“สนั่น” ประกาศกลางวงสัมมนาหอการค้า ห่วงไทยเผชิญ 4 วิกฤติ จี้เร่งปรับตัวด่วน

20 พ.ย. 2564 | 10:22 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ย. 2564 | 18:04 น.

“สนั่น” ประธานหอการค้าไทย ประกาศกลางวงงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ชี้ไทยยังต้องเผชิญ 4 วิกฤติความผันผวนที่เรียกว่า VUCA เร่งทุกฝ่ายปรับตัวรับมือ ระบุไทยหลังเปิดประเทศยังมี 4 โอกาสทองรออยู่ ชูบทบาทคนรุ่นใหม่เคลื่อนเศรษฐกิจปี 65

 นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถา เปิดงาน สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39 (20 พ.ย.)2564 ว่า ขอใช้โอกาสนี้ กล่าวขอบคุณ ทุกๆ ท่าน ในนามของ คณะกรรมการหอการค้าไทย สร้างความเชื่อมั่น ร่วมกันสร้างสรรค์ ช่วยกันผลักดัน เป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้หอการค้าไทย และ เครือข่าย รวมพลังฝ่าวิกฤติโควิด-19 ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

 

“สนั่น” ประกาศกลางวงสัมมนาหอการค้า ห่วงไทยเผชิญ 4 วิกฤติ จี้เร่งปรับตัวด่วน

 

Connect the Dots จึงเป็น Solution ที่ทำให้ Mission Impossible ให้เป็น possible   เดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ ตั้งต้นการทำงาน ด้วยคำว่า WHY หรือ ทำไม

 1. ทำไมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเชื่องช้า 2. ทำไมความเชื่อมั่นในการลงทุนกับภาคธุรกิจ ทั้งในและนอกประเทศถดถอย 3. ทำไมการจัดหาวัคซีน จึงไม่เพียงพอ จาก 3 ประเด็นข้างต้น เป็นที่มาและจุดยืนของ หอการค้าไทย ที่จะต้องเร่งเชื่อมการทำงานกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ให้ประสานกัน ภายใต้แนวคิด Connect the Dots

 

“สนั่น” ประกาศกลางวงสัมมนาหอการค้า ห่วงไทยเผชิญ 4 วิกฤติ จี้เร่งปรับตัวด่วน

ภารกิจ 99 วันแรก ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย จึงเกิดขึ้นด้วย 3 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก่

1. เร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชน

    • หอการค้าไทยเป็นองค์กรเอกชนแรกๆ ที่เน้นยํ้าให้รัฐบาล จัดหา และกระจายวัคซีน ถึง 100 ล้านโดส 

2. เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ด้วย Digital Transformation

     หอการค้าไทยได้ร่วมมือกับกลุ่มค้าปลีก และธนาคารในการ ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า ร่วมกับธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อให้ สมาชิกของเราโดยเฉพาะในวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทเป็นเงินทุนหมุนเวียน ของกิจการ ภายใต้ โครงการ มีที่มีเงิน ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือน ธันวาคม และหลังจากนี้ หอการค้าไทย จะยังคงดำเนินการผลักดันให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างจริงจัง 

        

   นอกจากนี้หอการค้าไทย ยังมุ่งเน้นในการใช้ Application TCC Connect ให้เป็นประโยชน์ สานต่อจากที่คุณกลินท์ สารสิน(อดีตประธานกรรมการหอการค้าไทย) ที่ได้เริ่มไว้ 

 

“สนั่น” ประกาศกลางวงสัมมนาหอการค้า ห่วงไทยเผชิญ 4 วิกฤติ จี้เร่งปรับตัวด่วน

 

3. Ease of Doing Business

   เร่งรัด การลดกฎระเบียบ และกฎหมาย ที่ล้า หลัง เพื่ออำนวยความสะดวก แก่ผู้ประกอบการให้เกิดความรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่าย อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การลด หรือ ยกเลิก ใบอนุญาต และ ค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น การปรับปรุงกฎเกณฑ์ พ.ร.บ. โรงแรม และ การเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร เป็นต้น ด้วย 3 ประเด็นดังกล่าว ถือเป็นที่ประจักษ์ และสัมฤทธิ์ผล จนได้รับความเชื่อถือจากทุกภาคส่วน

 

   ทั้งนี้ จากความร่วมมือของหอการค้า และ ภาครัฐ ที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด นำมาสู่การเปิดประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ต่อจากนี้ไป เราจะมัวแต่วาง strategy อย่าง เดียวคงไม่พอ execution จะเป็นตัวตอบโจทย์ เพราะเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ใช่แค่โควิด-19 เท่านั้น แต่ไข้หวัดนกก็ ส่อแววระบาดซํ้าอีก จะเห็นได้ว่าทุกอย่างมีความผันผวนตลอดเวลา เราเรียกวิกฤตินี้ว่า VUCA ประกอบด้วย

    V-Volatility     ความผันผวนสูง

    U-Uncertainty ความไม่แน่นอนสูง

    C-Complexity ความซับซ้อนสูง

    A-Ambiguity   ความคลุมเครือสูง

 

   ฉะนั้น เราต้องปรับตัว และมองเห็นโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ในภายภาคหน้า 

 1. โอกาสด้านการค้า และการลงทุน

     ในสายตานักลงทุนต่างประเทศ ไทยยังถือเป็นประเทศที่น่าลงทุน ฉะนั้นมันขึ้นอยู่กับ พวกเราที่จะต้องช่วยกันสร้างสิ่งจูงใจ ให้ชาวต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเมืองไทยให้มากที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC, ใช้ข้อตกลง RCEP ที่จะมีผล เริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ปีหน้าให้เป็นประโยชน์

 

    สำหรับ CPTPP ในขณะนี้ หอการค้าไทย ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง เชื่อมโยงทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ให้หันหน้าเข้าหากัน ทำงานร่วมกัน เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนและประเทศชาติในอนาคต เราต้องส่งเสริมการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศให้มากขึ้น โดยความร่วมมือจากทางภาครัฐ และเอกชนที่ได้ลงทุนในต่างประเทศแล้ว

 

     สำหรับด้านการค้าชายแดนและข้ามแดน แม้ว่าในปีนี้ได้เจอปัญหาจากโควิด-19 ก็ยังสามารถเติบโตได้ดี ยิ่งถ้าเราช่วยกันผลักดันอย่างจริงจัง ให้สามารถเปิดด่านต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การค้าในพื้นที่ชายแดน เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่งปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ CLMV ได้ผ่อนคลาย มาตรการต่างๆ และเริ่มทยอยเปิดประเทศ

     

      สำหรับการส่งออกปีนี้ จะโตได้ถึง 12 - 14% และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้า ทั้ง ๆ ที่ เราต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลน ตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือที่ยังคงสูงอยู่ 

 

2. โอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นให้นานาชาติบนเวที APEC

     ในปีหน้า รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน APEC ภายใต้ Theme “Open Connect Balance” โดยหอการค้าไทย ก็มีบทบาทหลักในการจัดประชุม CEO Summit ในช่วง เวลาเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทย มีโอกาสในการขยายธุรกิจ ไปในเวทีนานาชาติมากยิ่งขึ้น

   

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจก็จำเป็นต้องนำนวัตกรรมมาเพิ่มโอกาส และให้ความสำคัญ ถึงผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตาม แนวทาง BCG ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals

 

3. โอกาสด้านการท่องเที่ยว

     ในปี 2562 ประเทศไทยเคยมีนักท่องเที่ยว ต่างชาติถึง 40 ล้านคน สร้างรายได้ถึง 2.2 ล้านล้านบาท ถัดจากนั้นเพียงปีเดียว การระบาดของ โค วิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวหายไปเกือบหมดและในปีนี้ ตั้งแต่เดือน มกราคม - กันยายน ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. เข้ามาไทย เพียง 85,000 คน

 

     จากการเปิดประเทศที่ผ่านมา ททท. ได้ตั้ง สมมุติฐานว่า ในเดือน พฤศจิกายน และ ธันวาคม จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา เดือนละ 3 แสนคน ประกอบกับ คนไทยก็ได้ออกมาท่องเที่ยวในประเทศกันอย่างคึกคัก เชื่อว่าในปีนี้จะทำให้ GDP โตได้ถึง 1.5%  หากสถานการณ์ มีแนวโน้มดีขึ้น ททท. คาดว่า ปี 2565 ประเทศไทยจะมีโอกาส เห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเกือบ 10 ล้านคน

