“ธุรกิจภัตตาคาร-ร้านอาหาร” ฟื้นตัวต่อเนื่อง อานิสงค์ เปิดประเทศ

28 เม.ย. 2565 | 16:05 น.
อัปเดตล่าสุด :28 เม.ย. 2565 | 23:10 น.

“ธุรกิจภัตตาคาร-ร้านอาหาร” ฟื้นตัวต่อเนื่อง อานิสงค์ ท่องเที่ยวฟื้น-เปิดประเทศ ส่งผลมให้มีบริษัทจตัดตั้งใหม่มี.ค.65 มี 7,164 ราย  ส่วนยอดเลิก 926 ราย เพิ่ม 17% ประเมินตั้งใหม่ครึ่งปี 65 มีจำนวน 4-4.2 หมื่นราย ทั้งปี 7-7.5 หมื่นราย ชี้สงคราม เงินเฟ้อ โควิด-19 ปัจจัยเสี่ยง

นายจิตรกร ว่องเขตกร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงการจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนมี.ค.2565 ผ่านเฟซบุ๊ซ ไลฟ์ DBD Pubilc Relations ว่า มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 7,164 ราย เทียบกับก.พ.2565 ลดลง 1% และเทียบกับมี.ค.2564 ลดลง 19% เนื่องจากเดือนมี.ค.2564 เป็นเดือนที่มีจำนวนการจัดตั้งสูงที่สุดในรอบ 7 ปี จึงทำให้ฐานเดิมสูง

แต่ก็ถือว่าการตั้งบริษัทใหม่ยังอยู่ในช่วงการฟื้นตัว โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 25,939.56 ล้านบาท และประเภทธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ที่กลับมาติดอันดับ 3 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการเปิดประเทศ

 

 

ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 926 ราย เมื่อเทียบกับก.พ.2565 เพิ่มขึ้น 38% เทียบกับมี.ค.2564 เพิ่มขึ้น 17% มีมูลค่าทุนจดทะเบียนเลิกจำนวน 12,380.99 ล้านบาท โดยประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร

ทั้งนี้ ยอดรวมการจดทะเบียนตั้งใหม่ในช่วง 3 เดือนของปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 22,347 ราย ลดลง 4% ทุนจดทะเบียน 74,397.53 ล้านบาท และยอดเลิกกิจการ มีจำนวน 2,594 ราย เพิ่มขึ้น 5% ทุนจดทะเบียน 40,472.15 ล้านบาท

สำหรับปัจจัยที่ทำให้การจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.2% การคงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ และเริ่มมีการลงทุนในธุรกิจ เพื่อรองรับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว

ส่วนแนวโน้มการจดทะเบียนตั้งใหม่ในระยะต่อไป คาดว่า สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน จะมีผลส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการและราคาสินค้าสูงขึ้น ประกอบกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อาจลดลงตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่สิ้นสุด จึงอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ได้

อย่างไรก็ตาม กรมฯ ยังคาดการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 อยู่ประมาณที่ 40,000–42,000 ราย และตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 70,000–75,000 รายปัจจุบันมีธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 มี.ค.2565) จำนวน 828,706 ราย มูลค่าทุน 19.73 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 200,733 ราย คิดเป็น 24.22% บริษัทจำกัด จำนวน 626,635 ราย คิดเป็น 75.62% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,338 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