5ปัจจัยด้านลบกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

13 มิ.ย. 2565 | 15:38 น.
อัปเดตล่าสุด :13 มิ.ย. 2565 | 22:48 น.
968

5ปัจจัยด้านลบกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งราคาน้ำมัน ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยร่วม

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 40.2 เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9  เดือนนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ มีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น  

5ปัจจัยด้านลบกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ทั้งนี้ 5ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทยประกอบด้วย

1.สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจส่งผลให้ราคา น้ ามันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า

5ปัจจัยด้านลบกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

2.ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

3. ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 4.20 บาทต่อลิตร และราคาน้ ามันดีเซลขายปลีกในประเทศปรับตัว เพิ่มขึ้นประมาณ 3.00 บาทต่อลิตร เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

5ปัจจัยด้านลบกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

4. SET Index เดือน พ.ค. 65 ปรับตัวลดลง 4.03 จุด จาก 1,667.44 ณ สิ้นเดือน เม.ย. 65 เป็น 1,663.41 ณ สิ้นเดือน พ.ค. 65

5. ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 33.821บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้น เดือน เม.ย. 65 เป็น 34.416 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือน พ.ค. 65

 

5ปัจจัยด้านลบกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

สำหรับปัจจัยด้านบวกที่ช่วยให้ความเชื่อมั่นไม่ลดต่ำลงไปเช่น

1.ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการในการเดินทางเข้าประเทศไทย โดย ยกเลิกการกักตัวทุกรูปแบบ สำหรับคนไทยไม่ต้องลงทะเบียนผ่าน ระบบ Thailand Pass และไม่ต้องตรวจหาเชื้อ โควิดก่อนเข้า ประเทศ ส่วนชาวต่างชาติยังต้องลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass

2. ผ่อนคลายให้เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มี ลักษณะคล้ายกัน สามารถกลับมาเปิดบริการได้ในพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า)

 3. การส่งออกของไทยเดือน เม.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 9.90 มูลค่าอยู่ที่ 23,521.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการน าเข้าขยายตัวร้อยละ 21.5 มีมูลค่าอยู่ที่ 25,429.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1,908.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

5ปัจจัยด้านลบกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

4. ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวใน ระดับที่ดีโดยเฉพาะข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสปำะหลัง และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

อย่างไรก็ตามประชาชนเองอยากเห็นแนวการการแก้ไขของภาครัฐ โดยเฉพาะการดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ภาครัฐควรเข้ามามีส่วนช่วยประคับประคองราคาสินค้าและบริการที่จำเป็น รวมถึงลดภาระค่าครอง ชีพของประชาชนให้ต่ำลง

5ปัจจัยด้านลบกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

นอกจากนี้แนวทางในการจัดการระบบต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศให้มีความกระชับ และ ทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจง่ายรวมถึงมี ไม่ให้มีมากจนส่งผลกระทบถึงประชาชนส่วนรวม   และการผ่อนคลายการดำเนินธุรกิจรวมถึงกระตุ้นประชาชนในการให้ทยอยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้มากขึ้น เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสได้ มากขึ้น