จากแล็บสู่โรงงาน "ม.แม่โจ้"จัดงานวันลงนามใช้สิทธิงานวิจัยต่อยอดธุรกิจ

11 มี.ค. 2565 | 17:55 น.
อัปเดตล่าสุด :12 มี.ค. 2565 | 01:08 น.
511

 ม.แม่โจ้โชว์ศักยภาพงานวิจัย จัดพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิ 5 ผลงาน  ให้เอกชนต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในงาน“Maejo Licensing and Pitching Day 2021” พร้อมนำเสนอผลงานวิจัยโดดเด่นที่มีศักยภาพ การแสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากความร่วมมือที่ผ่านมา เตรียมยกระดับเป็น Innovation Day

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม  2565 อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (MAP)   มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดให้มีพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย และนำเสนองานวิจัยเด่น “MJU Licensing and Pitching Day 2021”  มี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด 

 

รศ. ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า งานนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) ระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจ โดยความรู้และงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ยั่งยืน มีการกระจายรายได้ไปสู่สังคม และมีภูมิคุ้มกันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ 

รศ. ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

จากแล็บสู่โรงงาน \"ม.แม่โจ้\"จัดงานวันลงนามใช้สิทธิงานวิจัยต่อยอดธุรกิจ

การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างและต่อยอดองค์ความรู้ ให้มีความเท่าทันต่อโลกสมัยใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ประเทศและสถาบันการศึกษาให้ความสำคัญอย่างยิ่ง  เป็นงานสำคัญงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย และตอบโจทย์การเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่ม 2 คือ พัฒนาเทคโนโลยีและการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology Development and Innovation)

 

อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนในปีหน้าจะปรับรูปแบบงานให้ใหญ่ขึ้น ในรูปแบบ Innovation Day เพื่อให้บริษัททั้งในและต่างประเทศ ได้มาเชื่อมโยงกัน โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะเป็นเจ้าภาพ  ในการประชุมนานาชาติอีกหลายเวที ซึ่งจะได้ผลักดันให้มีการลงนามให้เป็นภาพรวมของมหาวิทยาลัยต่อไป

จากแล็บสู่โรงงาน \"ม.แม่โจ้\"จัดงานวันลงนามใช้สิทธิงานวิจัยต่อยอดธุรกิจ

จากแล็บสู่โรงงาน \"ม.แม่โจ้\"จัดงานวันลงนามใช้สิทธิงานวิจัยต่อยอดธุรกิจ

ด้าน ดร.กัลย์ กัลยาณมิตร ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเกษตร และอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร เป็นหน่วยงานดำเนินการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้กับมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาดำเนินการเรื่องของการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะเรื่องสิทธิบัตร วุฒิบัตร มากกว่า 250 เรื่อง และมีงานลิขสิทธิ์มากกว่า 2,000 เรื่อง

 

หัวใจของการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา คือนำงานวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เป็นประโยชน์โดยรวมกับสังคม ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา มีการนำงานวิจัย โดยเฉพาะสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา คือ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร มาร่วมเซ็นสัญญากับภาคเอกชนแล้วทั้งหมด 34 สัญญา มากกว่า 40 เรื่อง 

จากแล็บสู่โรงงาน \"ม.แม่โจ้\"จัดงานวันลงนามใช้สิทธิงานวิจัยต่อยอดธุรกิจ

"สิ่งนี้คือการพิสูจน์ ว่างานวิจัยของมหาวิทยาลัย มีคุณค่าจริง ๆ สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยภาคเอกชนยอมรับ และท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ทั่วไป"

 

พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย และนำเสนองานวิจัยเด่น "Licensing and Pitching Day 2021 " จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในมหาวิทยาลัยแมโจ้ ภายใต้แนวคิดการนำนวัตกรรมไปใช้ในเชิงธุรกิจ โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ และภูมิปัญญาจากผลงานวิจัย ให้สามารถนำไปต่อยอด และขยายผลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยผ่านช่องทางการอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย

 

ทั้งเป็นการประกาศเกียรติคุณสำหรับนักวิจัย และผู้ประกอบการทุกท่าน ที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคธุรกิจ อย่างมีศักยภาพในวันนี้ มีบริษัท และนักวิจัย เข้าร่วมลงนามอนุญาตใช้สิทธิ์ในผลงาน จำนวน 5 ผลงานได้แก่  
   จากแล็บสู่โรงงาน \"ม.แม่โจ้\"จัดงานวันลงนามใช้สิทธิงานวิจัยต่อยอดธุรกิจ  

1.ผลงาน กระบวนการสกัดเย็นกาแฟด้วยเทคนิคอณูศิลปะวิทยาการทางอาหาร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ  สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนวนเกษตรอินทรีย์เชียงราย

 

2.ผลงาน ระบบโรงงานพืชเพื่อการปลูกสตรอว์เบอร์รี่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี  สังกัด คณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมกับ บริษัท ซีวิค มีเดีย จำกัด

 

3.ผลงาน กรรมวิธีการเตรียมน้ำตาลสกัดจากพืชกลุ่มหัวหอม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน  สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท สมาเฮลท์ตี้แคร์ จำกัด

 

4.ผลงาน กรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทพรรดิ์ นิตยพงศ์ชัย  สังกัด คณะเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนสยามล้านนาแคนนาบิส 420 และ

 

5. ผลงาน 1) กระบวนการผลิตเครื่องดื่มไมซีเลียมเห็ดหลินจือที่หมักในน้ำลำไยผสมเมล็ดลำไยคั่ว
                2) กระบวนการผลิตเครื่องดื่มไมซีเลียมถั่งเช่าสีทองที่หมักในน้ำผลไม้และธัญพืช
               3) กระบวนการผลิตเครื่องดื่มไมซีเลียมถั่งเช่าสีทองที่หมักในน้ำตาลตาลทรายและหางนมผสมน้ำผลไม้ 
    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม และคณะ  สังกัดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับบริษัท บิสท์ อินโน รีฟอร์ม จำกัด

จากแล็บสู่โรงงาน \"ม.แม่โจ้\"จัดงานวันลงนามใช้สิทธิงานวิจัยต่อยอดธุรกิจ

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่มีความโดดเด่น มีศักยภาพ และความพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การสร้างธุรกิจนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม อีกจำนวน 6 ผลงาน ได้แก่
    

1.ผลงาน การผลิตแอนติบอดีสำหรับชุดตรวจการตั้งท้องของโค  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์   สังงกัด คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี 

 

2.ผลงาน เภสัชภัณฑ์ยาสอดเต้าจากสมุนไพรฝางและว่านหางจระเข้เพื่อรักษาโรคเต้านมอักเสบในโคน, โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พชรพร ตาดี และคณะ  สังกัด คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี

 

3.ผลงาน ซุปปลาสกัดผสมสารสกัดกัญชาผลงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ และคณะ  สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 

 

4.ผลงาน ปุ๋ยชีวภาพและกรรมวิธีการผลิต (ชีวนวัตกรรมปุ๋ยจุลินทรีย์อัดแท่ง) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย   สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

 

5.ผลงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยเพื่อยับยั้งไรศัตรูผึ้งโดยใช้เทคโนโลยีพลาสมาระดับความดันบรรยากาศ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์ ไชยมณี  สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ 

 

6.ผลงาน กระบวนการผลิตสิ่งทอต้านเชื้อแบคทีเรียและแมลงด้วยไมโครแคปซูล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด   สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ 

จากแล็บสู่โรงงาน \"ม.แม่โจ้\"จัดงานวันลงนามใช้สิทธิงานวิจัยต่อยอดธุรกิจ

ภายในงานยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากบริษัทและนักวิจัยที่นำมาร่วมงาน แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือในการผลักดันเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย ที่ร่วมลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิ  และผลงานวิจัยเด่นอีกหลายผลงาน  ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงาน ผู้ประกอบการ เป็นอย่างยิ่ง