IP Fair 2022 ชู มัลติเวิร์ส จุดประกายคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนไอเดียเป็นทรัพย์สิน

08 ก.ค. 2565 | 12:15 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ก.ค. 2565 | 19:27 น.

IP Fair 2022 ชู มัลติเวิร์ส จุดประกายคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนไอเดียสร้างสรรค์เป็นทรัพย์สิน  พาณิชย์ เปิด “IP Fair 2022” 8-10 ก.ค.นี้ พร้อมทำ MOU ร่วมกับการกีฬา ยกระดับวงการกีฬาไทย หนุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา(IP Fair) 2022 และเป็นสักขีพยานพิธีลงนาม MOU ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับการกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) ว่าความก้าวหน้าและการพัฒนาการใช้องค์ความรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของคนไทย เพื่อสร้างมุมมองใหม่และสร้างแรงบันดาลใจให้กับประชาชนและผู้ประกอบการไทย  

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

การจัดงาน IP Fair 2022 ปีนี้มีหลากหลายกิจกรรมที่สำคัญมุ่งสนองนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ที่มอบหมายให้นำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้สร้างมูลค่า หรือเพิ่มมูลค่า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

 

 

โดยมีกิจกรรมณวันนี้มี 3 กิจกรรมหลัก 1. มอบรางวัล IP Champion 2022 ให้กับผู้ได้รับรางวัลดีเด่นในทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละด้าน เช่น ด้านสิทธิบัตร  ด้านเครื่องหมายการค้า ด้านลิขสิทธิ์ และ ด้านสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  หรือ GI เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ ปัจจุบันกรมทรัพย์สินทางปัญญาการจดทะเบียนไปแล้วถึง 161 สินค้า

IP Fair 2022 ชู มัลติเวิร์ส จุดประกายคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนไอเดียเป็นทรัพย์สิน

จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มเมื่อได้รับการจดทะเบียนเป็น GI ที่ได้รับรางวัลคือข้าวสังข์หยดของจังหวัดพัทลุง ซึ่งเมื่อก่อนขายได้เพียงกิโลกรัมละ 20-30 บาท หลังเป็น GI ขายได้ 80-90 บาท/กก. ซึ่ง GI ทั้งประเทศตอนนี้มี 161 สินค้า ในอดีตขายได้เพียง 10,000 กว่าล้านบาทต่อปี แต่ขณะนี้สามารถสร้างมูลค่าได้ถึง 40,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งมีความสำคัญสำหรับอดีตและโลกในอนาคตด้วย

IP Fair 2022 ชู มัลติเวิร์ส จุดประกายคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนไอเดียเป็นทรัพย์สิน

กิจกรรมที่สองคือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำ MOU  กับการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อนำกีฬามาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นตัวขับเคลื่อนและส่งต่อชื่อเสียงของประเทศ และจะสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศและวงการกีฬาต่อไป เพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับนักกีฬา ผู้อยู่ในวงการกีฬาและชื่อเสียงของประเทศได้มูลค่าทางเศรษฐกิจมาด้วย ซึ่งมีหลายด้านที่จะนำมาใช้ประโยชน์จาก MOUได้เช่น ชุดกีฬา อุปกรณ์กีฬา การออกแบบ ลิขสิทธิ์การถ่ายทอด ทัวร์นาเมนต์ กีฬาด้านอื่น เช่น มวยไทยก็จะเป็นรูปธรรมมีเป้าหมายชัดเจนการแข่งขัน สามารถเพิ่มมูลค่าโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับการกีฬาแห่งประเทศไทย

IP Fair 2022 ชู มัลติเวิร์ส จุดประกายคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนไอเดียเป็นทรัพย์สิน

และกิจกรรมสุดท้ายคือการแปลงงานศิลปเช่น ภาพวาด ไปเป็น NFT ผ่านระบบดิจิทัล นำไปขายผ่านระบบบล็อกเชน ส่งเสริมซอฟพาวเวอร์ ซึ่งเป็นศิลปะที่รังสรรค์โดยศิลปินซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ตนมอบด้านซอฟพาวเวอร์ว่าต้องเน้นสร้างมูลค่าจากซอฟพาวเวอร์ ซึ่งวันนี้มีลูกของคุณถวัลย์ ดัชนี นำภาพที่มาแปลงเป็น NFT มาขายบนระบบแพลตฟอร์มบล็อกเชนซึ่งขายได้มูลค่าถึง 2,800,000 บาท

IP Fair 2022 ชู มัลติเวิร์ส จุดประกายคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนไอเดียเป็นทรัพย์สิน

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า  มหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ IP Fair 2022 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม นี้ ที่บริเวณชั้น 1 และชั้น 9 สยามสเคป ชูแนวคิด มันส์ดีเวิร์ส ทรัพย์สินทางปัญญาทางเลือกของคนรุ่นใหม่ โชว์ไอเดียการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ในภาคอุตสาหกรรม ทั้งกีฬา ศิลปะ ดนตรี เทคโนโลยี เกมส์ ฯลฯ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและโอกาสทางธุรกิจ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ทั้งนี้รายงานกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ทุกฝ่ายมุ่งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟพาวเวอร์ที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ไว้ และนับตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2565 กระทรวงพาณิชย์สร้างมูลค่าทางการตลาดกว่า 2,118 ล้านบาท มีธุรกิจที่ได้รับประโยชน์มากกว่า 9,000 ราย ซึ่งเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่นำมาขับเคลื่อนนโยบายซอฟพาวเวอร์ของกระทรวงพาณิชย์

IP Fair 2022 ชู มัลติเวิร์ส จุดประกายคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนไอเดียเป็นทรัพย์สิน

และสำหรับการยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแบบเร่งด่วน (Fast Track) ลดระยะเวลาจาก 18 เดือน เหลือ 6 เดือน และสามารถยื่นคำขอเพื่อรับการคุ้มครองในอีก 127 ประเทศทั่วโลก และในสิ้นปีนี้จะลดระยะเวลาจดทะเบียนให้เหลือ 4 เดือน การจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบมุ่งเป้า (Fast Track) โดยเริ่มจากสาขาผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ลดระยะเวลาการตรวจสอบจากอย่างน้อย 5 ปี เหลือ 1 ปี และสามารถยื่นคำขอเพื่อขอรับความคุ้มครองในอีก 155 ประเทศทั่วโลก