ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น

08 ก.ค. 2565 | 07:30 น.

ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น เดือนมิถุนายนสูงขึ้น13.8% จากราคาวัตถุดิบ ต้นทุนด้านพลังงาน ทั้งน้ำมันและไฟฟ้าที่สูงขึ้นประกอบกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

หลังจากที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์  แถลงตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ ซึ่งแบ่งตามกิจกรรมการผลิต เดือนมิถุนายน 2565 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 116.2 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2564 สูงขึ้น 13.8% (YoY) ซึ่งสูงกว่าเดือนพฤษภาคมเล็กน้อย

ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง  ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น

ทั้งนี้สาเหตุมาจากการปรับสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ และต้นทุนด้านพลังงาน ทั้งราคาน้ำมันและ ค่าไฟฟ้า ประกอบกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากทั่วโลกมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง  ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น

ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้ผลิตแบ่งตามขั้นตอนการผลิต พบว่า ดัชนีหมวดสินค้าสำเร็จรูป หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป)สูงขึ้น 5.8 25.2 % และหมวดสินค้าวัตถุดิบ สูงขึ้น 29.9% โดยมีสินค้าสำคัญในห่วงโซ่อุปทานที่ราคาปรับสูงขึ้นตามวัตถุดิบ

 

ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง  ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น

ได้แก่ ผลปาล์มสด น้ำมันปาล์มดิบ →น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หัวมันสำปะหลังสด → มันเส้น/มันอัดเม็ด/แป้งมันสำปะหลัง อ้อย → น้ าตาลทรายดิบ → น้ำตาล ทรายขาว และ น้ำยางสด/ยางแผ่นดิบ → ยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง → ยางล้อ/ยางรัดของ เนื่องจากความต้องการของตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง  ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงดัชนีผู้ผลิตเดือนมิถุนายนที่ปรับตัวสูง13.8% นั้นเป็นผลมาจากการปรับสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ และต้นทุนทางด้านพลังงาน ทั้งราคาน้ำมัน ค่าไฟ ประกอบกับความต้องการ สินค้าของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้น12.9%

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

จากกลุ่มสินค้าสำคัญ  เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และ อิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ  และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้น 54%  จากสินค้าสำคัญอย่าง ก๊าซธรรมชาติ น้้ามันปิโตรเลียมดิบ และแร่โลหะ และ หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม และการประมง สูงขึ้น9.1% เป็นผลจากสินค้าสำคัญเช่น ข้าวเปลือกเจ้า หัวมันสำปะหลังสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชผัก ผลปาล์มสด ยางพารา สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่และ ผลิตภัณฑ์จากการประมง

ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง  ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น

 อย่างไรก็ตาม เมื่อดู ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP) มีสินค้าสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน ที่ราคาปรับสูงขึ้นตามวัตถุดิบ ได้แก่ ผลปาล์มสด หัวมันส้าปะหลังสด อ้อย น้้ายางสด/ยางแผ่นดิบ เนื่องจากความต้องการของตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง  ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น

ทั้งนี้แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต ไตรมาสที่3 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ และ สินค้าที่เกี่ยวเนื่อง จากปัจจัย ต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและ ทางอ้อม รวมทั้งราคาปุ๋ ย อาหารสัตว์ วัตถุดิบ และค่าขนส่ง ตลอดจนเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าสูงขึ้น

ดัชนีผู้ผลิตไตรมาส3 มีแนวโน้มพุ่ง  ผู้บริโภคเตรียมใจซื้อสินค้าแพงขึ้น

 รวมถึงความขัดแย้งในยูเครน และมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งส่งผลต่ออุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์ ประกอบกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว และการผ่อนคลาย มาตรการควบคุมโควิด-19 แต่มองว่าการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร ขณะที่มีการจำกัดการส่งออก ในหลายประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