ป่วน “สารไกลโฟเซต” ขาดตลาด กมธ.เกษตรฯ รับปากแก้ปัญหา

19 มิ.ย. 2565 | 13:00 น.
อัปเดตล่าสุด :19 มิ.ย. 2565 | 20:01 น.

เกษตรกร เฮลั่น “อัญชุลี” แจ้งข่าว กมธ.เกษตรฯ รับปากแก้ปัญหา สารไกลโฟเซต” ขาดตลาด ทำอาชีพเกษตรกรรมลำบาก เดือดร้อน

สืบเนื่องจากประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้รับหนังสือจากประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง เรื่อง ขอร้องเรียนความเดือดร้อนของเกษตรกร กรณีขาดแคลนสารไกลโฟเซตใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการปัจจัยการผลิต ในคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา เป็นผู้พิจารณาศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว เพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ล่าสุดมีความคืบหน้า ตามลำดับ

 

นางสาวอัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร

 

นางสาวอัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ตอนนี้ได้หนังสือจาก พล.อ.ดนัย มีชูเวท รองประธาน กมธ.การเกษตรและสหกรณ์ ปฎิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ใน เรื่องการดำเนินในประเด็นเรื่อง ร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกรณีขาดแคลนสารไกโฟเชตใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

 

ทั้งนี้ทางคณะอนุกรรมาธิการปัจจัยการผลิต ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริง ได้พิจารณาศึกษาปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกรณีขาดแคลนสารไกลโฟเขตใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีประเด็นการพิจารณาใน 2 ประเด็น

 

1. กรณีขาดแคลนสารไกลโฟเซต เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและผลกระทบจากมาตรการในการจำกัดสารไกลโฟเซต

 

2. กรณีให้ยุติการรับสมัครและการทดสอบการฝึกอบรมโครงการอบรมเกษตรกรผู้ปลูกพืชที่ต้องใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ สารพาราควอต สารไกลโฟเซต และสารคลอร์ไพริฟอส

 

นางสาวอัญชุลี  กล่าวว่าทางคณะอนุกรรมาธิการปัจจัยการผลิต ในคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภาได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้

 

พลเอกดนัย มีชูเวท

 

1) สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและผู้ร้องเรียน มาให้ข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวกับ (๑) กรณีขาดแคลนสารไกลโฟเซต เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและผลกระทบจากมาตรการในการจำกัดสารไกลโฟเซต และ (๒) กรณีให้ยุติการรับสมัครเข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรมเกษตรกรผู้ปลูกพืชที่ต้องใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ สารพาราควอตสารไกลโฟเซต และสารคลอร์ไพริฟอส

 

ผู้ประกอบการนำเข้าและจำหน่ายวัตถุอันตรายเพื่อกำจัดศัตรูพืช (ไกลโฟเซต)ประกอบด้วย สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และผู้แทนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืช 5 ชนิดและไม้ผล มาให้ข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวกับกรณีขาดแคลนสารไกลโฟเซต และเหตุผลการใช้สารดังกล่าว เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและผลกระทบจากมาตรการในการจำกัดการใช้สารไกลโฟเชต

 

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้ประชุมพิจารณาจากข้อมูลข้อเท็จจริงตามข้อ 2 ทั้งหมดแล้วเห็นสมควรดำเนินการ ดังนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรดำเนินการ ดังนี้

 

1. ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงให้หน่วยงานราชการ (เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การรถไฟแห่งประเทศไทย) ภาคเอกชน และเกษตรกรที่มีความต้องการใช้สารไกสโฟเซตในการกำจัดวัชพืช ให้ทราบถึงหลักปฏิบัติในการจำกัดการใช้สารไกลโฟเซตในการกำจัดวัชพืช ซึ่งมาตรการจำกัดการใช้สารไกลโฟเชต ผู้ที่ประสงค์จะใช้สารไกลโฟเชตต้องผ่านการทดสอบความรู้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด และจะอนุญาตให้ใช้สำหรับพืชไร่ 5 ชนิด

 

 

(อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังปาล์มน้ำมัน ยางพารา) และไม้ผลเท่านั้น (ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจำกัดการใช้การกำหนดฉลากและภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่เกี่ยวกับไกลโฟเซตที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบพ.ศ. 2562 และเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิต การนำเข้า การส่งออก การมีไว้ในครอบครอง และกำหนดให้มีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบในการควบคุมการขายซึ่งวัตถุอันตรายที่เกี่ยวกับไกลโฟเซต คลอร์ไพริฟอส และพาราควอต ที่กรมวิชาการรับผิดชอบ พ.ศ. 2562)

 

2. ประชาสัมพันธ์แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อเปิดเผยข้อมูลรายปีเกี่ยวกับจำนวนพื้นที่ปลูกพืชไร่ 5 ชนิดและไม้ผลทั่วประเทศ และพื้นที่ที่อนุญาตให้ใช้สารไกลโฟเชตรวมถึงจำนวนผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ ปริมาณที่ผู้ประกอบการขออนุญาตนำเข้าสารไกลโฟเซต ปริมาณที่อนุญาตให้นำเข้าสารไกลโฟเซตและปริมาณที่นำเข้าสารไกลโฟซตจริง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในระบบการนำเข้าและการใช้สารไกลโฟเซตและนวัตกรรมการเกษตรอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรและผ้ประกอบการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามประกาศและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

 

 

3. กำกับดูแลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง การจำกัดการใช้ การกำหนดฉลากและภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่เกี่ยวกับไกลโฟเซต ที่กรมวิซาการเกษตรรับผิดชอบ พ.ศ. 2562 และเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิต การนำเข้าการส่งออก การมีไว้ในครอบครอง และกำหนดให้มีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบในการควบคุมการขายซึ่งวัตถุอันตรายที่เกี่ยวกับไกลโฟเซต คลอร์ไพริฟอส และพาราควอต ที่กรมวิชาการรับผิดชอบ พ.ศ. 2562อย่างเคร่งครัด

 

ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรที่ลงทะเบียนเกษตรกรและผ่านการทดสอบความรู้สามารถหาซื้อสารไกลโฟเซตมาใช้ประกอบอาชีพกษตรกรรมได้ ตลอดจนผู้ประกอบการนำเข้าสามารถขออนุญาตนำเข้าสารไกลโฟเชตได้ตามปริมาณที่สอดคล้องกับพื้นที่และจำนวนเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดและทันห้วงเวลาเพาะปลูกพืชไร่ 5 ชนิดและไม้ผลของเกษตรกร

 

นอกจากนี้สมควรจัดระบบการพิจารณาอนุมัติของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่นการนำเข้าสารไกลโฟเซต การออกบอนุญาตต่าง ๆ จะต้องดำเนินการโดยต่อเนื่อง หากผู้รับผิดชอบในการพิจารณาอนุมัติมีเหตุจำเป็นใด ๆ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จะต้องมีผู้ทำหน้าที่แทนได้ตลอดเวลา

 

4.ผลักดันและสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาโครงสร้างของต้นทุนการผลิตภาคเกษตรในการใช้ปัจจัยการผลิตและแรงงานในกระบวนการผลิตของภาคการเกษตรในอนาคตหากต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรสูงจะส่งผลให้ไม่สามารถเกิดความมั่นคงในภาคการเกษตรและไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ รวมทั้งให้มีการค้นคว้า วิจัย ทดลอง พัฒนาและทดสอบให้ได้วิธีการหรือแนวทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการกำจัดวัชพืช เพื่อเป็นทางเลือกหรือทดแทนการใช้สารเคมีโดยมีความเหมาะสมกับพืช สภาพแปลงและพื้นที่ที่จะนำไปใช้

 

5.จัดให้มีแปลงสาธิตการใช้วิธีการหรือแนวทางอื่น ๆ ตามคำแนะนำในการกำจัดวัชพืชเพื่อเป็นทางเลือกในการลดการใช้สารเคมีหรือไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดวัชพืชที่ประสบผลสำเร็จทั้งด้านการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าเป็นที่ประจักษ์ให้เกษตรกรได้เห็นเป็นตัวอย่าง

 

6.จัดให้มีการอบรมการใช้สารไกลโฟเซตและการทดสอบความรู้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดแก่เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ 5 ชนิดและไม้ผล โดยต่อเนื่องและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับทราบทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรเข้ารับการอบรมและเข้ารับการสอบ เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบและใช้อย่างถูวิธี ลดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนป้องกันมิให้มีการใช้สารผิดประเภทที่ไม่ถูกต้อง

 

ป่วน “สารไกลโฟเซต” ขาดตลาด กมธ.เกษตรฯ รับปากแก้ปัญหา

 

ส่วนเกษตรกรต้องดำเนินการตามมาตรการจำกัดการใช้สารไกลโฟเซตตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยต้องผ่านการทดสอบเพื่อแสดงเจตนาในการใช้สารไกลโฟเซต

 

สำหรับ ร้านค้าหรือผู้จำหน่ายสารไกลโฟเซต ร้านค้าหรือผู้จำหน่ายสารไกลโฟเซต ควรมีการตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่าน Appication ของกรมวิชาการเกษตรซึ่งมีการเชื่อมโยงข้อมูลเกษตรกรผู้ผ่านการทดสอบกับข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ก่อนที่จะทำการจำหน่ายให้กับเกษตรกรโดยต้องไม่จำหน่ายให้กับผู้ที่ไม่มีสิทธิรวมทั้งหน่วยงานราชการทุกหน่วยที่ไม่มีสิทธิในการใช้สารไกลโฟเซต

 

ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะแนะเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร กรณีขาดแคลนสารไกลโฟเซตใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา จะทำหนังสือไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องและมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนเพื่อทราบต่อไป