภคได้เข้ามาใช้บริการร่วมกัน เช่น สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ปัจจุบันมีจำนวน 2,080 สาขาทั่วประเทศไทย ปีนี้จะเพิ่มเป็น 2,130 แห่ง 

 

โออาร์พร้อมเปลี่ยนการให้บริการจากการให้บริการพลังงานรูปแบบเดิมเป็นคอมมูนิตี้ เปิดกว้างรับเอสเอ็มอี ชุมชน เกษตรกร ได้สามารถเข้ามาหารายได้ ใช้แพลตฟอร์มร่วมกัน และเปิดรับสตาร์ทอัพ เพื่อร่วมขยายอีโคซิสเต็มร่วมกับโออาร์ สร้างโอกาสให้คนทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่ตนตัวเล็ก แต่ทั้งอาเซียน จะส่งผลต่อความแข็งแรงของประเทศไทยยิ่งขึ้น