ทีพีไอพีพี เดินหน้าธุรกิจสีเขียว ปี 2026 ลดปล่อยคาร์บอน 12 ล้านตัน

29 มิ.ย. 2565 | 19:45 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มิ.ย. 2565 | 03:34 น.

ทีพีไอพีพี เดินหน้าธุรกิจสีเขียว โหมลงทุนเปลี่ยนขยะเป็นเชื้อเพลิงใช้แทนถ่านหิน สู่ NetZero Carbon โดยลดการปล่อยคาร์บอนได้แล้ว 6 ล้านตัน คาดในปี ค.ศ.2026 ลดปล่อยคาร์บอนได้ 12 ล้านบาท

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ TPIPP กล่าวในงานสัมมนา”ส่องหุ้นไทย 2022 : ขับเคลื่อนธุรกิจรับอนาคต” จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ในหัวข้อ” พลิกเกมสู่ Tech Company รับโลกยุคใหม่” ว่า บริษัทจะผลิตสินค้าที่ดีและใช้นวตกรรมที่ดีสุดเพื่อตอบโจทย์ประชาชน  และยืนยันว่าบิรษัทจะเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมขยะสู่พลังงาน ที่มุ่งเน้นเป็นบริษัทสีเขียว

 

ปัจจุบันบริษัทมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม  440 เมกะวัตต์  โดยโรงไฟฟ้าที่ 7  และโรงที่ 8 กำลังผลิตรวมกันสองโรง 220 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แต่ในอนาคตเราจะปรับไปใช้เชื้อเพลิงสะอาดหรือขยะ RDFทั้งหมด

 

โดยขณะนี้ได้เริ่มที่โรงไฟฟ้าโรงที่ 7 กำลังผลิตไฟฟ้า 70 เมกะวัตต์ก่อน จะเสร็จเดือนสิงหาคม 2565 นี้ และตามด้วยเฟสที่ 2  จะเสร็จประมาณเดือนเมษายน ปี 2566   ซึ่งการลงทุนทั้งหมดเมื่อเสร็จทั้งสองเฟสแล้ว โรงไฟฟ้าโรงที่ 7 จะใช้ RDF ได้ 100 %  เงินลงทุนประมาณ 800 ล้านบาท 

 

ขณะที่โรงไฟฟ้าโรงที่ 8 กำลังผลิตไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงทั้ง 150 เมกะวัตต์ มาเป็น RDF เหมือนกัน เลิกดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด  จะแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2068 เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท  ซึ่งแน่นอนเมื่อโรงไฟฟ้าโรงที่ 7 และโรงไฟฟ้าโรงที่ 8 ใช้ RDF มากขึ้น จำเป็นต้องขยายสายการผลิต RDF ให้มากขึ้นตาม

 

โดยมีแผนจะสร้างสายการผลิต RDF มากขึ้นอีก 5 สายการผลิต รวมปริมาณ 4,500 ตันต่อวัน มูลค่าลงทุน 4,500 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม ปี 2566

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ TPIPP

นอกจากนี้ บริษัทมีการประมูลโรงไฟฟ้าขยะของเทศบาลสงขลา ขนาดกำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,745 ล้านบาท  น่าจะCOD ได้ในปี 2568   และที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นโรงไฟฟ้าขยะเหมือนกัน กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,830 ล้านบาท น่าจะ COD ปี 2568  

 

นายภัคพล กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเข้าไปดำเนินงานตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ได้เห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม)

 

โดยมีกำลังผลิตตามสัญญาจากพลังงานสะอาดรวมทั้งสิ้น 9,996 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 4,455 เมกะวัตต์ พลังงานลม 1,500  เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 485 เมกะวัตต์  จากก๊าซชีวภาพ 335 เมกะวัตต์  จากขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ และขยะอุตสาหกรรม 200 เมกะวัตต์ 

 

ทั้งนี้ ในส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ทางบริษัทมีพื้นที่ค่อยข้างมาก ทั้งที่สงขลา ระยอง และสระบุรี  คาดว่าจะตั้งโซล่าฟาร์มในพื้นที่แถวนั้น

 

 เมื่อมีการเปิดประมูลจะชัดเจนมากขึ้นว่าจะยื่นประมูลในพื้นที่ไหนบ้างและกี่เมกะวัตต์ ปัจจุบันเรามีการคุยกับพาร์เนอร์อยู่ รอให้ลงนามก่อนจะประกาศอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม โซลาร์ฟาร์มจะสร้างแน่ๆที่สระบุรี ขนาดกำลังผลิต  42  เมกะวัตต์ น่าจะCOD ได้ในปี 2566 หน้า เงินลงทุนประมาณ1,400ล้านบาท เพื่อป้อนไฟฟ้าให้กับบริษัทแม่   

 

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ TPIPP

 

นายภัคพล กล่าวอีกว่า การผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้  200 เมกะวัตนั้นเราคงไม่ได้ทั้งหมด แต่คาดว่าจะได้ส่วนแบ่งในส่วนนี้มาบ้าง และขณะนี้ก็กำลังศึกษาเรื่องพลังงานลมและขยะอุตสาหกรรม เพิ่มเติม

 

ส่วนเรื่องการลงทุนในสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี แชร์ริ่ง สเตชั่น นั้น ปัจจุบันได้หารือกับพาร์ทเนอร์แล้ว เห็นพร้องว่าปัจจุบันเร็วเกินไปถ้าจะลงทุนไปตั้งอีวีชาร์จทั่วประเทศ อาจต้องรอเวลา 1-2 ปี

 

แต่เฟส1ทางบริษัทแม่ ทีพีไอ โพลีน มีรถที่ต้องวิ่งภายในเหมืองปูน ประกาศแล้วว่าสิ้นปีนี้จะเปลี่ยนรถ 26 คันให้เป็นรถไฟฟ้า และภายในปี 2568 รถที่อยู่ในเหมืองทั้งหมด ต้องเป็นรถไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องการไฟฟ้าเพื่อชาร์จรถไฟฟ้า ทางเราจะสามารถขายไฟฟ้าให้เขาได้ ก็จะเป็นผลดีต่อบริษัท

 

นอกจากนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรี ประกาศเข้าร่วมประชุมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่เมืองกลาสโกลว์ (COP26) ว่าเราจะลดคาร์บอน 115 ล้านตันภายในปี ค.ศ.2050 และเป็น NetZero Carbon ในปีค.ศ. 2065  

 

ทางบริษัทมีแผนว่า ในปี ค.ศ. 2020  เรามีกำลังผลิตไฟฟ้า 440 เมกะวัตต์   เป็นพลังงานไม่สะอาด ประมาณ 50 % พอสิ้นปี 2566 กำลังผลิตไฟฟ้าจะขึ้นไปถึง 510 เมกะวัตต์  แต่จะมี กำลังผลิต 150 ที่มาจากพลังานไม่สะอาด ประมาณ 30 % และปี ค.ศ.2026  หลังจากที่เราเปลี่ยนโรงไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว  เราจะขึ้นเป็น 606 เมกะวัตต์  ใช้เชื้อเพลิงสะอาดทั้งหมด  

 

ปัจจุบันโรงไฟฟ้าโรงที 7 และ โรงที่ 8 ปล่อยคาร์บอนประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี  แต่โรงไฟฟ้า 3, 4, 5 และ 6 เราใช้ขยะไม่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทน  ลดการปล่อยคาร์บอนได้  6 ล้านตันต่อปี แต่ในเดือนมกราคม -ธันวาคม ปี 2026 จะลดคาร์บอน 12 ล้านตันต่อปี ซึ่งเกินค่า NetZero Carbon ไปแล้ว 12 ล้านตันต่อปี ในปี 2026

 

นายภัคพล กล่าวถึงผลประกอบการในปีนี้ว่า  นักลงทุนจะกลัวเรื่อง ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า  (ADDER ) ที่กำลังหายไป  ปัจจุบันบริษัทมี ADDER  มี PPA  3 ฉบับ คือ  ADDER 18 เมกะวัต  หมดอายุแล้ว ,ADDER  55 เมกะวัต หมดอายุ สิงหาคม ที่ผ่านมา และ ADDER 90 เมกะวัตต์ มีถึงสิงหาคมปี  2025 หรือเหลืออีก 2 ปี

 

ผลจากค่า FT ที่สูงขึ้น เรายังไม่รวมการเติบโตในเดือนกันยายน  ถ้าในเดือนกันยายน ค่า ค่า FT เท่าเดิม ไม่รวม 40 สตางค์ จะได้เป็นผลบวกกับบริษัท แต่ถ้าในเดือนกันยายนมีการปรับสูงขึ้น ก็จะสูงกว่า 559 ล้าน 

 

ส่วน RDFIPIPL คือ บริษัทแม่ของเราเปลี่ยนการใช้ถ่านหินมาเป็นขยะหรือRDF  เราก็จะขาย RDF ให้บริษัทแม่ได้ เป็นผลบวกของบริษัทเรา 


ปัจจุบัน กฟผ.มีโปรแกรมขายเฉพาะกิจ คือใครก็ตามที่มีกำลังการผลิตสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินให้ กฟผ.ในราคาค่าไฟที่ถูกได้ เนื่องจาก กฟผ. ต้องเอาค่าไฟนี้ไปเฉลี่ยกับค่าไฟจากโรงไฟฟ้าก๊าซ โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ค่าไฟสูง เพื่อลดภาระของประชาชน  รวมกันแล้วบริษัท ยังมีผลประกอบการบวกอยู่ 378 ล้าน