กรอ.ระนองหนุนจัดที่ 415 ไร่ ตั้งเขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมงรับ SEC 

25 มิ.ย. 2565 | 10:25 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มิ.ย. 2565 | 17:32 น.

จังหวัดระนอง ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ(กรอ.) จังหวัดระนอง เสนอจัดตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมง และขุดลอกร่องน้ำท่าเรือ รองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้(SEC)

นายสมเกียรติ  ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) จังหวัดระนอง ครั้งที่ 1/2565 โดยมีคณะกรรมการฯ เข้าร่วมประชุม   ที่ห้องประชุมรัตนรังสรรค์  ศาลากลางจังหวัดระนอง เพื่อติดตามผลการสำรวจหาพื้นที่ในการดำเนินการก่อสร้างสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้า ระนอง 3 เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่จังหวัดระนอง โดยสถานีตำรวจภูธรปากน้ำแจ้งข้อขัดข้อง ไม่สามารถแบ่งที่ดินราชพัสดุ บริเวณหน้าบ้านพักของสถานีตำรวจปากน้ำได้ เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างบ้านพัก และอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ตามศาสตร์พระราชา 

 

สำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงงานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมระบบราง (MR-MAP) (MR 8 ชุมพร-ระนอง) เชื่อมการเดินทางและขนส่งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จากผลสรุปการคัดเลือกแนวเส้นทางที่ดีที่สุด และพื้นที่อ่อนไหวจะกระทบประชาชน ที่ให้เกิดน้อยที่สุด เป็นแนวเส้นทางที่พัฒนาไปยังพื้นที่ใหม่ เป็นการกระจายความเจริญ 

กรอ.ระนองหนุนจัดที่ 415 ไร่ ตั้งเขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมงรับ SEC 

กรอ.ระนองหนุนจัดที่ 415 ไร่ ตั้งเขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมงรับ SEC 

ซึ่งจากการรับฟังความเห็นประชาชนและหน่วยงานเกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นชอบแนวเส้นทางโครงการและรายละเอียดการออกแบบเบื้องต้น มีจุดเริ่มต้นโครงการที่บริเวณแหลมริ่ว ต.บางนํ้าจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร จุดสิ้นสุดโครงการบริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง ระยะทาง 91 กิโลเมตร  
    

สำหรับโครงข่ายเชื่อมโยงทางถนนเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและท่าเรือฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย การเชื่อมโยงถนนทางหลวงสู่ท่าเรือแหลมริ่ว จ. ชุมพร การเชื่อมโยงเส้นทาง MR 8 สู่ท่าเรือแหลมริ่ว จ.ชุมพร และการเชื่อมโยงเส้นทาง MR8 เข้าสู่ท่าเรืออ่าวอ่าง จ.ระนอง ประกอบด้วย สะพานยกระดับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองขนาด 6 ช่องจราจร (รวม 2 ทิศ ทาง) ขนานกับสะพานยกระดับทางรถไฟ สายใหม่จำนวน 3 ราง และ Siding Track 1 ราง มีถนนบริการขนาด 2 ช่องจราจรต่อทิศทาง เพื่อรองรับปริมาณรถทั้งจากทางหลวงสายหลัก และถนนชนบทที่จะเข้าสู่ท่าเรืออ่าวอ่าง

กรอ.ระนองหนุนจัดที่ 415 ไร่ ตั้งเขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมงรับ SEC 

กรอ.ระนองหนุนจัดที่ 415 ไร่ ตั้งเขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมงรับ SEC 

ส่วนการขุดลอกร่องน้ำ ท่าเรือระนอง ได้ของบประมาณ ปี 2566 จำนวน 400 กว่าล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ รวมทั้งการขนส่งทางน้ำตามกรอบพัฒนา SEC เพื่อขุดลอกร่องน้ำซึ่งมีความลึก 12 ม. ห่างจากปากร่องน้ำ 10 กม. ยาว 28 กม. กว้าง 120 ม. เพื่อรองรับการขยายท่าเรือระนอง และรองรับแผนแม่บทท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ ระยะ ที่ 1 และ 2 

 

ในส่วนโครงการศึกษาความเหมาะสม การจัดตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมงจังหวัดระนอง เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เสนอการจัดตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมงจังหวัด เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ โดยใช้พื้นที่บ้านสามแหลม ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง จำนวน 415 ไร่ ซึ่งเป็นป่าชายเลน 31 ไร่และป่าไม้ 384 ไร่ งบประมาณ 1,142 ล้านบาท