www.sso.go.th ประกันสังคม เช็คเงื่อนไขคเงินชราภาพมาตรา 33 และ มาตรา 39 ดูเลย

12 พ.ค. 2565 | 16:43 น.
อัปเดตล่าสุด :12 พ.ค. 2565 | 23:56 น.
33.3 k

www.sso.go.th ประกันสังคม เช็คหลักเกณฑ์เงื่อนไขเงินชราภาพมาตรา 33 และ มาตรา 39 หลัง ครม.อนุมัติร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ.. ดูครบที่นี่

www.sso.go.th  ประกันสังคม หลังจาก กระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้สัมภาษณ์ว่า  คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของผู้ประกันตนนั้น กระทรวงแรงงานจึงเสนอกฎหมายดังกล่าว เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันทางสังคมและได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบประกันสังคมที่มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิกรณีชราภาพ
 

กรณีเงินบำนาญชราภาพ

1. ต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

2. ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเอง)

3. ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

 

กรณีบำเหน็จชราภาพ

1. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

2. ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเอง)

3. จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

 

 

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ

  • กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง
  • กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

  ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ

  • กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

 

  • กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

 

www.sso.go.th ประกันสังคม
 

ขั้นตอนและเอกสารที่ต้องใช้ในการขอรับสิทธิ หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน           
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
2. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีใช้ได้ 10 ธนาคาร โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ยกเว้น บำนาญชราภาพ  คือ

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)  KTB                              
  •  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY                             
  •  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)   BBL                         
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  SCB                              
  •  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK                             
  •  ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB                              
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK                        
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB                      
  • ธนาคารออมสิน              
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)                        
  • PromptPay (พร้อมเพย์) 

 
ระยะเวลาและสถานที่ในการยื่นเรื่อง  

  •  สำหรับผู้ประกันตนที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีที่มีสิทธิรับกรณีชราภาพตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมาให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี  นับแต่วันที่มีสิทธิรับกรณีชราภาพ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
  • หากเกินระยะเวลากำหนดกฎหมายอนุโลมให้ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิ สามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ พร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่สามารถยื่นเรื่องภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้.

 

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม