มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

12 มิ.ย. 2565 | 15:37 น.
อัปเดตล่าสุด :12 มิ.ย. 2565 | 22:52 น.
5.9 k

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่สูงต่อเนื่อง   ค่าโดยสาธารณะ ซื้อรถยนต์ ค่าน้ำมัน และค่าโทรศัพท์ นำโด่ง

พักหลังๆจะเริ่มเห็นคนพูดถึงเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น ซึ่งคิดต้องทำความเข้าใจว่าเงินเฟ้อ คือค่าดัชนีชี้วัด ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตาม อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อ สูงก็แสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก   หมายความว่า รายได้อีกฝากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไปหรือต่ำไปจนเป็นเงินฝืด คือ ค่าเงินเฟ้อติดลบเกิน 6 เดือนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น 

 

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) ในเดือนพ.ค 2565 เพิ่มขึ้น 7.10% เป็นการเพิ่มขึ้นสูงกว่าตัวเลขเดือนเม.ย.2565 และสูงกว่าเดือนก.พ. และมี.ค. ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี ทำให้เดือนพ.ค.เงินเฟ้อยังถือว่าสูงสุดในรอบ 13 ปี ส่วนเงินเฟ้อรวม 5 เดือนปี 2565 (ม.ค.-พ.ค.) เพิ่มขึ้น 5.19% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนีอยู่ที่ 102.74 เพิ่มขึ้น 0.17% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2565 และเพิ่มขึ้น 2.28% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2564 และเฉลี่ย 5 เดือนเพิ่มขึ้น 1.72%

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้ากลุ่มพลังงาน เพิ่ม 37.24% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นถึง 35.89% ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก ก๊าซหุงต้ม เพิ่ม 8% จากการยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ทำให้ราคาทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได และค่ากระแสไฟฟ้า เพิ่ม 45.43% จากการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) รอบเดือนพ.ค.-ส.ค.2565
 

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ส่วนกลุ่มอาหารเพิ่ม 6.18% เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการเลี้ยง ผักสด ราคาเปลี่ยนแปลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด เครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาปรับขึ้นตามต้นทุน และสินค้าอื่น ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (แชมพู ยาสีฟัน สบู่ถูตัว) ราคาปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากสิ้นสุดโปรโมชัน ขณะที่สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยารีดผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (บุหรี่ เบียร์ สุรา) ราคาทยอยปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค.2565 มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น 298 รายการ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร กับข้าวสำเร็จรูป อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) ไข่ไก่ อาหารเช้า ค่าน้ำประปา ไก่สด เป็นต้น สินค้าไม่เปลี่ยนแปลง 54 รายการ เช่น ค่าโดยสารรถไฟลอยฟ้า ค่าใบอนุญาตขับขี่ ค่าภาษีรถยนต์ประจำปี และราคาลดลง 78 รายการ เช่น ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า ขิง กล้วยหอม ต้นหอม มะเขือเทศ ค่าเช่าบ้าน ผักกาดขาว และถั่วฝักยาว เป็นต้น

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน
  กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนพฤษภาคม65  ไว้ว่า มีรายจ่ายรายเดือนที่ 17,927บาท  แบ่งเป็น 

  • ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัทย์มือถือ 4,370 บาท
  • ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 3,950 บาท
  • เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,719 บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,577บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,211บาท
  • ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล  967 บาท
  • ผักและผลไม้  920 บาท
  • ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 752 บาท
  • ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง  651 บาท
  • เครื่องปรุงอาหาร 433 บาท
  •  เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 385 บาท
  •  ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า  375บาท
  • ไข่และผลิตภัณฑ์นม 377บาท
  • ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 239 บาท

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ59.42%  โดย ค่าโดยสารรถสาธารณธ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 24.38% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ22.03%   

ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ40.58%   โดย เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง9.59% รองลงมาเป็นเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮออล์ 8.80%  และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.76% เป็นต้น

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทย ปี 2565 จะเคลื่อนไหวในกรอบ 4.0-5.0% ค่ากลางอยู่ที่ 4.5% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ และไทยจะไม่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำ ซึ่งจากการประเมินตอนนี้ ทั้งไม่น่าจะเกิน 6-7% ภายใต้โจทย์น้ำมันสูง แต่ไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่เงินเฟ้อต่ำ อาจจะไม่ต่ำที่สุด แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ก็จะมีการทบทวนเป้าหมายเงินเฟ้ออีกครั้ง