ขวางAOTไม่เลิก เอกชนอุดรธานีให้ราชภัฎฯศึกษาแนวทางบริหารสนามบิน

02 พ.ค. 2565 | 15:32 น.
อัปเดตล่าสุด :02 พ.ค. 2565 | 22:44 น.

เอกชนอุดรฯเดินหน้าขวางโอนภารกิจสนามบินอุดรฯให้ AOT บริหาร ล่าสุดมอบมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ศึกษาเปรียบเทียบ รูปแบบบริหารสนามบินทั้งในไทยและทั่วโลก เพื่อเป็นข้อมูลบูรณาการทุกฝ่าย ในการเข้ามาบริหารภารกิจสนามบินอุดรฯ  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2565   ที่ห้องประชุม EOC/ ASC ท่าอากาศยานอุดรธานี พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ  ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี นำคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด ชมรมธนาคารจังหวัด ตลอดจนสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัด เข้าดูงานการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยานจังหวัดอุดรธานี

 

กิจกรรมนี้มีนายกำแหง สายวิภู  ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอุดรธานี ให้การต้อนรับ บรรยายสรุปความเป็นมาของท่าอากาศยานอุดรธานี  พร้อมนำคณะฯ ดูการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ประจำท่าอากาศยานอุดรธานี ในส่วนของการรักษาความความปลอดภัยท่าอากาศยานอุดรธานี และตัวผู้โดยสารที่มาใช้บริการ

ขวางAOTไม่เลิก เอกชนอุดรธานีให้ราชภัฎฯศึกษาแนวทางบริหารสนามบิน

นายกำแหง สายวิภู  ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอุดรธานี ผอ.ท่าอากาศยานอุดรธานี บรรยายสรุปว่า สนามบินอุดรธานี สังกัดกรมการท่าอากาศยาน(ทย.) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2466  ได้รับการประกาศให้เป็นสนามบินนานาชาติ  หรือสนามบินศุลกากร เป็นสนามบินในภูมิภาคแห่งแรก เมื่อ พ.ศ. 2479 

 

ในปี พ.ศ. 2500 โดยความร่วมมือของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทำการก่อสร้างขยายรันเวย์ (ทางวิ่ง) ให้มีความกว้าง 45 ม.ยาว 3,048 เมตร สามารถรองรับการขึ้นลงของเครื่องบินทุกขนาด ทั้วลำตัวกว้า  ลำตัวแคบ 

พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ  ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี

ขวางAOTไม่เลิก เอกชนอุดรธานีให้ราชภัฎฯศึกษาแนวทางบริหารสนามบิน

ต่อมาเริ่มมีการโอนสนามบิน ในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ไปให้ บริษัท การท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) บริหาร ครั้งแรกประกอบด้วย สนามบินหาดใหญ่ เชียงใหม่ และภูเก็ต  ซึ่งเป็นสนามบินศูนย์หรือ ฮับการบินของภูมิภาค เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารภารกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2531                  

 

สำหรับท่าอากาศยานอุดรธานี เป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในภาคีสาน  เป็นสนามบินที่มีผลประกอบการเป็นอันดับ 2 รองจากสนามบินกระบี่ สามารถรองรับผู้โดยสารได้จำนวน 3.4 ล้านคนต่อปี  มีสถิติผู้โดยสารสูง ในปี พ.ศ. 2561-2562 จำนวน 2.6 ล้านคนเศษ

ขวางAOTไม่เลิก เอกชนอุดรธานีให้ราชภัฎฯศึกษาแนวทางบริหารสนามบิน

แต่เมื่อเกิดวิกฤติแพร่ระบาดของโควิค-19 ส่งผลกระทบต่อการประกอบการเกือบ 100 %  ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มต่อยกระเตื้องขึ้น  เป็นสนามบินที่มีเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในภาคอีสาน  มีสายการบินเปิดให้การบริการ 5 สายการบิน

 

เดิม ทย.มีการออกแบบแผนขยายอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 ในปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 7.2 ล้านคนต่อปี  แต่พอเกิดโควิค-19 ทำให้ต้องชะลอโครงการ โดยจะกลับมาเริ่มต้นโครงการใหม่ พ.ศ. 2567 และเสร็จในปี พ.ศ. 2571 มีพื้นที่ลานจอดเครื่องบินลำตัวแคบได้ 11 หลุมจอด  และในอาคารที่พักผู้โดยสาร A  มีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับให้การบริการสายการบินระหว่างประเทศ เนื่องด้วยสนามบินอุดรธานีเป็นสนามบินนานาชาติ 

ขวางAOTไม่เลิก เอกชนอุดรธานีให้ราชภัฎฯศึกษาแนวทางบริหารสนามบิน

ด้านการพัฒนาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนั้น ปีพ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานอุดรธานี ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจค้นหาอาวุธและวัตถุระเบิด(EDS) พร้อมสายพานลำเลียงสัมภาระ ห้องควบคุมอุปกรณ์ จำนวน 2 ชุด  สำหรับตรวจสัมมภาระลงทะเบียน หรือสัมภาระสำหรับโหลดใต้ท้องเครื่องบิน ที่มีความสามารถในการตรวจคัดแยกสัมภาระที่บรรจุสิ่งแปลกปลอม หรือวัตถุต้องห้ามต่าง ๆ   เป็นอุปกรณ์ที่มีความทันสมัย   

 

ล่าสุด ติดตั้งเครื่องตรวจอาวุธและวัตถระเบิด สำหรับตรวจหาสิ่งแปลกปลอมในสัมภาระติดตัวผู้โดยสารขึ้นเครื่อง แบบ  LEDS   พร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ จำนวน 1 ชุด และในปีหน้าจะได้รับอีก 1 ชุด  เครื่องตรวจหาอาวุธและวัตถุระเบิด LEDS นี้ในปัจจุบันมีการติดตั้งอยู่ 3 สนาม คือ สุราษฎรธานี กระบี่ และ อุดรธานี เท่านั้น  

ขวางAOTไม่เลิก เอกชนอุดรธานีให้ราชภัฎฯศึกษาแนวทางบริหารสนามบิน

ส่วนการพัฒนาสนามบินอุดรธานี ตามแผนระยะ 10 ปี จากปี 2565 กรมท่าอากาศยานมีอีกหลายโครงการ อาทิเช่น การพัฒนาปรับปรุงเสริมรันเวย์ขึ้นอีก 10 ซ.ม ขณะนี้ได้ดำเนินการไปกว่า 80% โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าสนามบินลงใต้ดินงบประมาณ 122.44 ล้านบาท  และโครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร หลังที่ 3  งบประมาณ 2,000 ล้านบาท และปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 1-2 งบประมาณ 35.ล้านบาท ฯลฯ 

 

การพัฒนที่ผ่านมา ทำให้ท่าอากาศยานอุดรธานีมีศักยภาพความปลอดภัย มีมาตรฐานที่สูงมาก ๆ แห่งหนึ่งของประเทศ  เนื่องจากว่าสนามบินอุดรธานีเป็นสนามบินนานาชาติ จึงมีระบบตรวจเช็คสัมภาระของผู้โดยสารเดินทางไปต่างประเทศ CIQ. ที่ไม่ต้องไปรับการตรวจเช็คที่สนามบินดอนเมือง หรือสุวรรณภูมิอีกครั้ง   สามารถรับสัมภาระได้ที่ปลายทางเลย         

ขวางAOTไม่เลิก เอกชนอุดรธานีให้ราชภัฎฯศึกษาแนวทางบริหารสนามบิน

ด้านพ.ท.วรายุส์ฯ เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน(กกร.)อุดรธานี  ได้ประสานงานขออนุญาตเดินทางเข้าดูงาน การบริหารท่าอากาศยานอุดรธานีครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากข่าวการขอโอนภารกิจ ของท่าอากาศยานอุดรธานีนั้น มีมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ก็ไม่เห็นมีความชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ ว่าจะให้กรมท่าอากาศยาน หรือบมจ. ท่าอากาศยานไทย ( AOT)  เข้ามาทำการบริหาร ทำให้จังหวัดอุดรธานีเสียโอกาสในการพัฒนา  

 

ในครั้งนี้เป็นการขอดูงานการบริหารท่าอากาศยานอุดรธานี ที่ยังอยู่ในสังกัดกรมท่าอากายาน  และมีแนวความคิดคิดว่า ในโอกาสข้างหน้า จะขอประสานงาน เพื่อขอเข้าดูงานการบริหารสนามบินที่ AOT ทำการบริหารงานบ้าง เพื่อดูข้อมูลข้อดี ข้อเสีย นำมาศึกษาในการรองรับความเจริญเติบโตของเมืองอุดรธานี และท่าอากาศยานอุดรธานี  ซึ่งท่าอากาศยานอุดรธานี เป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่ของภาคอีสาน มีผู้ใช้บริการมากอยู่ในดันดับต้น ๆ

ขวางAOTไม่เลิก เอกชนอุดรธานีให้ราชภัฎฯศึกษาแนวทางบริหารสนามบิน

ทั้งนี้ ภาคเอกชนอุดรธานี ที่ได้มีความเห็นชอบร่วมกัน ในการทำโครงการร่วมกับทาง มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี  ไปศึกษารูปแบบการบริหารท่าอากาศยาน ทั้งในและต่างประเทศ ว่า การบริหารท่าอากาศยานมีกี่รูปแบบ รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ในการพัฒนาสนามบินอุดรธานี ให้มีความเจริญเติบโตเป็นสนามบินนานาชาติ หรือสนมบินศุลกากร  เพื่อรองรับตอบโจทย์กับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ได้อย่างไร 

 

ซึ่งทางภาคเอกชนจังหวัดอุดรธานีพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร โดยเน้นย้ำว่าจะสามารถทำได้อย่างไร  ซึ่งการบูรณาการนั้นจะต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หลาย ๆ ฝ่าย ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใด หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง เท่านั้น คนอุดรธานีเองคือส่วนที่มีความสำคัญ และจำเป็นที่ต้องแสดงบทบาทที่ถูกต้อง

 

“จากการที่ได้ร่วมดูงานและปรึกษาหารือกันในครั้งนี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) อุดรธานี ได้รับทราบข้อมูลความเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ เป็นเบื้องต้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับการพูดคุยกันในวงเล็กมาก่อนนี้บ้างแล้ว ต่อไป กกร.จะมีการนำข้อมูลต่าง ๆ ไปพูดคุยกันในที่ประชุมภาคเอกชนทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดผลนำไปสู่การดำเนินการที่เกิดผลประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่จังหวัดอุดรธานีต่อไป” พ.ท.วรายุส์กล่าว