วิธีร้องเรียน ร้องทุกข์ สคบ. หากผู้บริโภคถูกหลอก ถูกโกง ถูกเอาเปรียบ ทำยังไง

14 เม.ย. 2565 | 06:31 น.
อัปเดตล่าสุด :15 เม.ย. 2565 | 03:52 น.
38.9 k

วิธีร้องเรียน ร้องทุกข์ สคบ. กรณีผู้บริโภคถูกหลอก ถูกโกง ถูกเอาเปรียบ ทำยังไง โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ 2565 หรือเทศกาลต่าง ๆ ติดต่อสายด่วนหมายเลขใดได้บ้าง หรือหากต้องการร้องเรียนออนไลน์ ต้องเริ่มต้นยังไง เช็คได้เลยที่นี่

ปัญหาการถูกหลอกลวง เอาเปรียบเป็นปัญหามายาวนานทุกยุคทุกสมัย ยิ่งในปัจจุบันนี้โลกทั้งโลกกำลังเข้าไปสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น ภัยต่าง ๆ มากมายสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย และรวดเร็ว ผู้บริโภคอย่างเรา ควรต้องหาทางป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี แต่หากใครพลาดถูกโกง สามารถร้องเรียน หรือร้องทุกข์ง่าย ๆ ที่ สคบ. โดยเรามีวิธีการร้องเรียนมาฝากดังนี้

 

ปัจจุบันช่องทางการแจ้งเรื่องราวร้องทุก และร้องเรียนกับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีด้วยกันหลายช่องทาง ประกอบด้วย

 

หน้าเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

สำหรับการร้องเรียนผ่านช่องทางออนไลน์ มีวิธีดังนี้

  • เข้าไปที่แอปฯ OCPB Connect หรือ เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  • เข้าระบบร้องทุกข์ เมนู ร้องทุกข์และตรวจสอบสถานะ
  • ลงทะเบียน ด้วยชื่อ-นามสกุล และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน
  • กำหนดรหัสใช้งาน
  • เข้าใช้งานด้วยเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน และรหัสผ่านที่กำหนด
  • กรอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้ร้องทุกข์ 
  • กรอกชื่อผู้ประกอบการที่ถูกร้องทุกข์ 
  • แจ้งรายละเอียดเรื่องร้องทุกข์
  • แนบไฟล์เอกสารหลักฐานประกอบ
  • ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมด 
  • กดส่งเรื่องร้องทุกข์
  • ผู้ร้องจะได้รับเลขร้องทุกข์สำหรับติดตามการดำเนินการ

 

การร้องเรียน ร้องทุกข์ กับ สคบ.

ยื่นร้องทุกข์กับสคบ. ควรมีเอกสารต่าง ๆ ดังนี้

  • หมายเลขประจำตัวประชาชนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตน
  • สำเนาหลักฐานการชำระเงิน
  • สำเนาหนังสือสัญญา/คำสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ/ใบแจ้งซ่อมสินค้า
  • สำเนาหลักฐานหรือเอกสารการติดต่อกับผู้ประกอบการ
  • สำเนาเอกสารการโฆษณา (ถ้ามี) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

สำหรับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีอำนาจในการรับเรื่องร้องเรียน มีดังนี้

  • สินค้าและบริการทั่วไป
  • โฆษณาเกินจริง
  • สัญญาไม่เป็นสัญญา
  • ไม่ติดฉลากสินค้า
  • ซื้อสินค้าออนไลน์แต่ไม่ได้รับสินค้า
  • ซื้อบ้านไม่ได้บ้าน
  • กรณีที่ปัญหามีการถูกละเมิดสิทธิที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายอื่น 

 

ระบบบริการผู้บริโภค OCPB Connect

 

สำหรับเรื่องที่สคบ.ไม่รับร้องเรียน มีด้วยกันดังนี้

  • เรื่องที่ผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาลด้วยตัวเอง
  • เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีที่อยู่ในการพิจารณาของศาล
  • เรื่องที่ผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาลด้วยตัวเอง แต่สคบ.บังคับคดีตามคำพิพากษา
  • เรื่องที่อยู่ในกระบวนการล้มละลาย
  • เรื่องที่อายุความสิ้นสุดลงแล้ว
  • เรื่องที่ผู้บริโภคยื่นไว้แต่ไม่มีความชัดเจน เช่น หลักฐาน เนื้อหาสาระที่ร้องทุกข์ หรือเอกสารไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
  • เรื่องที่ สคบ. ได้มีหนังสือให้ผู้ร้องทุกข์มาชี้แจงเพิ่มเติม แต่ไม่มีผู้มาพบ หรือไม่ส่งเอกสารแต่อย่างใด

 

ขณะเดียวกัน สคบ. ยังแจ้งเตือนผู้บริโภคด้วยว่า ปัจจุบันกระแสซื้อสินค้าออนไลน์ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม และมีเรื่องร้องเรียนเกิขึ้นจำนวนมาก จึงขอให้ผู้บริโภคตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อสินค้าและบริการ

 

เช่นเดียวกับในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 หากได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเอาเปรียบ หลอกลวง หรือแจ้งเบาะแส สามารถแจ้งมายังสคบ.ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ตามข้อมูลที่ระบุไว้ข้างต้น

 

chatbot สคบ. เพื่อเป็นผู้ช่วยให้คำปรึกษาผู้บริโภค