ผลไม้เริ่มทะลัก "เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดปลุกตลาดทั่วประเทศรับมือ

30 เม.ย. 2565 | 13:13 น.
อัปเดตล่าสุด :30 เม.ย. 2565 | 20:13 น.

“เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดเร่งปลุกตลาดผลไม้ทั่วประเทศ “อลงกรณ์” ผนึก “อตก.” เปิดจุดขายขยายตลาดออนไลน์ออฟไลน์เพิ่มการบริโภคในประเทศ 40%

ผลไม้เริ่มทะลัก \"เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดปลุกตลาดทั่วประเทศรับมือ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (30 เม.ย.) ภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และการบริหารจัดการตลาดสดของ อ.ต.ก. พร้อมทั้งมอบนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อผลักดันการบริโภคผลไม้และผลผลิตทางการเกษตรของไทย

 

 โดยมีนายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการ อ.ต.ก. พร้อมด้วยผู้บริหาร อ.ต.ก. ให้การต้อนรับว่า ได้มอบหมายให้ อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานกลางผู้ประสานงานระหว่างตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมดทั่วประเทศเพื่อส่งเสริม ผลักดันการบริโภคผลไม้ไทย พร้อมทั้งนำผลไม้ไทยบุกตลาดออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในส่วนของการทำการตลาดออฟไลน์ให้ดำเนินการเชิงบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐเช่น องค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย หอการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

ผลไม้เริ่มทะลัก \"เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดปลุกตลาดทั่วประเทศรับมือ

 

สมาพันธ์เอสเอ็มอี. โมเดิร์นเทรด ตลาดกลางสินค้าเกษตรทั่วประเทศ โปรโมทขายผลไม้ นอกจากนี้ขอให้ อ.ต.ก. พัฒนาและปั้น Brand Ortorkor ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและระดับสากลเพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและเป็นแบรนด์การันตีคุณภาพสินค้าเกษตรของไทย รวมทั้งเพิ่มจุดจำหน่ายและกระจายสินค้าเกษตรเพื่อเป็นช่องทางกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนและสนับสนุนตลาดเกษตรกร (Farmer Market) ในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมากที่สุดอีกด้วย 

นอกจากนี้นายอลงกรณ์และคณะได้ลงพื้นที่ตลาด อ.ต.ก. พบปะพูดคุยกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการผู้ค้าทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย ชมพู่ มะม่วง มะพร้าว แตงโม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนบริโภคผลไม้ไทยเพิ่มขึ้นเพื่ออุดหนุนและสนับสนุนเกษตรกรไทยในช่วงฤดูกาลผลไม้ปีนี้

                       

                                                       

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ในช่วงนี้เป็นฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออกจะมีผลผลิตออกมาประมาณ 1.1 ล้านตัน เป็นทุเรียน 7 แสนตัน เงาะ 2.1 แสนตัน และมังคุด 2.1 แสนตัน และลองกอง 1.8 หมื่นตัน โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ คือ จันทบุรี ระยอง และตราด ซึ่งถือเป็นฤดูกาลใหญ่ฤดูกาลแรกของปี จากนั้นจะเป็นลำไยภาคเหนือ และลงไปที่ผลไม้ภาคใต้จึงต้องทำงานเชิงรุกร่วมมือกับทุกภาคส่วนตามนโยบายและข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board)

 

ผลไม้เริ่มทะลัก \"เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดปลุกตลาดทั่วประเทศรับมือ

 

ในการเพิ่มการบริโภคผลไม้ในประเทศจาก 30% เป็น 40% เพื่อลดความเสี่ยงกรณีจีนซึ่งเป็นตลาดผลไม้ใหญ่ที่สุดของไทยเกิดการแพร่ระบาดของโควิด19ระลอกใหม่ ทำให้เข้มงวดมาตรการซีโร่โควิดมากขึ้น กระทบต่อระบบการขนส่งและการค้าผลไม้ทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ

        

 “ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด) ที่มี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้มีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือและความเข้าใจกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน( GACC) กรณีการปิด-เปิดด่าน, มาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ, การเร่งเปิดบริการการขนส่งผ่านเส้นทางรถไฟลาว-จีน,

 

ผลไม้เริ่มทะลัก \"เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดปลุกตลาดทั่วประเทศรับมือ

 

การขยายตลาดทุเรียนไปยังตลาดรองอื่นๆ, การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การจัดเก็บผลไม้ระบบสต๊อก และมีแผนพัฒนาห้องเย็นด้วยไนโตรเจนเหลวด้วยอุณหภูมิลบ 180-196 องศาเซลเซียสามารถเก็บได้นานกว่า 1 ปีและคงสภาพเดิมกว่า 90% เมื่อคืนรูป เป็นต้นรวมทั้งกำหนดเป้าหมายให้เพิ่มการขนส่งทางเรือเป็น 55% (ปี 2564 ขนส่งทางเรือ 51%) ทางบก 40% (เดิม 48%) ทางราง (รถไฟลาว-จีน) และทางอากาศรวมกัน 5% (เดิมทางอากาศ 0.54%) และเพิ่มการบริโภคภายในจาก 30% เป็น 40% ส่งออก 60%”.

          ผลไม้เริ่มทะลัก \"เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดปลุกตลาดทั่วประเทศรับมือ

นายอลงกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ราคาทุเรียนขณะนี้ว่า นายภาณุศักดิ์ สายพานิช นายกสมาคมทุเรียนไทย ให้สัมภาษณ์ยืนยันล่าสุดว่า ช่วงนี้ราคาทุเรียนที่สวนที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยที่ 110-115 บาทต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเป็นเบอร์ A B ได้ 120-125 บาท ถ้าไปขายที่ล้งอาจได้ 130-135 บาท ขึ้นกับเกรดและคุณภาพ ถือว่าราคาดีกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว.