ลดเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ผู้ประกันตนที่จ่ายเต็มไปแล้ว เช็กที่นี่

11 มี.ค. 2565 | 03:30 น.
6.5 k

ลดเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ก.พ.-ก.ค.65 ผู้ประกันตนที่จ่ายเต็มไปแล้ว ขอเงินคืนได้ เช็กวิธีที่นี่

เกาะติดข่าว"ประกันสังคม" จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.เมื่อวันที่ 1 ก.พ.65 เห็นชอบลดเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40  เหลือ 60% ต่ออีก 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค.65) 

 

กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่จ่ายเต็มไปแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ สามารถขอเงินคืนได้
 

ลดเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ผู้ประกันตนที่จ่ายเต็มไปแล้ว เช็กที่นี่

 

น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า การลดเงินสมทบมาตรา 40  ทางสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการตามกฏหมายเรียบร้อยแล้ว 

 

กฏหมายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนกรกฎาคม 2565 ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไปแล้วเต็มจำนวนในเดือนกุมภาพันธ์ สามารถขอเงินคืนได้ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th กรอกเอกสารแล้ว ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียนส่งไปที่สำนักงานประกันสังคม โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานฯเอง

อย่าลืมแนบสำเนาบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์

 

ลดเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ผู้ประกันตนที่จ่ายเต็มไปแล้ว เช็กที่นี่

 

รับชม ติ๊กต๊อกสำนักงานประกันสังคม @sso news1506  แจ้งข่าว การลดเงินสมทบมาตรา 40 (คลิกที่นี่)

 

ลดเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ผู้ประกันตนที่จ่ายเต็มไปแล้ว เช็กที่นี่

 

ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก ดังนี้

 

  • ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน

 

  • ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน

 

  • ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากจากเดิมจ่าย ในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน

 

ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับทั้ง 3 เลือก ยังคงเดิม

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม