"ค้าภายใน"ไฟเขียวขึ้น"ราคาปุ๋ย"ตามต้นทุนที่พุ่ง

29 มี.ค. 2565 | 14:22 น.
อัปเดตล่าสุด :29 มี.ค. 2565 | 21:39 น.
1.3 k

"ค้าภายใน"ไฟเขียวให้เอกชนขึ้น "ราคาปุ๋ย"ตามต้นทุนที่พุ่ง ป้องกันปุ๋ยขาดตลาด แต่ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะต้องไม่กระทบต่อประชาชน-เกษตรกรไม่แบกรับภาระเกินไป

นายวัฒนศักดิ์​ เสือเอี่ยม​ อธิบดีกรมการค้าภายใน   เปิดเผยภายหลังการหารือร่วม 3 สมาคม​ผู้ผลิต​ ผู้จำหน่ายและนำเข้าปุ๋ยเคมี​  ประกอบด้วย​ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย  สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร   ว่าการประชุมวันนี้เพื่อประเมินปริมาณปุ๋ยเคมีและหาแนวทางเตรียมความพร้อมสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกเดือนพฤษภาคม​ โดยปริมาณปุ๋ยที่มีอยู่ในขณะนี้​เอกชนยืนยันว่ามีเพียงพอต่อการผลิตใน2-3  เดือนนี้เท่านั้น​

นายวัฒนศักดิ์​ เสือเอี่ยม​ อธิบดีกรมการค้าภายใน

และจะมีการสั่งนำเข้าเพิ่มเติมเป็นระยะ​ตั้งแต่ปุ๋ยสูตรหลัก​ เช่นยูเรีย​โปรแตส และฟอสเฟสเพื่อเตรียมไว้ให้เพียงพอ

 

 

 

 

\"ค้าภายใน\"ไฟเขียวขึ้น\"ราคาปุ๋ย\"ตามต้นทุนที่พุ่ง

ทั้งนี้ผู้ผลิตระบุว่าการนำเข้าปุ๋ยขณะนี้มีอุปสรรคจากสงครามยูเครนและรัสเซียทำให้ต้องหาปุ๋ยจากแหล่งใหม่ทดแทนขณะเดียวกันต้นทุนก็สูงขึ้นด้วยเพราะหลายประเทศมีการสำรองปุ๋ยไว้ในประเทศเพื่อความมั่นคงทางอาหาร​ ขณะที่ประเทศอินเดียก็เตรียมเปิดประมูลซื้อปุ๋ย​ยิ่งเป็นปัจจัยกดดันราคาปุ๋ยสูงขึ้นในตลาดโลก​

\"ค้าภายใน\"ไฟเขียวขึ้น\"ราคาปุ๋ย\"ตามต้นทุนที่พุ่ง

 ทั้งนี้กรมการค้าภายในจะพิจารณาการปรับราคาปุ๋ยเพื่อให้สะท้อนต้นทุนและป้องกันปุ๋ยขาดแคลนซึ่งเอกชนสามารถยื่นขอปรับราคาได้โดยกรมการค้าภายในจะพิจารณาจาก​ 3 ปัจจัยคือเกษตรกรไม่แบกรับภาระเกินไป/ผู้ประกอบการสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่กระทบต่อประชาชนทั้งนี้หากพบว่ามีผู้แทนจำหน่ายรายใดฉวยโอกาสปรับราคาปุ๋ยสมาคมจะตัดจากการเป็นผู้แทนจำหน่าย

\"ค้าภายใน\"ไฟเขียวขึ้น\"ราคาปุ๋ย\"ตามต้นทุนที่พุ่ง

ด้านนายเทพวิทย์​  เตียวสุรัตน์กุล​ อุปนายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ​ระบุว่าสถานการณ์ราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้นมาก​โดยราคาปุ๋ยยูเรียราคาจากตะวันออกกลาง​ราคาเอฟโอบีไม่รวมค่าเรืออยู่ที่ตันละ​960-1000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน   ปุ๋ย​18-46-0 ที่นำมาผลิตวัตถุดิบแม่ปุ๋ย​ NPK ตันละ​1100-1200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันและ​สูตร​0-0-60 โปแตส​อยู่ที่ 950-1000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน​

\"ค้าภายใน\"ไฟเขียวขึ้น\"ราคาปุ๋ย\"ตามต้นทุนที่พุ่ง

ซึ่งราคายูเรียเพิ่ม200% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   ดังนั้นการอนุญาติให้ปรับราคาตามต้นทุนทำให้เอกชนมีความมั่นใจในการนำเข้ามากขึ้นและเชื่อว่าปุ๋ยจะไม่ขาดตลาด ทั้งนี้ประเมินว่าในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก4 เดือน​พฤษภาคมถึงสิงหาคมความต้องการใช้ปุ๋ยจะอยู๋ที่​2.5 ล้านตันจากปริมาณการนำเข้าปีละ​5 ล้านตัน

\"ค้าภายใน\"ไฟเขียวขึ้น\"ราคาปุ๋ย\"ตามต้นทุนที่พุ่ง