“เฉลิมชัย” คิกออฟ "งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก

09 ก.ค. 2565 | 16:45 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ก.ค. 2565 | 01:02 น.
875

“เฉลิมชัย”เปิดงาน“มหกรรมผลไม้และของดีป่าละอู” ชู “ทุเรียนป่าละอู” ของดีประจวบฯ หนุนเกษตรกรปลูกสร้างรายได้ ย้ำรักษาคุณภาพ เพื่อการส่งออกทั่วโลก

 วันที่ 9 ก.ค.65 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “มหกรรมผลไม้และของดีป่าละอู” ประจำปี 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 17 กรกฎาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะทุเรียนป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน

 

ซึ่งเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และพันธุ์ชะนี ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค มีเนื้อแห้งเนียนละเอียด กลิ่นอ่อน รสชาติหวาน มัน เมล็ดลีบเล็ก ทำให้เนื้อทุเรียนหนา และที่สำคัญยังได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มาตั้งแต่ ปี 2554 มีผลผลิตในช่วงเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม  

“เฉลิมชัย” คิกออฟ \"งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการผลิตทุเรียนพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในลักษณะของกลุ่มแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ในส่วนของการยกระดับมาตรฐานสินค้าทุเรียน มีการส่งเสริมควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จำนวน 390 ราย รวมพื้นที่ 2,502.40 ไร่

 

นอกจากนี้ยังได้รับมาตรฐานอินทรีย์ และได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI โดยเป็นทุเรียนป่าละอู จำนวน 83 ราย สำหรับทุเรียนในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ปลูก ณ เดือนพฤษภาคม 2565 จำนวน 14,782.25 ไร่ ให้ผลแล้ว 8,109 ไร่ คิดเป็น 54.85 % ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด ปริมาณผลผลิต 7,118.44 ตัน ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์หมอนทอง และพันธุ์อื่นๆ เช่น พันธุ์ชะนี ก้านยาว พวงมณี

 

“พื้นที่การปลูกทุเรียน ใน จ.ประจวบคีรีขันธ์มีจำนวนมาก แต่ปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนไทย จึงทำให้ออกสู่ผู้บริโภคได้น้อย ดังนั้นจึงต้องส่งเสริมการปลูกให้มากขึ้น เพื่อให้คนได้รู้จักทุเรียนป่าละอู พร้อมทั้งยึดหลักตลาดนำการผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกร อีกทั้ง ขอฝากพี่น้องผู้ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาสินค้าให้มีคุณภาพ เพื่อให้สามารถส่งออกสินค้า
ทางการเกษตรได้ทั่วโลก เป้าหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก และขอความร่วมมือไม่ตัดหรือรับซื้อทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) หากพบจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด “ รมว.เกษตรฯ กล่าว 

                          “เฉลิมชัย” คิกออฟ \"งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก
 

“เฉลิมชัย” คิกออฟ \"งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก

 

 

 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้รณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมาย “Q” ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกรับรองให้กับสินค้าที่ผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรนำไปใช้แสดงกับสินค้าเกษตรที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามมาตรฐาน มีความปลอดภัย และมีคุณภาพเทียบเท่า มาตรฐานสากล

 

โดยในปี 2565 กระทรวงเกษตรฯ โดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้พัฒนาระบบการตามสอบสินค้าเกษตร บนระบบคลาวด์สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (QR Trace on Cloud) และเข้าไปส่งเสริมการใช้ระบบดังกล่าวให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีการผลิตสินค้าทุเรียนที่ได้การรับรองมาตรฐานการ GAP และได้รับเครื่องหมาย GI

 

โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบพันธุ์กล้าไม้ทุเรียนให้กับตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน  มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (ส.ป.ก. 4-01) ให้แก่เกษตรกร มอบใบประกาศนียบัตร QR Traces ให้กับเกษตรกรต้นแบบจำนวน 15 ราย พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรภายในงาน

“เฉลิมชัย” คิกออฟ \"งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก
 

“เฉลิมชัย” คิกออฟ \"งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก     
 

“เฉลิมชัย” คิกออฟ \"งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก
 

             “เฉลิมชัย” คิกออฟ \"งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก
 

                           “เฉลิมชัย” คิกออฟ \"งานทุเรียนป่าละอู”ของดีประจวบฯ ส่งออกทั่วโลก