นายกรัฐมนตรี รับปากชาวนา “ข้าวรักษ์โลก” ลงพื้นที่ วันที่ 7 ก.ค.

02 ก.ค. 2565 | 15:47 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.ค. 2565 | 17:02 น.
1.4 k

สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก เฮลั่น หลังพบ “บิ๊กตู่” นายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เผยนายกฯ เป็นห่วงชาวนา ทำไมเม็ดเงินแสนล้าน ยังไม่เข็มแข็ง “สานิตย์ ” ชงโมเดล “ข้าวรักษ์โลก” จังหวัดกำแพงเพชร มาตรฐาน GAP ต้นทุนต่ำ ปลูกไม่พอขาย นายกฯ สนใจ รับปากจะลงพื้นที่ วันที่ 7 ก.ค.นี้

เข้าพบนายกรัฐมนตรี

 

นายสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 นำโดย ดร. ภณ ทัพพินท์กร นายกสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก ได้นำคณะผู้บริหารเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งจากการพูดคุยท่านเป็นห่วงพี่น้องชาวนา ที่ผ่านมารัฐบาลได้ทุ่มงบแสนล้าน ทำไมพวกเรากืยังไม่แข็งแรง

 

นายกรัฐมนตรี รับปากชาวนา “ข้าวรักษ์โลก” ลงพื้นที่ วันที่ 7 ก.ค.

 

“ท่านอยากเห็นความยั่งยืนจึงได้มอบหมายให้ ท่านอนุชา นาคาศัย และ ทีมสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ องค์กรเกษตรกร อย่าง สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก ช่วยกันคิดช่วยกันทำ "ข้าวรักษ์โลก" เพื่อผู้บริโภครักสุขภาพ จากแหล่งผลิตข้าวชั้นดีของประเทศ เช่น  เหนือสุด ทุ่งเชียงของ จังหวัดเชียงราย,ภาคเหนือตอนล่าง  ทุ่งขาณุ จังหวัดกำแพงเพชร ,ร้อยแก่นสารสินธุ์ ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม ,นครชัยบุรินทร์  ดินภูเขาไฟ ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัด ศรีสะเกษ”

 

นายกรัฐมนตรี รับปากชาวนา “ข้าวรักษ์โลก” ลงพื้นที่ วันที่ 7 ก.ค.

 

นายสานิตย์  กล่าวว่า จาก ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ของโครงการขาณโมเดล ผ่านภาพรวมที่แปลงสาธิต หมู่2 ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โดยจุดประสงค์ของการจัดเวทีในครั้งนี้ เพื่อให้ชาวนานักรักษ์ ได้บอกเล่าเรื่องดีๆของ "ข้าวรักษ์โลก" ข้าวมาตรฐาน GAP ที่เพิ่มเติม ประกอบกับเรื่องรักษานิเวศสิ่งมีชีวิตในแปลง สิ่งแวดล้อม รอบแปลง เริ่มจากเลิกเผาฟาง ผลผลิต ที่ได้คือ มีคุณภาพทางกายภาพดีขึ้น ทำให้ได้ราคาสูงขึ้น การใช้ชีวภัณฑ์ชีวภาพ ทำให้ต้นทุนต่ำ ได้ผลลัพธ์คือ เงินในกระเป๋าเพิ่ม และ ข้าวที่กลุ่มปลูก “ไม่พอชาย”

 

 

กลุ่มข้าวรักษ์โลก”  เริ่มต้นมาจากการที่รัฐบาลชุดปัจจุบันใช้แนวทางการ  "แก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน" สำหรับการผลิตข้าวทั้งระบบ ตั้งแต่ปี  2563   ด้วยการส่งเสริมการผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ การพัฒนาพันธุ์  ตามที่ตลาดต้องการ การส่งเสริมและให้องค์ความรู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งอาจใช้แนวทางประชานิยมบ้าง แต่ก็มีการจัดการด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน

 

นายกรัฐมนตรี รับปากชาวนา “ข้าวรักษ์โลก” ลงพื้นที่ วันที่ 7 ก.ค.

 

นายสานิตย์ กล่าวว่า ในขณะนั้น สมัยนั้นดำรงตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย  ผมและพวกเรากลุ่มชาวนาที่อำเภอ ขาณุวรลักษบุรี ซึ่งเป็น"'ชาวนานักรักษ์" ได้ปรับพฤติกรรมการผลิตข้าว และ ร่วมสร้างเป้าหมายใหม่ๆ ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีดำริไว้  "เราจะปลูกข้าวสู้เวียดนาม" จึงเป็นที่มาของโครงการขาณุโมเดล ได้หารือและร่วมกันเตรียมข้อมูลด้านตลาดและรายชื่อคู่ค้า  โรงสี  ไว้ล่วงหน้า

 

พันธุ์ กข79

 

จากนั้นจึงหาสายพันธุ์ข้าวที่ตลาดต้องการ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมการข้าว  เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวกข79 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยปลูก ดังนั้นเมื่อผ่านมา 2 ฤดูกาล จึงรู้จักนิสัยข้าวกข79 เป็นอย่างดี   ทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกเริ่มเห็นผลเชิงประจักษ์  สมาชิกสามารถสร้างระบบการผลิตข้าวได้มาตรฐาน GAP และมีการใช้ชีวภาพชีวภัณฑ์ทำให้ข้าวเปลือก ได้คุณภาพทางกายภาพดี เมื่อส่งต่อวัตถุดิบคุณภาพให้ โรงสีคู่ค้า ทำให้สามารถนำไปแข่งขันในตลาดได้ ทำให้ความต้องการข้าวเปลือกจากกลุ่มขาณุโมเดล จึงมากกว่ากำลังผลิต นี่คือที่มาของประโยคที่ว่า "ปลูกข้าวไม่พอขาย" นั่นเอง

 

 

นายสานิตย์  ปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก  ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า"สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ สำนักนายกรัฐมนตรี, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช) ได้ลงพื้นที่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ในวาระต่างกัน เก็บข้อมูล  และสอบถามข้อเท็จจริงเสมอ  เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในลำดับต่อไปจึงสอดคล้องกับหน่วยงานสำคัญอย่างกรมการข้าวยุคใหม่ ที่ใช้แนวทางตลาดนำการผลิต

 

นายกรัฐมนตรี รับปากชาวนา “ข้าวรักษ์โลก” ลงพื้นที่ วันที่ 7 ก.ค.

 

ปัจจุบันได้มีชาวนาในหลายพื้นที่ ที่ต้องการ "ความยั่งยืน" ต่างเข้ามาดูงานที่โครงการขาณุโมเดล และ จะนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตน จึงเป็นที่มาของการยกระดับสู่ โครงการ ข่าวรักษ์โลก BCG Model ของสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจรักษ์โลก  ถือว่าเป็นการแจ้งเกิดสมาคมใหม่ อย่างเป็นทางการ