ลพบุรีมีความหวังแก้"ท่วม-แล้ง"ซ้ำซาก"เฉลิมชัย"ตรวจคลองชัยนาท-ป่าสัก

10 เม.ย. 2565 | 20:00 น.
อัปเดตล่าสุด :11 เม.ย. 2565 | 03:07 น.

ชาวลพบุรีมีความหวังแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำซาก แถมขัดแย้งเกษตรกร-โรงงานอุตสาหกรรม-ชุมชนเมือง "เฉลิมชัย"ลงตรวจการจัดการน้ำที่ลุ่มต่ำฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก จัดรอบปลูกข้าวสัมพันธ์น้ำหลากเข้าแก้มลิง และแผนจัดจราจรน้ำ กักเก็บไว้ใช้หน้าแล้ง 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้   นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พนำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตาม การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งซ้าย คลองชัยนาท-ป่าสัก ที่อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี  

 

โดยมีนายกกชัย ฉายรัศมีกุล รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี  นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ร่วมต้อนรับ และรายงานสถานการณ์น้ำ และผลการเพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดลพบุรี รวมถึงพื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก 

 ลพบุรีมีความหวังแก้\"ท่วม-แล้ง\"ซ้ำซาก\"เฉลิมชัย\"ตรวจคลองชัยนาท-ป่าสัก

 ลพบุรีมีความหวังแก้\"ท่วม-แล้ง\"ซ้ำซาก\"เฉลิมชัย\"ตรวจคลองชัยนาท-ป่าสัก

ซึ่งพื้นที่ลุ่มต่ำดังกล่าวจะมีความลาดเทเข้าหาตัวคลองชัยนาท-ป่าสัก ดังนั้น ในช่วงฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำป่าจากพื้นที่ตอนบน ได้แก่ พื้นที่ อ.โคกเจริญ อ.สระโบสถ์ หนองม่วง และ โคกสำโรง ไหลลงมาปะทะกับแนวคันคลองชัยนาท-ป่าสัก

 

ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร ในเขตอำเภอบ้านหมี่ ซ้ำซากเป็นประจำทุกปี และเนื่องจากพื้นที่เป็นที่ลุ่มต่ำหว่าบริเวณอื่น และไม่สามารถระบายน้ำท่วมขังลงคลองชัยนาท-ป่าสักได้

 ลพบุรีมีความหวังแก้\"ท่วม-แล้ง\"ซ้ำซาก\"เฉลิมชัย\"ตรวจคลองชัยนาท-ป่าสัก

กรมชลประทาน  ได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำริมคลองฝั่งซ้ายของคลองชัยนาท-ป่าสัก เพื่อสูบระบายน้ำท่วมขังลงสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก พร้อมปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวนาปี ของพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งฝั่งซ้ายของคลองชัยนาท-ป่าสัก เพื่อส่งน้ำให้เกษตรกรทำนาปี และทันเก็บเกี่ยวต้นเดือนกันยายนของทุกปี

 

จากนั้นจะใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นทุ่งรับน้ำหลาก ที่ไหลลงมาจากพื้นที่ตอนบนในลักษณะแก้มลิงธรรมชาติ พื้นที่ประมาณ 72,680 ไร่ สามารถตัดยอดน้ำหลากได้ 116 ล้าน ลบ.ม. 

 

นอกจากนี้ จะเป็นการจัดจราจรน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก ให้สอดคล้องกับช่วงระยะเวลาที่น้ำป่าไหลหลากลงมา และเร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ตอนบน เพื่อตัดยอดน้ำหลากของพื้นที่ตอนบน ที่จะไหลหลากลงมา และเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งด้วย

 

จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะลงพื้นที่แปลงนา เพื่อร่วมกันเกี่ยวข้าวในพื้นที่แปลงนาของ นายพัลลภ โพธิ์อยู่ รวมพื้นที่ 25 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 โดยเริ่มปลูกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 และเก็บเกี่ยวในวันที่ 7 เมษายน 2565 ใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 4 เดือน

 

ก่อนเดินทางกลับได้กล่าวผ่านสื่อมวลชน เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วน “ใช้น้ำให้คุ้มค่า”  รวมถึงการดำเนินการตามข้อสั่งการด้วยความห่วงใย ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดูแลช่วยเหลือผู้ใช้น้ำทั้งภาคครัวเรือน และภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด.