บขส. ปั้นสถานีขนส่งรังสิต เชื่อม‘อีอีซี’

14 ม.ค. 2565 | 06:00 น.
851

บขส.เปิดแผนสถานีขนส่งรังสิต เชื่อมอีอีซี เริ่มลงมือก่อสร้าง ม.ค. 2565 ดึงโซล่าร์รูฟท็อป ให้บริการ เล็งตั้งคณะทำงานพัฒนาที่ดิน 4 แห่ง โกยรายได้เพิ่มให้องค์กร คาดเปิดประมูลปี 66

บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) มีแผนพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารเชื่อมโยงพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศพร้อมเร่งรัดนำที่ดินแปลงศักยภาพออกพัฒนาหารายได้ อย่างสถานีขนส่งแห่งใหม่บริเวณรังสิต

 

 

 

นายสัญลักข์ ปัญวัฒลิขิตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า บขส.มีแผนพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารรังสิต ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานของบขส.ตั้ง อยู่บริเวณตรงข้ามโรงกษาปณ์ เนื้อที่ 7 ไร่ปัจจุบันมีแผนพัฒนาพื้นที่ให้มีศักยภาพสูงสุดโดยเฉพาะการหารายได้ เบื้องต้น เตรียมเปิดเส้นทางเดินรถพลังงานไฟฟ้าจาก สถานีขนส่งรังสิตเชื่อมต่อกับเส้นทางในพื้นที่อีอีซี ช่วงรังสิต- มาบตาพุด และในระยะต่อไปจะขยายผลการเปิดเส้นทางเดินรถพลังงานไฟฟ้าเชื่อมต่อกับเส้นทางในพื้นที่ภาคตะวันตกโดยบขส.จะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) ซึ่งจะใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่สามารถตรวจสภาพรถทัวร์ของ บขส.ได้ ทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชน คาดว่าจะเริ่มดำเนินพัฒนาสถานีรังสิตได้ภายใน เดือนมกราคม 2565

“ภายในเดือนมกราคมนี้ มีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการเปิดเส้นทางเดินรถพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่อีอีซี รวมทั้งบขส.มีแผนมุ่งเน้นธุรกิจด้านขนส่งพัสดุภัณฑ์ในพื้นที่อีอีซีด้วยส่วนจะเปิดเส้นทางใดบ้างคงต้องหารือกับสกพอ.ให้ได้ข้อสรุปก่อนว่าเป็นอย่างไร”

 

 

ขณะเดียวกันภายในปี 2565 บขส.มีแผนพัฒนาอสังหา ริมทรัพย์ เพื่อหารายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างตั้งคณะทำงานพิจารณาที่ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อเปิดประมูลให้เอกชนเช่าเบื้องต้นพบว่ามีที่ดินหลายแห่งที่ สามารถนำมาพัฒนาให้เกิดรายได้กับองค์กรได้ คาดว่าปีนี้จะเริ่มศึกษาและประมูลภายในปี 2566

บขส. ปั้นสถานีขนส่งรังสิต เชื่อม‘อีอีซี’

ส่วนความคืบหน้าการย้ายสถานีหมอชิตเก่าติดกับบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิตยืนยันว่าบขส.ไม่มีการย้ายไปอยู่ที่สถานีขนส่งหมอชิตเก่า เนื่องจากโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณหมอชิตของบริษัทบางกอกเทอร์มินอล (BKT) ที่อยู่บนพื้นที่ของกรมธนารักษ์ยังไม่มีความชัดเจนเบื้องต้นบขส.มีแผนจะนำรถโดยสารมินิบัสและรถร่วมเอกชนจำนวน 2,000 คันสามารถวิ่งได้ไม่เกิน 400 กิโล เมตร (กม.) ไปวิ่งให้บริการกับประชาชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครง การ BKT ด้วยว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้เมื่อไร