มีผลแล้ว ราชกิจจาฯ ประกาศ เครื่องหมายราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใหม่

29 ม.ค. 2565 | 09:40 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ม.ค. 2565 | 16:51 น.
4.9 k

ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศสำนักนายกฯ กำหนดภาพเครื่องหมายราชการของ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ใหม่ มีผลแล้ว รู้หรือยัง

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา  ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 10 มกราคม 2565 ประกาศ เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 313) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช  2482 แทนเครื่องหมายเดิมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 249 ลงวันที่ 3 ธันวาคม  2552 ดังปรากฏรายละเอียดของภาพเครื่องหมายราชการ ดังกล่าวท้ายประกาศนี้ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 ลงนามโดย นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

 

สำหรับ ประกาศราชกิจจา ฯ ภาพเครื่องหมายราชการประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

เป็นรูปวงกลมซ้อนกัน 2 วง ภายในวงกลมชั้นในเป็นพื้นสีเขียว มีลายกระหนกเปลวสีทองกึ่งกลาง เป็นรูปพระพิรุณทรงพระภูษาและฉลองพระบาทสีทอง พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ ทรงยืนบนหลังนาค ภายใน วงกลมชั้นนอกเป็นพื้นสีขาว ด้านบนมีอักษรภาษาไทยสีเขียวเข้มว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์”ด้านล่างมี อักษรภาษาอังกฤษสีเขียวเข้มว่า “MINISTRY OF AGRICULTURE AND COOPERATIVES”

 

เครื่องหมายราชการประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

 ความหมาย

“ พระพิรุณ” เป็นเทพแห่งน้้า เป็นที่นับถือกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่าเป็นผู้บันดาลให้ฝนตก

 "นาค" เป็นพาหนะของพระพิรุณ และเป็นก้าลังของการให้น้้า

 "พระพิรุณทรงนาค" เป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ

"ตราประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ของเดิม

 

มีผลแล้ว ราชกิจจาฯ ประกาศ  เครื่องหมายราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใหม่

 

ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นตราประจำตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย ตรานี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นตราหนึ่งในตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมนา

 

จากทั้งหมด 9 ดวง ที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญเพื่อใช้สำหรับหน้าที่ต่างๆ กัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการนำตราพระพิรุณขี่นาคทรงเครื่องยืนหลังนาคราช (ดวงที่ 3) มาใช้เป็นตราใหญ่ดำเนินพระราชโองการในสารตราต่างๆ และใช้ตรานี้มาจนถึงปัจจุบัน

 

“พระพิรุณ”  เป็นที่นับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า เป็นเจ้าแห่งน้ำ เป็นผู้บันดาลให้ฝนตก

“พญานาค” เป็นพาหนะของพระพิรุณ และเป็นกำลังของการให้น้ำ

“พระพิรุณทรงนาค” จึงเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์"

 

ประกาศสํานักนายกรัฐมนตร ี เรื่อง กําหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 249) อ้างอิง (คลิกที่นี่)