“จุรินทร์” ชู จับคู่กู้เงิน ช่วยร้านอาหาร -SMEs ฝ่าโควิด-19 กว่า 6,000 ล้านบาท

08 ก.ย. 2564 | 12:24 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ก.ย. 2564 | 19:33 น.

“จุรินทร์”ปลื้ม จับคู้กู้เงิน ปล่อยสินเชื่อกว่า6พันล้านบาท  ด้านเอกชนร้านอาหาร เสนอรัฐเลื่อนใช้มาตรการ COVID Free Setting เหตุผู้ประกอบการโดยเฉพาะร้านขนาดกลาง-เล็ก ยังไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะการเข้าถึงวัคซีนและชุดตรวจ ATK ที่มีราคาสูง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงโครงการจับคู่กู้เงินสถานบันการเงินกับร้านอาหาร และจับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออก ว่า ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสถาบันการเงิน ซึ่งมี2เฟส คือเฟส1 เป็นโครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับร้านอาหาร และโครงการที่ 2 จับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออก โดยจากการดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนถึง 7 กันยายน   โดยมี 5 สถาบันการเงินเข้าร่วมโครงการประกอบด้วยธนาคารออมสิน, ธ.ก.ส. ,ธนาคารกรุงไทย ,SME D Bank และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้มีการอนุมัติเงินกู้เพื่อต่อลมหายใจให้กับธุรกิจร้านอาหารที่กำลังประสบปัญหาจากสถานการณ์โควิด และต้องการเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน โดยได้มีการอนุมัติวงเงินไปทั้งสิ้น 2,600 ล้านบาทแล้ว  ซึ่งสถาบันการเงินได้อนุมัติสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนพิเศษจำนวน 2,865 ราย และยังรออนุมัติอีกจำนวนหนึ่งคาดว่าจะอยู่ในวงเงินอีกประมาณ 220 ล้านบาท

“จุรินทร์” ชู จับคู่กู้เงิน ช่วยร้านอาหาร -SMEs  ฝ่าโควิด-19 กว่า 6,000 ล้านบาท

ส่วนโครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับ SMEsส่งออกนั้น ได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคมถึงวันที่ 7 กันยายน ระหว่าง EXIM Bank กับ บสย. ซึ่งได้มีการอนุมัติวงเงินสินเชื่อไปแล้ว 1,010 ล้านบาท ผู้ประกอบการ 190 ราย

“ 2 โครงการ สามารถอนุมัติวงเงินไปแล้วทั้งสิ้น 3,610 ล้านบาท หรือประมาณ  3,600 ล้านบาท จำนวน 3,055 ราย สำหรับโครงการจับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออกนั้นจะดำเนินการต่อไปในเฟสที่สอง โดยจะต่ออายุโครงการออกไปอีก 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายนปีนี้ ถึงวันที่ 7 เดือนพฤศจิกายนปลายปีนี้ โดยคาดว่าช่วงเฟสที่ 2 นี้จะสามารถอนุมัติวงเงินต่อลมหายใจให้ SMEs ส่งออกได้อีกไม่ต่ำกว่าอีกประมาณ 2,000 ล้านบาท

“จุรินทร์” ชู จับคู่กู้เงิน ช่วยร้านอาหาร -SMEs  ฝ่าโควิด-19 กว่า 6,000 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กับ กรมการค้าต่างประเทศ ระบุว่า โครงการจับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับร้านอาหาร สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการช่วยอนุมัติประกอบด้วยธนาคารออมสิน 1,453 ราย วงเงินอนุมัติสินเชื่อ 1,021.37 ล้านบาท, ธ.ก.ส. 216 ราย วงเงินอนุมัติสินเชื่อ 217.10 ล้านบาท, ธนาคารกรุงไทย 176 ราย วงเงินอนุมัติสินเชื่อ 247.69 ล้านบาท, SME D Bank 146 ราย วงเงินอนุมัติสินเชื่อ 205.66 ล้านบาท  และบสย. 874 ราย วงเงินอนุมัติสินเชื่อ 907.93 ล้านบาท ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อแยกตามภูมิภาค  กรุงเทพมหานคร 860 ราย วงเงิน 465.65 ล้านบาท, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,230 ราย วงเงิน 1,584.54 ล้านบาท, ภาคใต้ 247 ราย วงเงิน 142.22 ล้านบาท ,ภาคเหนือ 372 ราย วงเงิน 302.29 ล้านบาทและ ภาคกลาง 156 ราย วงเงิน 105.08 ล้านบาท

“จุรินทร์” ชู จับคู่กู้เงิน ช่วยร้านอาหาร -SMEs  ฝ่าโควิด-19 กว่า 6,000 ล้านบาท

ส่วนโครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออก ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อแยกตามภูมิภาค กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 120 ราย วงเงิน 746.80 ล้านบาท ,ตะวันออกเฉียงเหนือ 10 ราย วงเงิน 29.60 ล้านบาท, ภาคใต้ 16 ราย วงเงิน 68.20 ล้านบาท ,ภาคเหนือ 16 ราย วงเงิน 41.40 ล้านบาท และภาคกลาง 28 ราย วงเงิน 125.20 ล้านบาท โดยได้รับเงื่อนไขการขอสินเชื่อพิเศษ ดอกเบี้ยพิเศษ 3.99% ต่อปี ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันใช้เพียง บสย.ค้ำประกันเท่านั้น และปลอดค่าธรรมเนียม 2 ปี อนุมัติวงเงินภายใน 7 วันทำการ รับกรมธรรม์ประกันการส่งออกฟรี 1 Shipment รับสิทธิประโยชน์ในการเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรด้านการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์และศูนย์ความเป็นเลิศทางการค้าของ EXIM Bank

“จุรินทร์” ชู จับคู่กู้เงิน ช่วยร้านอาหาร -SMEs  ฝ่าโควิด-19 กว่า 6,000 ล้านบาท

ด้านนางสาวประภัสสร รังสิโรจน์ นายกสมาคมร้านอาหารไทยและสตรีทฟู้ด ระบุว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้มาตรการความปลอดภัยองค์กร (COVID Free Setting) เป็นหนึ่งในมาตรการควบคุมโรคโควิด-19  โดยจะเริ่ม 1 ตุลาคมนี้นั้น โดยกำหนดให้พนักงานที่ให้บริการจะต้องได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม /การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจATK ในทุกสัปดาห์   ซึ่งขณะนี้ยังมีพนักงานลูกจ้างร้านอาหารอีกจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงวัคซีนทั้งคนไทยและต่างด้าว เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครก็มีนับพันร้าน หรือนับหมื่นคนจึงขอให้รัฐพิจารณาเลื่อนมาตรการนี้ออกไปก่อน

ส่วนการ จัดหา ATK ให้ตรวจทุกๆ 7 วัน นั้นเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านอาหารกลายเป็นต้นทุนแฝง ซึ่งขณะนี้ชุดตรวจยังคงมีราคาสูง ขณะที่รายได้ยังไม่กลับมาแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการให้นั่งกินในร้านได้ตามข้อกำหนด หรือการกำหนดให้ร้านอาหารต้องใส่ชุดพีพีอีในการปฎิบัติงานหรือทำอาหารนั้น  ส่วนผู้ใช้บริการที่จะต้องฉีดวัคซีนครบสองเข็มและต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนนั้นอาจจะส่งผลทำให้ลูกค้าไม่อยากใช้บริการได้ มองว่าบางมาตรการไม่สามารถทำได้ในทางปฎิบัติ การออกข้อกำหนดต่างๆจึงควรสอดคล้องกับข้อเท็จจริง

สำหรับมาตรการความปลอดภัยองค์กร (COVID Free Setting) ประกอบด้วย 1.ด้านสิ่งแวดล้อมปลอดภัย การทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมทุก 1-2 ชั่วโมง ทำความสะอาดระบบปรับอากาศทุก 3 เดือน 2.ด้านพนักงานปลอดภัย พนักงานทุกคนฉีดวัคซีนครบโดส จัดหา ATK ให้ตรวจทุกๆ 7 วัน 3.ด้านผู้ใช้บริการปลอดภัย ให้คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้าร้านด้วยแพลตฟอร์ม “ไทยเซฟไทย”