ขอกู้ยืมเงินชราภาพประกันสังคม ก่อนอายุ 55 ปี มีเงื่อนไขยังไง เช็คเลย

11 พ.ค. 2565 | 15:24 น.
อัปเดตล่าสุด :11 พ.ค. 2565 | 22:31 น.
112.8 k

เช็คการขอกู้ยืมเงินชราภาพประกันสังคม ก่อนอายุ 55 ปี เอาออกมาใช้บางส่วนได้ ตามพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ ที่ผ่านการเห็นชอบจากครม. มีเงื่อนไขยังไง ต้องจ่ายสมทบกี่เดือนถึงจะมีสิทธิ กู้ได้สูงสุดเท่าไหร่

เงินชราภาพประกันสังคม ได้รับการปลดล็อกครั้งใหญ่ หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมีติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ หนึ่งในนั้นโดยเป็นการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ ให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพกู้ยืมเงินบางส่วนออกมาใช้ได้ 

 

ตามแผนการดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้การปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน (ขอเลือก ขอคืนและขอกู้) ดังนี้ 

  • กรณีให้ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกรับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ (ขอเลือก) 
  • กรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (ขอคืน) 
  • กรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ (ขอกู้) 

สำหรับเงื่อนไขสำคัญของการดำเนินการดังกล่าว มีดังนี้

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน 

 

ทั้งนี้กรณีชราภาพถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน หรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพ ถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ 

 

โดยให้หักเงินชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระอันเกิดจากการดำเนินการที่นำเงินชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินไว้เพื่อส่งใช้กองทุนก่อนในกรณีมีเงินชราภาพ เหลืออยู่ เมื่อหักเงินดังกล่าวแล้วเหลือเท่าไรให้ทายาทของผู้นั้นซึ่งมีชีวิตอยู่ในวันที่ผู้ประกันตน หรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 

 

โดยต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตรา และการหักส่วนลดเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพที่จะได้รับตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการประทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในการดึงเงินชราภาพมาใช้ก่อนถึงอายุ 55 ปี ถือเป็นหนึ่งในแนวคิดที่จะช่วยผู้ประกันตน โดยเฉพาะลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงานที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถนำเงินที่สะสมมาใช้ก่อนได้บางส่วน โดยอาจนำมาใช้ได้ 20-30% ตามความเหมาะสม หรือใช้ในช่วงเวลาเกิดวิกฤต เหมือนตอนนี้ที่มีการระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้น

 

สำหรับขั้นตอนต่อไปหลังจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ผ่านการเห้นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว จะส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบรายละเอียด จากนั้นจึงเสนอครม.รับทราบเป็นมติอีกครั้ง ก่อนจะส่งไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป