ปัด “ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร” ตกเป็นแพะ ทำให้หมูแพง

18 ก.พ. 2565 | 07:00 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.พ. 2565 | 07:10 น.

เปิดความจริง “ประภัตร” เปิดไทม์ไลน์ “ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร” ในสภา ยันไม่ได้ปิดบัง แต่อาการสำแดงโรคเหมือน โรคเพิร์ส หรือ โรคพีอาร์เอส อย่าผลัก ASF โรคอุบัติใหม่ เป็นแพะ ทำให้หมูแพง แฉเล่ห์พ่อค้าแสบ ตัวปั่นบิดเบือนกลไกตลาด

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 65 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาฯเพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามมาตรา 152 นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ อภิปรายว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายกฯและรมว.พาณิชย์ นายประภัตร โพธสุธน  รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกำกับกรมปศุสัตว์  กล่าวถึงประเด็นทุจริตหมูแพงทั้งแผ่นดิน นั้น

 

ประภัตร โพธสุธน

 

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้ชี้แจง ว่า ในเรื่องดังกล่าวนี้เคยชี้แจงและทำความเข้าใจไปแล้ว สรุปมี 3 เรื่องด้วยกัน  ที่อยากให้รัฐบาลได้ตอบ  ซึ่งตนได้รับมอบหมายให้ตอบเรื่องนี้ เรื่องแรก กล่าวคือ  ท่านเข้าใจว่า โรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร  หรือ โรค ASF  (​ African Swine Fever) เกิดมานานแล้ว และถูกปกปิดจนกระทั่งทำให้เกิดการขาดแคลนหมู และทำให้หมูราคาแพง 

 

“อยากจะเท้าความว่า  โรค ASF   เป็นโรคอุบัติใหม่ของประเทศไทย โรคนี้เกิดมาตั้งแต่ปี 2464 มาถึงปีนี้ ครบ 100 ปี เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเคนย่า ประเทศแอฟริกา และต่อจากนั้นโรคดังกล่าวลุกลามไปทั่วยุโรป เริ่มเข้าทวีปเอเชีย จากประเทศจีน ในปี 2561 วันที่ 3 สิงหาคม  และมาที่เวียดนาม  ลาว กัมพูชา และเมียนมา ในปี 2562 และประเทศไทยได้รับข่าวอย่างชัดเจน ในแม่น้ำสกลวก เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 5 สิงหาคม 2562”

 

นายประภัตร กล่าวอีกว่า  เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ลงพื้นที่พร้อมกรมปศุสัตว์เดินทางไปที่ท่าเรือพาณิชย์ ในวันที่ 1 กันยายน  เรียกประชุมทุกหน่วยงาน พร้อมกับผู้ว่าราชการจังหวัด สมาคมผู้เลี้ยงสุกร สัตวแพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือช่วยเหลือเป็นอย่างดี เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่หลังจากนั้นจึงออกมาตรการทันที ในวันที่ 2 กันยายน  ให้ปิดพรมแดนในการเคลื่อนย้ายหมู แล้วจึงนำหมู 12 ตัวมาเข้าห้องแล็ป ผลออกมาในวันที่ 8 ว่ามีเชื้อ AFS

อยากจะทำความเข้าใจในหลักสากลจะทำอย่างไรหยุดยั้ง โรค ASF ได้ ก็คือ “ทำลาย”  หรือ หมูที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นจึงเห็นตัวเลขในการทำลาย แม้ว่าหมูจะไม่ได้เป็นโรค แต่หลักการก็คือ ทำลาย ในรัศมี 5 กม. เราจึงหยุดยั้ง ชะลอมาได้ ไม่ใช่ว่าเราต้องการปิดบัง เพราะปิดบังไม่ได้เลย เพราะรัฐบาลโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ประกอบด้วยกระทรวงเกษตรฯ 

 

โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์  และสมาคม ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีการประชุม แก้ไข ป้องปราม และยับยั้ง ร่วมคณะกว่า 100 คน ไปดำเนินการในเขตที่มีความเสี่ยงสูง คือ จังหวะดต่างๆ ที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อเป็นดังนี้ ผมได้พูดมาครั้งหนึ่งแล้วว่าการทำลาย ก็คือ การป้องกัน

 

“โรคหมู มี 3 อย่าง  ที่เหมือนกัน ผมอยากอ่านให้ฟังนิดหนึ่ง เพื่อที่จะได้เข้าใจ ว่าโรค ASF  ,โรคเพิร์ส ว่า สุกรมีอาการอย่างไรบ้าง เริ่มต้นก็ซึม ไม่กินอาหาร  ไม่สามารถเดินได้ อ่อนแรง และมีผื่นขึ้น อาการเหมือนกันหมด และไม่มีวัคซีนรักษา  ด้งนั้นยอกว่า โรค ASF  ทางห้องแล็บ กรมปศุสัตว์ และอาจารย์ มีการประสานงานกันอยู่ตลอด ชี้แจงว่า ไม่ใช่"

 

นายประภัตร กล่าวว่า ตนเองเป็นผู้รับรายงานก็ต้องเชื่อ ว่าเป็นโรคเพิร์ส (PRRS)  เท่านั้นยังไม่พอ ทางกรมปศุสัตว์ แจ้งว่าโรคนี้ไม่แพร่ไปยังสัตว์อื่น เกิดขึ้นเฉพาะหมู และไม่ติดต่อสู่คน ผมก็บอกว่าท่านต้องรีบ ยับยั้งโรคให้ได้ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีก็ให้งบกลางมาทันที 1,100 ล้านบาท สามารถป้องกันและยับยั้งโรคระบาดนี้

 

มิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถส่งหมูเป็น และผลิตภัณฑ์หมูไปต่างประเทศไม่ได้เลย เพราะประเทศต่างๆ ก็มีการตรวจแล็ปอย่างจริงจัง ปี 2563 เราส่งหมูเป็นไปยังเพื่อนบ้าน 3 ล้านตัว ปี 2564 จำนวน 1.3 ล้านตัว  และในการเคลื่อนย้ายจะต้องมีการตรวจเลือดโดยห้องแล็บ ดังนั้นจะปิดบังไม่ได้เลยว่าเป็นโรค ASF  เพราะทุกคนเฝ้าระวัง

 

“อย่างที่เข้าใจ โรคอาการเหมือนกัน ถึง 2.7 แสนตัว ร่วม 3 แสนตัว  ผู้เสียหายก็คือพื่น้องเกษตรกร ก็ต้องขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ท่านได้อนุมัติเงินทันที วันนี้ได้จ่ายเงินหมดแล้ว เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565 เกษตรกรได้รับเงินที่ช่วยกันเฝ้าระวังและหมูถูกทำลายไป ปริมาณแม่หมู ที่ใช้ผลิตลูกหมู  มีจำนวน 1.1 แสนตัว ในการขยายพันธุ์ 1 ตัว คือ จำนวน 20 ตัว"

 

ดังนั้น หมูปี 2564 มีทั้งหมด 19 ล้านตัว พี่น้องคนไทยบริโภค วันละ 5 หมื่นกิโลกรัม ดังนั้นเรารับประทานหมูไป 18 ล้านตัว อีก 3 ล้านตัว ส่งออก ตัวเลขไม่ได้หายไปไหน พอเรื่องถึงท่านนายกรัฐมนตรี ท่านร้อนใจ  ราคาหน้าฟาร์ม ที่ 82 บาท/กก. แต่พอเดือนกันยายน ราคาตกลงมา เหลือ 68 บาท/กก. มาเป็นราคาขายเนื้อแดง คูณสอง ประมาณ 128 บาท พอเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน  ราคาหมูหน้าฟาร์มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่บอกว่าปริมาณหมู เนื้อหมู ไม่ได้หายไปไหน เพียงพอกับการบริโภค

 

"ล่าสุด ท่านนายกรัฐมนตรี เรียกประชุม เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565  สั่งกำชับ 1. กรมปศุสัตว์ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย  ไปสำรวจสต๊อก ว่าหมูมีจริงเท่าไร ก็ได้ตัวเลขออกมา ในขณะที่สำรวจนั้นมีหมูเหลือ 12 ล้านตัว แล้วสั่งอีก ในข้อที่ 2  ให้ไปสำรวจหมู เนื้อหมู ในห้องเย็น ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ 1,087 แห่ง มีหมูในสต๊อก 25 ล้านกิโลกรัม นี่ผมลำดับเรื่องให้เห็นว่า ไม่ใช่โรค ASF  ทำให้หมูตาย แล้วหมูขาดตลาด ทำให้ราคาแพง ไม่ใช่ เพราะปริมาณหมู อยู่ครบเพียงพอ"

 

ส่วนเนื้อหมู ตรวจเช็คยังมีอยู่ หลายคนคงสงสัยพูดอย่างนี้ แล้วหมูแพงได้อย่างไร หมูก็มี ท่านนายกรัฐมนตรีก็สั่งอีก เพราะเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงไปหมดเลย อ้างแต่หมู ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้นตามหมู จึงได้ดำเนินการอีกว่าหมูไปอยู่ที่ไหน วันนื้ทุกคนยอมรับแล้วว่าเกิดจากผิดพลาดกลไกทางการตลาด ก็เข้าใจ ว่าทำไมจู่หายไปจากตลาดทั้งที่หมูอยู่ครบ ทำไมราคาแพง

 

"หากใครเป็นพ่อค้าคงจะรู้ ว่าคือเทคนิค บิดเบือนกลไกต่างๆ ผมก็ยืนยันตั้งแต่เริ่มต้นมาแล้วว่ายังอยู่ ไม่ได้ขาดหรือหายไปไหน จึงเป็นที่มาของการทำงานว่าเหตุใดราคาหมูถึงแพง วันนี้รู้แล้วว่า เกิดจากการบิดเบือนกลไกตลาดผมพยายามเชื่อมโยงให้เห็นว่า โรค ASF ไม่ใช่ทำให้หมูหายไป จนขาดตลาด”

 

นายประภัตร กล่าวว่า รัฐบาลเราไม่เคยได้ประโยชน์อะไรเลยจากพ่อค้าหมูเลย เราทำงานเพื่อป้องกันทุกอย่าง ช่วยเหลือ ดังนั้นจะมาหาว่าเราปกปิดไม่ได้เลย ผมยังชื่นชมปฏิภาณไหวพริบในการลำดับเรื่องให้ผมฟัง ผมก็นำความรู้มาใช้ และไปแก้ไข ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีก็ฝากเรื่อง เกี่ยวกับผู้เลี้ยงรายย่อย สั่งมาเป็นเดือน เมื่อจำนวนหมูหายไป  มี 1.9 แสนราย  เป็นรายย่อย 1.8 แสนราย มีรายใหญ่และรายกลาง 4,000 ราย

 

นายกรัฐมนตรีถามว่าวันนี้รายย่อยเหลือเท่าไร ผมก็แจ้งว่าเหลือประมาณ 9 หมื่นราย หายไป ครึ่งหนึ่ง ก็คือ   9.08 หมื่นรายที่หยุดเลี้ยง ด้วยความเป็นห่วงเป็นใย ท่านสั่งให้ปัจจัยการผลิต อบรม ให้เลี้ยงใหม่ โดยใช้วิชาการยกระดับเล้าหมู พร้อมกับให้เงินทุน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ตัวเลขหมู เพิ่มให้สอดคล้องกับตัวเลขหมูที่หายไป วันนี้ได้สั่งกรมปศุสัตว์ กับมหาวิทยาลัย/วิทยาลัย เกษตร 40 แห่งทั่วประเทศช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในการเลี้ยงหมู สรุปที่กล่าวหาว่า "ปกปิดโรค" เป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยความอาการของโรคเหมือนกัน