สผ. ชี้ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกพีคสุดปี ค.ศ.2025

08 มิ.ย. 2565 | 17:22 น.
อัปเดตล่าสุด :09 มิ.ย. 2565 | 00:59 น.

สผ.ย้ำชัดภาคพลังงานยังเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการเข้าสู่Carbon Neutral ค.ศ. 2050 พร้อม แนะเอกชนอัพเดท NDC 30% + 10% มั่นใจไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกพีคสุดปี 2025ก่อนปรับลดลงต่อเนื่องหลังปี ค.ศ.2030 จนแตะระดับกว่าปี ค.ศ.2019

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยในงานสัมมนา TEA FORUN 2022 MISSION POSSIBLE ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคตว่า เรื่องของการปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ถ้าไม่มีแรงกดดันจะไม่มีแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าเร็วอย่างที่คิด

 

ความเสี่ยงเรื่อง climate change ใน world economic forum 2-3 ปีที่ผ่านมาชี้ชัดเจนว่าความเสี่ยงในเรื่องของความล้มเหลวในการที่จะวางมาตรการการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความเสี่ยงสูงสุดของโลก ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาได้จะมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะภัยพิบัติจากธรรมชาติ

 

ทั้งนี้ใต้กรอบกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 197 ภาคีสมาชิกทั่วโลกตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนถึงปีคศ. 2020 ในการคุมอุณหภูมิของโลกให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งปัจุบันเพิ่มขึ้นไปแล้ว 1  องศาเซลเซียส นั่นหมายความว่ายังอีกห่างไกลที่จะไปถึงจุดนั้นได้

 

เพราะตั้งแต่ปีคศ.1850 ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันเราปล่อยCarbon Budget  ไปแล้วประมาณ 2,500 กิ๊กกะตันถ้าจะคุมอุณหภูมิ จาก 1 องศาเซลเซียส  ไป 1.5 องศาเซลเซียส  ให้ได้เราเหลือ Carbon Budgetอยู่แค่ 500 กิกกะตันที่จะต้องปล่อยภายในปี คศ.2050 ถ้าปล่อยมากกว่านั้นเท่ากับล้มเหลวและไม่สามารถคุมอุณหภูมิได้

 

“อีกสิ่งหนึ่งที่ยืนยันว่าสิ่งที่ทั่วโลกกำลังพูดถึงนี้เป็นเรื่องจริงคือองค์กรของอเมริกาได้รายงาน co2 ล่าสุด ถึง 420 ppm สูงที่สุดก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 50% นี่เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าแรงกดดันในเรื่องนี้ของกระแสโลกจะไม่มีวันย้อนกลับนั่นหมายความว่าทุกประเทศทั่วโลกจะต้องเดินหน้าอย่างเดียว”

 

และเมื่อมีแรงกดดันกลายเป็นวิกฤตขณะเดียวกันก็ต้องเป็นโอกาส แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ใครจับเรื่องของวิกฤตและโอกาสภายใต้เวลาที่มีมูลค่าในช่วงทรานซิชั่นได้เร็วที่สุดคนนั้นคือผู้ชนะ”

 

ประเทศไทยได้ตัดสินใจเข้าสู่ความเป็นกลางคาร์บอนในปี 2050 และNet Zero  GHG ในปีคศ. 2065 และปีคศ. 2030 ประเทศไทยจะยกระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 40% ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องเตรียมพร้อมรับมือในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาภาคธุรกิจเองเริ่มมีการปรับแผนธุรกิจเพื่อสอดรับกับเป้าหมายคศ. 2050 และคศ. 2065 ไปบ้างแล้วแต่ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องอัพเดทNDC 30% + 10% คือทำเองในประเทศ30% จากเดิม 20%และ 10% ขอรับการสนับสนุนจากต่างประเทศภายใต้อนุสัญญา 

 

