ประกันสังคมติดโควิด ทุกมาตรา ม.33, 39, 40 เบิกได้เท่าไหร่เช็คเลย

02 พ.ค. 2565 | 00:05 น.
อัปเดตล่าสุด :02 พ.ค. 2565 | 04:23 น.
25.6 k

ประกันสังคมติดโควิด ทุกมาตรา ม.33, 39, 40 สามารถเบิกได้เท่าไหร่ ต้องส่งเงินสมทบเท่าไหร่ ตรวจสอบรายละเอียดได้เลย

ประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 หากติดเชื้อโควิด สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคมได้ 

หลายคนยังสงสัยว่าเเล้วประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 ยื่นขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคมได้ เบิกค่าชดเชยได้เท่าไหร่ เเละต้องทำอย่างไร 

เบิกประกันสังคมโควิด ม.40 

  • ต้องส่งสมทบมาอย่างน้อย 3 เดือนในระยะเวลา 4 เดือนจนเกิดสิทธิ์ก่อน จึงจะเบิกเงินชดเชยรายได้กับประกันสังคมได้
  • เงินทดแทนวันละ 300 บาท กรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป แต่ไม่ถึง 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)
  • เงินทดแทนวันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้รักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)
  • เงินทดแทนวันละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)

 

เบิกประกันสังคมโควิด ม.39 

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วันปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน
  • ต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการบริการทางการแพทย์

 

เบิกประกันสังคมโควิด ม.33 

  • ลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  • ต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน เบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย
  • รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน

 

ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39

  • ได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน 
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา)
  • ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ
  • ค่ายาที่ใช้รักษา
  • ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล
  • ค่าบริการ X-ray
  • ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์