 

    โดยหลังจากนี้ ทุกคนต้องช่วยกันสร้าง การท่องเที่ยวคุณภาพสูง Quality Tourism และจากการจัดอันดับ กรุงเทพมหานคร ถือเป็นเมืองแห่งการ Workation เหมาะสมที่สุด สำหรับเป็นที่ทำงานและพักผ่อนไปด้วย ตรงกับที่ Mr. Brain Chesky CEO Air BNB มองพฤติกรรมของคน หลังจากนี้ว่า People are traveling any time คนจะเที่ยวได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอวันหยุด People are traveling everywhere. คนจะเที่ยวได้ทุกพื้นที่ ไม่จำกัดแต่เฉพาะใน เมือง People are staying longer. คนจะอยู่แต่ละที่นานขึ้น  

   

สอดคล้องกับ หอการค้าไทย ที่เราได้ขับเคลื่อน Happy Model พร้อมผลักดันแนวคิด ไทยเท่ ที่ได้ดำเนินกันมาตั้งแต่สมัย ท่าน ประธานอาวุโส คุณกลินท์ สารสิน

 

4. โอกาส ด้านการจับจ่ายใช้สอย และการจ้าง งานในประเทศ

    เราจะต้องให้ความสำคัญ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อสร้าง Local Consumption ด้วยกัน ทั้งนี้ หอการค้าไทย มีส่วนผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และเราก็ได้อยู่ในช่วงกำลังผลักดันให้รัฐบาล นำโครงการช๊อปดีมีคืน กลับมาใช้ให้ทันใน เดือนธันวาคมนี้

    

    จากการที่รัฐบาลได้ขยายเพดานหนี้จาก 60 เป็น 70% จะทำให้ในครึ่งปีหน้า จะมีเม็ดเงิน ไม่ตํ่ากว่า 5 แสนล้านบาท มาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ  ซึ่งหอการค้าไทย ก็จะได้ร่วมทำงานกับภาครัฐ เพื่อหามาตรการที่ตอบโจทย์ และตรงจุดต่อ ไป

 

     ในขณะเดียวกัน จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ การ restock ราคาน้ำมัน และ การควบคุมมลภาวะในภาคการผลิต ทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนและ ราคา สินค้าที่ขยับตัวสูงขึ้น หอการค้าไทย ได้ส่งสัญญาณในเรื่องนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ไปแล้ว และขอให้ผู้ประกอบการ ได้ช่วยกันประคับประคอง ราคาสินค้าในช่วงนี้เท่าที่จะทำได้

 

  สำหรับความท้าท้ายด้านเทคโนโลยี Mind Set เดิม ๆ ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะ เทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันโดยตรง ไม่ใช่แค่ Internet of Things แต่เป็น Internet of Everything (อยู่ในมือถือหมด) ทั้งเรื่อง การสื่อสาร การเงิน การค้าขาย การท่องเที่ยว ที่ปัจจุบันอยู่บน Platform Onlne ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนที่ตํ่า    

 

    ทั้งนี้ เราต้องยอมรับว่า นี่คือโลกของยุคคนรุ่นใหม่ ที่จะใช้เทคโนโลยีมาเสริมการให้การขับเคลื่อนประเทศ ฉะนั้น ในปีหน้า หอการค้าไทย จะเน้นการเพิ่มบทบาทของคนรุ่นใหม่ในทุกมิติ หากคนรุ่นใหญ่ และคนรุ่นใหม่ หรือ YEC ของเรา ได้ทำงานเสริมซึ่งกันและกันก็จะเกิดพลังมหาศาลในการขับเคลื่อนองค์กร โดยเฉพาะหอการค้าไทย อันเป็นที่รักและ หวงแหนของเรา ช่วยกันพลิกโฉมเศรษฐกิจ ไทยไปด้วยกัน

 

    "นี่คือ การ Connect the Dots…. Design the Future ของเราผมขอขอบคุณ คณะกรรมการ และสมาชิกทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันทำงานอย่างสมัครสมาน สามัคคี ซึ่งนี้ ถือเป็น Culture ที่มีความโดดเด่นขององค์กรของเรา"