ใน 30% มาตรการที่สำคัญๆคือ 1 พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน แต่เมื่อถึงวันนั้นจะเห็นสัดส่วนพลังงานทดแทนรวมถึงการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากลาวต้องอย่างน้อย 50% ของ energy share ทั้งหมด 2ต้องเปลี่ยนเรื่องของการขนส่งไปเป็นเรื่องของ “อิเล็กทรอนิกส์ ทรานซิชั่น” ต้องพัฒนาในเรื่องของ charging station พัฒนาเรื่องของแบตเตอรี่ และนอกจากอุตสาหกรรมเกษตรยังต้องมีการผลักดันและขับเคลื่อนการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตข้าวที่ปล่อยมีเทนสูงเป็น “ข้าวลดโลกร้อน” ปล่อยมีเทนต่ำ  ลดการใช้น้ำ 50% เพิ่มเข้ามา

 

“นอกจากนี้เราก็ยังมีการนำแผนคศ. 2050 และคศ. 2065 เข้าไปอยู่ในแผนNDCเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเรื่องนี้จะถูกดันเข้าไปอยู่ในแผนNDCฉบับที่ 2 ปีคศ.2025  ฉบับที่ 3 ปีคศ.2030 และฉบับที่ 4 ในปีคศ. 2035 ที่ประเทศไทยจะต้องส่งอนุสัญญาด้วย นั่นหมายความว่าในปีคศ. 2025 เราจะต้องส่งเป้าหมายประเทศซึ่งจะเป็นเป้าหมายปี คศ.2035ตัวเลขมันจะสูงขึ้นไปอีก ตัวนี้จะบ่งชี้ว่าประเทศไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปีคศ. 2025 จากนั้นจะลดลงมาในปีคศ. 2030 เล็กน้อยและหลังจากปีคศ. 2030 จะลดลงมาเรื่อยๆเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานี้ 

 

หลังจากคศ. 2030 ประเทศไทยจะไม่มีการพูดถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบกับการคาดการณ์การปล่อยอีกต่อไปเพราะเส้นที่ถูกกดลงมาจากการปล่อยนั้นต่ำกว่าการปล่อยจริงที่เกิดขึ้นในปี 2019 เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนจะต้องจับตามอง เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเส้นที่เราปล่อยนั่นหมายความว่าเราเทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้ว นั่นคือความหมายนั่นคือจุดสำคัญ”

 

และถ้าเราจะเข้าสู่ Carbon Neutral  2050 ภาคพลังงานยังเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญที่สุดเพราะพลังงานถูกนำมาใช้ในทุกภาคส่วน ภาคพลังงานจะต้องมี RE ในระบบ 70 - 80% และจะมีการลดภาคเกษตรภาคอุตสาหกรรมที่เป็นปูนซีเมนต์ปล่อยโดยตรงเข้ามาช่วยทั้ง 2 ส่วนไม่ว่าจะเป็นเป้าหมาย 2050หรือเป้าหมาย 2065 ตัวเลข RE ใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่จะเพิ่มขึ้นมาคือในช่วง ปีคศ.2530 ปีคศ.2540และปีคศ.2550จะมีช่วงที่Natural Gas Emission จะต้องปล่อยน้อยลงจนถึงจุดหนึ่ง ซึ่งต้องนำเอาคาร์Carbon capture storage Technology เข้ามา ทำให้economic Standpoint ดีขึ้นอีก

 

“สุดท้ายแล้วการจะเข้าสู่คาร์บอนเป็นศูนย์จะต้องบาล๊านซ์กับสิ่งที่เราดูดกลับได้ก็คือช่วงของป่าไม้ ซึ่งตอนนี้เราประเมินเสถียรภาพอยู่ประมาณ 120 ล้านตันไม่ว่าจะเป็นป่าอนุรักษ์ ป่าธรรมชาติหรือแม้กระทั่งเอกชนไปปลูกป่าเศรษฐกิจต่างๆภายใต้พรบ.ป่าไม้ แต่ในเมื่อเราดูดกลับได้แค่ 120 ล้านตันเราจึงปล่อยคาร์บอนภาพรวมทั้งหมดได้แค่ 120 ล้านตันเช่นเดียวกันนี่คือข้อจำกัด”