“ไข่ไก่” ล้นตลาด-ราคาตก เดือนกรกฎาคม ปศุสัตว์ ดันส่งออกอีก 32 ล้านฟอง

25 มิ.ย. 2565 | 14:36 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มิ.ย. 2565 | 21:37 น.
1.7 k

เดือนกรกฎาคม “ไข่ไก่” ล้นตลาด วันละ 8 แสนฟอง ทุบราคาตก ต่อเนื่อง กรมปศุสัตว์ จับมือ 16 ราย นำเข้าแม่ไก่ PS ดัน ส่งออก 100 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 32 ล้านฟอง เดินหน้ารักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ “บังจู” ป้องพ่อค้าเร่ ไข่ไก่ วอนสังคมอย่าเหมาเข่ง เป็นบางคันเท่านั้นที่ขายไข่ไก่เน่า

อัพเดทสถานการณ์ณ์ราคาไข่ไก่ ที่ผ่านมา เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน กรมปศุสัตว์ ได้ประเมินคาดสถานการณ์ผล ผลิตไข่ไก่จะล้นตลาดประมาณวันละ 1 ล้านฟอง จึงได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตไก่ไข่พันธุ์ จำนวน 16 ราย ร่วมผลักดันการส่งออกไข่ไก่ ตามสัดส่วนปริมาณการเลี้ยง ปริมาณทั้งหมด 80 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือ 26 ล้านฟอง เพื่อพยุงราคา ล่าสุด เดือนกรกฎาคม สถานการณ์ผลผลิตไข่ไก่ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง

 

“ไข่ไก่” ล้นตลาด-ราคาตก เดือนกรกฎาคม ปศุสัตว์ ดันส่งออกอีก 32 ล้านฟอง

 

แหล่งข่าวจากสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การประชุมหารือกำหนดแนวทางรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ครั้งที่ 2/2565วันที่ 21 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมาโดยมีนายสัตวแพทย์โส.ภัชย์ ชวาลกุลรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จาก สพส. กสส. ผู้แทนสำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9ผู้แทนผู้เลี้ยงไก่ไข่จาก 4 สมาคม 4 สหกรณ์ และผู้ประกอบการไก่ไข่พันธุ์ 16 บริษัท เข้าร่วมเพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตไข่ไก่ภายในประเทศและพิจารณากำหนดมาตรการให้เหมาะสม

 

“ไข่ไก่” ล้นตลาด-ราคาตก เดือนกรกฎาคม ปศุสัตว์ ดันส่งออกอีก 32 ล้านฟอง

 

สาระสำคัญที่ประชุมมีข้อสรุป ดังนี้  สถานการณ์ราคาไก่ไข่และไข่ไก่ปัจจุบันมติที่ประชุม รับทราบสถานการณ์การผลิตไก่ไขปัจจุบัน  จำนวนไก่ไข่ยืนกรงปัจจุบัน 51.90 ล้านตัว ประมาณการผลผลิตไข่ไก่ 43.08 ล้านฟองต่อวัน (25 พ.ค. 65)  ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มฟองละ 3.10 บาท (ข้อมูล กรมการค้าภายใน) ลูกไก่ไข่ตัวละ 26 บาท ไก่ไข่ รุ่นตัวละ 160 บาท (ข้อมูล CPF)

 

สำหรับต้นทุนการผลิตไข่ไก่เฉลี่ยฟองละ 3.02 บาท (คณะอนุกรรมการต้นทุนฯ) มีแนวโน้มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารสัตว์ และพันธุ์สัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีการกำหนดมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ที่ประชุมมีการหารือในประเด็นต่างๆ ดังนี้

“ไข่ไก่” ล้นตลาด-ราคาตก เดือนกรกฎาคม ปศุสัตว์ ดันส่งออกอีก 32 ล้านฟอง

 

สถานการณ์และแนวโน้มราคาไข่ไก่ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2565 เดือนพฤษภาคม 2565 ไข่ไก่เริ่มมีการสะสมในระบบมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มราคาไข่ไก่ปรับลดลง สวนทางกับต้นทุนการผลิตที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย - ยูเครน ได้แก่ ราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นกำลังซื้อของประชาชนลดลงเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

 

ผลสรุปในที่ประชุมได้มีคาดการณ์สถานการณ์เดือน มิ.ย. 65 ผลผลิตไข่ไก่ล้นตลาดประมาณวันละ 0.8 ล้านฟองมติที่ประชุม 3 เรื่องได้แก่

 

1. ปรับมาตรการขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่ยืนกรงปลดไก่ไข่ที่อายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนี้

 

“ไข่ไก่” ล้นตลาด-ราคาตก เดือนกรกฎาคม ปศุสัตว์ ดันส่งออกอีก 32 ล้านฟอง

 

ขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่ทุกราย เร่งปลดไก่ไข่ยืนกรงที่อายุเกิน 80 สัปดาห์ ยกเว้นรายย่อยที่เลี้ยงต่ำกว่า 30,000 ตัว ที่มีใช่ฟาร์มในระบบเกษตรพันธะสัญญาของผู้ประกอบการรายใหญ่ ขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่รายใหญ่ ขนาดการเลี้ยงตั้งแต่ 100,000 ตัวขึ้นไป ปลดไก่ไข่ยืนกรงที่อายุ 78 สัปดาห์ ระยะเวลา 1 เดือน

 

 

 

2. ผลักดันการส่งออกไข่ไก่เพื่อพยุงราคาในระหว่างรอผลการปลดไก่ไข่ยืนกรงเกินอายุขอความร่วมมือผู้เลี้ยง PS 16 ราย ผลักดันการส่งออกไข่ไกในเดือนกรกฎาคม 2565 ปริมาณ100 ตู้คอนเทนเนอร์ (32 ล้านฟอง) เพื่อให้การปลดไก่ไข่ยืนกรงชดเชยเหมาะสมกับสถนการณ์ ที่จำเป็นต้องลดปริมาณไข่ไก่ในท้องตลาดโดยเร็ว ขอความร่วมมือผู้ประกอบการปลดไก่ไข่ยืนกรงชดเชยในช่วงอายุ 75 – 79 สัปดาห์

 

แหล่งข่าววงการค้าไข่ไก่ กล่าวว่า ช่วงนี้แปลกเรื่องราคาไข่ไก่ไหม จากกระแสข่าวบอกว่าไข่ล้นตลาด ราคาลดลง แต่หลายฟาร์มมีสภาวะไข่ไก่ไม่พอขาย ตลาดไข่ทุกวันนี้เราขายกันด้วยราคา คือใครใคร่ขายเท่าไiขาย  ทำให้ราคาแต่ล่ะพื้นที่ไม่เท่ากัน กลไก่ในแต่ล่ะพื้นที่แตกต่างกัน บางฟาร์มขายราคาปกติไม่พอให้ลูกค้า บางฟาร์มทั้งเท ทั้งดั้มราคาก็ยังเหลือ

 

นอกเหนือจากราคาฟาร์มเองต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ใจเขาใจเราเป็นที่ตั้ง ทุกวันนี้พอไข่ใครล้นก็ดั้ม ก็เท ไหนไข่นอกระบบอีก ไข่เก็บเก่า ไข่ห้องเย็นมาตีตลาดอีก ทุกคนต้องช่วยกันไม่ทำลายประกาศ แต่ก่อนมีราคาประกาศกลางคุมทั้งประเทศปัญหาแบบนึ้เกิดน้อยมากและไม่ยาวนาน ช่วงเศรษกิจแบบนี้ คนไทยจับจ่ายน้อย เงินขาดมือ การเพิ่มหรือดันยอดขายยากนิดนึง สรุปล่ะกันนะคับ ด้วยสภาวะแบบนี้การควบคุมราคาไข่ไก่ในประเทศควรมีวิธีการควบคุมอย่างชัดเจน

 

“ไข่ไก่” ล้นตลาด-ราคาตก เดือนกรกฎาคม ปศุสัตว์ ดันส่งออกอีก 32 ล้านฟอง

 

มีข้อเสนอแนะนะคับ ความเห็นส่วนตัว ด่าได้แต่อย่าแรง

 

1. ควบคุมจำนวนแม่ไก่ยืนกรงอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ทุกวันนี้มันทำไม่ได้

 

2. กำหนดราคาประกาศเป็นแบบทั้งประเทศเหมือนเดิม หรือภูมิภาคก็ได้ ไข่โซนเดียวกันราคาควรใกล้เคียงกัน

 

3. นโยบายการส่งออกไข่ไก่ต้องชัดเจน ไม่ใช่ปิดๆเปิดๆ จะมีคนค้าขายคนไทยวางแผนได้ พอมีน้อยไม่ให้ส่ง พอมีมากมายังคับส่ง ลูกค้าต่างประเทศเขาไม่มั่นใจ

4. วางแผนการกำหนดการปลดไก่ยืนกรงให้ชัดเจน ว่าต้องปลดเมื่อไหร่ ไม่ใช่ราคาดีก็ยืนต่อ ทำให้การควบคุม supplychain ตลาดไข่ไก่บิดเบี้ยว

 

5. ควบคุมปัจจัยต้นทาง ราคาพันธุ์สัตว์,ยาสัตว์,ค่าอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตหลักถ้าราคาพวกนี้ควบคุมไม่ได้ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมีผล สุดท้ายรายย่อยตายหมด

 

6. การดำเนินธุรกิจแบบตรงไปตรงมา มีพันธมิตรที่ดีหมายถึงระหว่างฟาร์มกับผู้ค้าเอง การได้กำไรอย่างเหมาะสม ไม่ขูดรีดเดินไป ทำให้ตลาดคล่องตัว ฟาร์มไม่ปล่อยราคาสูงเกินไป ผู้ค้าไม่กดราคา จะมีราคาที่เหมาะสมเอง การมีลูกค้าประจำตามความหมายคือต้องเกื้อกูลกันในทุกสภาวะ อันนี้ไม่ต้องอธิบายคนในกลุ่มน่าจะเข้าใจดี สุดท้ายขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านช่วงเวลานี้ไปนะคับ สู้ๆๆๆนะ แสงมักอยู่ปลายอุโมงค์เสมอ

 

สุธาศิน อมฤก

 

ด้านนายสุธาศิน อมฤก  หรือ คนในวงการไข่ไก่ เรียก “บังจู” นายกสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊คสมาคม กล่าวถึงสถานการณ์ราคาไข่ไก่ มีใจความว่า  หลายวันมานี้ ผมได้อ่านข่าวในแวดวงไข่ไก่ ซึ่งมีออกมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่การพาดพิงผู้ค้าคนกลาง ว่าเอารัดเอาเปรียบ ฉวยโอกาสต่อรองราคาผู้เลี้ยงไก่ไข่ในช่วงไข่ล้นตลาด,ไข่ราคาตก,ไข่ถูก,ไข่หมดอายุ จนมาถึงประเด็นไข่เน่า

 

ผมเคยพูดหลายครั้งแล้วว่า ราคาไข่ไก่ตามต้นทุน "ไม่มีจริง" จะทำได้จริง เฉพาะช่วงไข่น้อย หรือไข่ขาดเท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้ได้เลย ในช่วงที่ไข่ไก่ล้นตลาด ไม่ว่าจะพยายามแขวนราคา หรือจะไม่ประกาศราคาลงมา  เพราะสุดท้าย "กลไกตลาดจะทำงาน" ราคาจะร่วงลงมาโดยอัตโนมัติ

 

 ในขณะที่ไข่ล้นตลาด ไข่ที่ถูกเทออกมาสู่ตลาด ทุกคนก็รู้ดีว่ามาจากภาคบริษัท ราคาที่ถูกนำออกมาเทขาย ต่ำกว่าราคาประกาศหลายสิบสตางค์ต่อฟอง ผู้ค้าคนกลางก็ต้องพูดคุยกับฟาร์มที่ตนเองซื้ออยู่ เพื่อขอลดราคารับซื้อจากหน้าฟาร์ม เพื่อไปสู้ราคากับไข่ราคาต่ำที่เทออกมา ซึ่งในวงการไข่เรียกว่า "ซื้อตามสภาวะราคาของตลาด" ไม่มีผู้ค้าไข่คนใด ซื้อแพง เพื่อมาแข่งขันกันขายถูกเพื่อให้ได้ขายแน่นอน เพราะนั่นคือการขายขาดทุน

 

ดังนั้น การที่ท่านทำหนังสือชี้แจงไปถึงส่วนราชการใดๆก็ตาม อย่าโยนปัญหาของท่านมาให้กับทางผู้ค้าคนกลาง หรือให้เกิดความเข้าใจผิดและเป็นจำเลยจากสังคม

 

“ไข่ไก่” ล้นตลาด-ราคาตก เดือนกรกฎาคม ปศุสัตว์ ดันส่งออกอีก 32 ล้านฟอง

 

ส่วนประเด็น "ให้ระวังการนำไข่เน่าไข่หมดอายุ มาเร่ขายจากรถเร่" ประเด็นนี้ผมขอแก้ข่าวให้ชาวรถเร่ รถเร่ขายไข่คุณภาพดีมีมาก แต่อาจมีส่วนน้อยที่มีพฤติกรรม โดยการนำไข่หมดอายุมาจำหน่าย ซึ่งไข่หมดอายุ ก็มาจาก shop ชื่อดัง เมื่อวางขายแล้วขายไม่หมด และหมดอายุ ก็จะวิ่งเก็บรวบรวมเอามาเทขาย ในราคาถูก  ไข่หมดอายุไม่ควรนำออกมาสู่ตลาด เจ้าของไข่ชุดนี้ ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่านี้ และวิธีจัดการไข่กลุ่มนี้ ให้ได้ดีกว่านี้ ควรกำจัดทิ้ง ไม่ควรนำมาจำหน่ายในตลาด