รถ-เรือโดยสาร-ประมง"ตราด" บริหารต้นทุนสุดขีด สู้"ดีเซล"แพง

10 พ.ค. 2565 | 11:09 น.
อัปเดตล่าสุด :10 พ.ค. 2565 | 18:26 น.

ผู้ประกอบการรถ-เรือโดยสาร ท่าเรือประมง จังหวัดตราดโอด ดีเซลขาขึ้นดันต้นทุนพุ่ง ดิ้นหนีตายลดความถี่รถโดยสาร ลดชั่วโมงทำงาน จ่อลดพนักงานต่อแผนกประคองธุรกิจ เรือเกาะกูดวิ่งรับส่งคนไปกลับที่มีผู้โดยสารเพิ่มเป็นหลัก ด้านเรือประมงจอดคาท่าออกหาปลาไม่ไหว

หลังปล่อยราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นเกิน 30 บาท/ลิตร ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2565  และรัฐบาลมีนโยบายที่จะปล่อยขึ้นเสรีนั้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการรถยนต์และเรือโดยสารจังหวัดตราด ได้รับผลกระทบมาก นางสาวรินทร์ลภัส ศักดิ์สมบูรณ์  ผู้บริหารบริษัท เกาะช้างกรุงเทพเดินรถ จำกัด เปิดเผยว่า ต้นทุนเพิ่มขึ้น 2 บาท/ลิตร ซึ่งแต่ละวันต้องใช้น้ำมันวันละ 2,000 ลิตร ซึ่งทำให้ต้นทุนขึ้นมา 4,000 บาท/วัน โดยค่าโดยสารยังเท่าเดิม คือ 270 บาท (ตราด-กรุงเทพ) ซึ่งต้องยอมรับว่า ไม่รู้จะดำเนินการอย่างไรในระยะสั้น โดยเฉพาะการขึ้นราคาก็ยังต้องรอกรมการขนส่งทางบกอนุมัติก่อน 

 

ทำให้ในขณะนี้จำเป็นต้องลดเที่ยววิ่งลงก่อน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จากวิ่ง 1 ชม./เที่ยว เป็น 2 ชม./เที่ยว แต่ในระยะยาวอาจจะต้องขึ้นราคา และการปรับลดพนักงาน หรือการลดเวลาการทำงานลงก่อน เช่น แผนกงานที่มี 2-3 คนก็อาจจะลดลงเหลือ 1 คน เพื่อลดต้นทุนลดลงให้อยู่รอดทางธุรกิจก่อน 

รถ-เรือโดยสาร-ประมง\"ตราด\" บริหารต้นทุนสุดขีด สู้\"ดีเซล\"แพง

รถ-เรือโดยสาร-ประมง\"ตราด\" บริหารต้นทุนสุดขีด สู้\"ดีเซล\"แพง

“เราเตรียมไว้ในหลายระดับ ระยะเเรกก็คือ ลดจำนวนเที่ยววิ่งลงไปเพื่อประหยัดน้ำมัน การลดเวลาการทำงานของพนักงานทุกคน แต่ไม่ปลดออก หรือการลดพนักงานลง 1 ใน 3 หากราคาน้ำมันขึ้นมาในระดับ 35-37 บาท/ลิตร เพราะราคาค่าโดยสารยังไม่สามารถปรับขึ้นได้ในระยะนี้ เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกจะเป็นผู้อนุมัติ ผู้ประกอบการไม่สามารถกำหนดเองได้" 

 

ที่ผ่านมาธุรกิจรถโดยสารได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มา 2-3 ปี ซึ่งผู้ประกอบการแทบจะเอาตัวรอดไม่ได้ รัฐบาลที่เคยประกาศว่าจะช่วยเหลือทั้งในเรื่องทุนทดแทน แต่สุดท้ายก็ไม่เข้าเกณฑ์ โดยเฉพาะธนาคารเอสเอ็มอีตราด ที่มีดอกเบี้ยต่ำ แต่เมื่อเข้าไปก็ถูกปฏิเสธเพราะคุณสมบัติไม่ผ่าน จะไปที่ออมสินก็ให้กู้แต่รายย่อยอีก ผู้ประกอบการไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร

รถ-เรือโดยสาร-ประมง\"ตราด\" บริหารต้นทุนสุดขีด สู้\"ดีเซล\"แพง

รถ-เรือโดยสาร-ประมง\"ตราด\" บริหารต้นทุนสุดขีด สู้\"ดีเซล\"แพง

นางสาวรินทร์ลภัส กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่าเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน 26 บาท/ลิตร ค่าโดยสารราคา 270 บาท แต่วันนี้ราคาน้ำมัน 32 บาท ราคาค่าโดยสารก็ยัง 270 บาท ซึ่งไม่เป็นธรรม แม้จะขอขึ้นราคาไปแล้วแต่ก็ยังไม่ได้รับอนุมัติ สุดท้ายเมื่อถึงเวลาไปไม่ไหวก็คงต้องหยุดวิ่ง 

 

อย่างไรก็ตาม วันนี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ลดลงนักท่องเที่ยวเริ่มมากขึ้น การเดินทางเริ่มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดี ทำให้ชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปและต้นทุนที่สูงขึ้นในระยะนี้ได้ อย่างไรก็ตาม หากราคาค่าโดยสารสูงขึ้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถผ่อนคลายทางธุรกิจได้ หลังจากได้รับผลกระทบมานานถึง 2-3 ปี   

รถ-เรือโดยสาร-ประมง\"ตราด\" บริหารต้นทุนสุดขีด สู้\"ดีเซล\"แพง

ขณะที่นายทศพล ปิยะพิทักษ์วงศ์ เจ้าของบริษัท บุญศิริ จำกัด ผู้ประกอบการเรือโดยสารนำเที่ยวรายใหญ่ไปอำเภอเกาะกูด กล่าวว่า ต้นทุนของบริษัทเฉพาะค่าเชื้อเพลิงสูงขึ้นมากว่า 30% ซึ่งในช่วง 2-3 ปีราคาน้ำมัน 25 บาท/ลิตร แต่วันนี้สูงถึง 31 บาท/ลิตร ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ไม่สามารถชดเชยจากการเดินทางได้ ทำให้แต่ละเดือนต้องขาดทุนเดือนละ 2 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย แต่ก็ยังต้องเดินเรือโดยสารต่อไป 

 

"ในช่วงโควิด-19 ที่เกิดขึ้นมา 2-3 ปี นักท่องเที่ยวลด แต่ราคาน้ำมันไม่สูง ก็ยังทำธุรกิจต่อไปได้ แต่วันนี้ ราคาน้ำมันสูงขึ้น และอาจจะสูงขึ้นอีกไม่หยุด จะได้รับผลกระทบตามมาแน่นอน จึงมองการแก้ปัญหาไว้แล้ว โดยจะลดบริการรับส่งนักท่องเที่ยวบนเกาะ และหันมาเก็บค่าโดยสารแทนไปกลับเกาะที่คิด 500 บาท/เที่ยว/คน (รวมค่าโดยสารทั้งขาไปขากลับ)"  

 

วันนี้นักท่องเที่ยวกลับมาเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2565 ทำให้เราสามารถชดเชยรายได้หรือต้นทุนที่สูงขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่นับจากนี้หากราคาน้ำมันยังขึ้นไม่หยุด ในอีก 6 เดือนข้างหน้า อาจจะต้องขอขึ้นราคาค่าโดยสาร แต่ยังโชคดีที่ตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวเดินทางไปอำเภอเกาะกูดเพิ่มขึ้นมาก และเต็มทุกเที่ยวเรือ จึงยังไม่ขึ้นราคา แต่ในอนาคตถ้าราคาน้ำมันเพิ่มไม่หยุด ก็ต้องปรับตัวแน่นอน นายทศพลกล่าว 

รถ-เรือโดยสาร-ประมง\"ตราด\" บริหารต้นทุนสุดขีด สู้\"ดีเซล\"แพง

เช่นกันนายเจริญ ชลาลัย เจ้าของท่าเรือชลาลัย อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ให้ความเห็นกรณีรัฐบาลปล่อยราคาน้ำมันดีเซลลอยตัวนั้น ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นราคาอีกอย่างน้อย 2 บาท/ลิตร ยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจประมงอย่างหนัก เพราะทุกวันนี้หาปลาทะเลยากขึ้น ราคาน้ำมันที่ต้องใช้ในแต่ละครั้งมากและมีราคาสูง อีกทั้งราคาปลาทะเลก็ไม่แน่นอน ยังต้องพบกับแรงงานประมงทะเลที่ไม่ค่อยจะอีก 

 

ยอมรับว่าที่ท่าเรือชลาลัยเรือส่วนใหญ่ไม่ออกไปทำประมงเหมือนก่อน เพราะแบกรับพาระไม่ไหว วันนี้มีเพียง 4-50 ลำที่ยังออกทำประมงกันอยู่ ซึ่งก็ลำบาก อีกทั้งจะหนีไปเติมน้ำมันกลางทะเลที่มีราคา 25 บาท/ลิตร ก็ต้องชั่งใจกัน แม้เรือประมงสาวนใหญ่จะหันไปใช้กันก็ตาม

 

นายเจริญกล่าวอีกว่า หากรัฐบาลปล่อยให้เป็นปัญหาแบบนี้ จะเกิดผลกระทบตามมามากมาย โดยเฉพาะผู้บริโภคที่จะต้องกินปลาราคาแพงขึ้น และร้านอาหารที่ใช้ปลาทะเลก็ต้องขึ้นราคาเพื่อเอาตัวรอด หรือให้ผู้บริโภคต้องไปรับภาระแทน

รถ-เรือโดยสาร-ประมง\"ตราด\" บริหารต้นทุนสุดขีด สู้\"ดีเซล\"แพง

ด้านนายณรงค์ ไชยศิริ นายกสมาคมการประมง จ.ตราด กล่าวว่า สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลต่อธุรกิจประมงมาก และเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยครั้งนี้จะหนักสุดเพราะมาขึ้นราคาน้ำมันอีก ซึ่งเรือประมงของตนเอง 30 ลำวันนี้ปล่อยออกหาปลาเหลือเพียง 3 ลำที่เหลือจอดอยู่ในท่าเรือหมด 

 

หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นอาจจะต้องรอการเปลี่ยนอาชีพอย่างเดียว ซึ่งเรือประมงของจ.ตราดขณะนี้เหลือทำประมงไม่มากนัก ที่ทำอยู่ก็มีบางส่วนที่สมาคมการประมงจ.ตราดได้ทำสัญญาซื้อน้ำมันหน้าโรงกลั่น ทำให้ราคายังถูกอยู่

 

แต่หลังจากนี้อีกสัปดาห์เดียวน้ำมันหมดสต๊อก ก็จะกลับมาได้รับผลกระทบอีก ไม่ต้องอะไรมาก ครั้งแรกเรือประมงนำเเรงงานประมงจากกัมพูชาเข้ามา ยังไม่เท่าไรก็ต้องสั่งให้กลับบ้าน เพราะราคาน้ำมันขึ้นมา ทำให้ต้นทุนสูงจนไม่สามารถแบบภาระได้ ขณะที่เรือประมงพื้นบ้านยังพอที่จะออกไปได้บ้าง