"ประกันรายได้ยางพารา" หรือ โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง 1.88 ล้านราย พื้นที่สวนยางกว่า 19.16 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณ 10,065 ล้านบาท ล่าสุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มทยอยจ่ายเงินประกันรายได้ยางพาราให้กับเกษตรกรแล้ว
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องฐานเศรษฐกิจจึงได้สรุปข้อควรรู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ยางพารา ราคาประกันยางแต่ละประเภท ระยะเวลาการจ่ายเงินให้เกษตรกรชาวสวนยาง และวิธีคิดเงินส่วนต่างได้ที่จะได้รับ รวมถึงารแบ่งรายได้ระหว่างเจ้าของสวนกับคนกรีด มาเสนอให้เข้าใจกันง่ายๆแบบม้วนเดียวจบ
1. หลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ยางพารา
- เกษตรกรชาวสวนยางต้องขึ้นทะเบียน และแจ้งข้อมูลพื้นที่การปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564
- สวนยางพาราอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว
- รายละไม่เกิน 25 ไร่
- ปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้
- ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน
- ผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน
2. ราคาประกันรายได้ยางพารา
- ยางพาราแผ่นดิบคุณภาพดี ประกันราคา 60 บาท/กิโลกรัม
- น้ำยางสด (DRC 100%) ประกันราคา 57 บาท/กิโลกรัม
- ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ประกันราคา 23 บาท/กิโลกรัม
3. ระยะเวลาประกันรายได้ยางพารา
- ระยะเวลา 6 เดือน (ตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565)
- จะมีการประกาศราคากลางอ้างอิงทุกเดือน และจ่ายเงินเดือนละครั้ง
4. หลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ยางพารา
- การยางแห่งประเทศไทย จะทำการตรวจสอบและรับรองสิทธิ์เกษตรกรชาวสวนยาง พร้อมทั้งประมวลผลส่งให้ ธ.ก.ส. เพื่อให้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง
5. วิธีคิดเงินประกันรายได้ยางพารา
- เงินค่าประกันรายได้ในแต่ละเดือน = (ราคายางที่ประกันรายได้-ราคาอ้างอิงการขาย) X ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง
- กรณีเจ้าของสวนกรีดเองจะได้รับส่วนต่างประกันรายได้ทั้งจำนวน
- กรณีจ้างกรีดยาง เจ้าของสวนยางจะได้ 60% และคนกรีดจะได้ 40% ของรายได้ทั้งหมด
6. จ่ายเงินอย่างไร ถึงเมื่อไหร่
- ธ.ก.ส.จะมีการจ่ายเงินเดือนละครั้ง
- ตั้งแต่บัดนี้ถึงเดือนกันยายน 2565
เกษตรกรชาวสวนยาง สามารถเช็คสิทธิ์ได้โดย คลิกที่นี่ และตรวจสอบสถานะการโอนเงินคลิกที่นี่
ที่มา: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)