แจกข้าวมันไก่บำรุงขวัญชุมชนรอบโรงงานซีพีเอฟ"โคราช" 

02 ก.ย. 2564 | 15:04 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ก.ย. 2564 | 22:14 น.

ซีพีเอฟโคราชเดินหน้าบรรเทาความเดือดร้อนชาวบ้านต่อเนื่อง  ล่าสุดบำรุงขวัญชุมชนรอบโรงงานที่โคราช มอบเนื้อไก่ให้ไปทำข้าวมันไก่แจกผู้กักตัวอยู่บ้าน หนุนโรงครัวสภากาชาดไทย  ผู้บริหารภาครัฐชื่นชมวางมาตรการดูแลพนักงานและชุมชนได้ดี 

   
    
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ซีพีเอฟ นครราชสีมา ส่งมอบความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชุมชนรอบโรงงาน ล่าสุด ได้สนับสนุนเนื้อไก่สด ภายใต้โครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19"  ตามนโยบายเครือซีพี ให้กับผู้นำชุมชนหมู่บ้านโซนกอโจด - ไทรย้อย ต.ท่าเยี่ยม จ.นครราชสีมา รวม 4 หมู่  37 ครอบครัว

เพื่อให้ชุมชนนำไปทำข้าวมันไก่ แจกให้ผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน โดยมีสาธารณสุขจังหวัด และ อสม. ร่วมลงพื้นที่แจกจ่าย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วย 
    

นอกจากนี้ ยังมอบเนื้อไก่-เนื้อหมูอีกกว่า 300 กก. ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อสนับสนุนโรงครัวสภากาชาดไทย ได้นำไปปรุงอาหารให้ประชาชน ขณะที่ก่อนหน้านี้ ได้ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพและหน้ากากอนามัย ในพื้นที่ตำบลสารภี อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา ด้วย 

แจกข้าวมันไก่บำรุงขวัญชุมชนรอบโรงงานซีพีเอฟ\"โคราช\" 

แจกข้าวมันไก่บำรุงขวัญชุมชนรอบโรงงานซีพีเอฟ\"โคราช\" 
 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้แล้ว  โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ซีพีเอฟ นครราชสีมา ได้ดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเข้มข้น ด้วยการจัดทำมาตรการบับเบิลแอนด์ซีล เพื่อปกป้องทั้งพนักงานและชุมชน   ตามแนวทางที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.กำหนด

เพื่อควบคุมโรคและจำกัดพื้นที่การระบาด เน้นย้ำ"การจัดกลุ่ม คุมได้ไว ลดการแพร่กระจาย" โดยแยกผู้ติดเชื้อออกไปรักษา ส่วนกลุ่มเสี่ยงได้จัดที่พักกักตัวอยู่ภายในโรงงานและสถานที่พักที่กำหนด พร้อมจัดรถรับส่ง โดยไม่มีพนักงานคนใดออกนอกสถานที่พัก หรือนอกเส้นทางระหว่างที่พักกับโรงงานได้  
  ซีพีเอฟ นครราชสีมา มอบเนื้อไก่ให้ผู้นำชุมชน นำไปปรุงเป็นข้าวมันไก่แจกจ่ายผู้กักตัวในชุมชนรอบโรงงานที่โคราช    

แจกข้าวมันไก่บำรุงขวัญชุมชนรอบโรงงานซีพีเอฟ\"โคราช\" 

นพ.ชาญชัย บุญอยู่ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวชื่นชมซีพีเอฟ ที่ให้ความร่วมมือ ดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับนางสาวทิพวรรณ ศรีทรมาศ นักระบาดวิทยา ซึ่งได้กล่าวชมว่า การทำบับเบิลแอนด์ซีลของซีพีเอฟนครราชสีมา มีการทำเป็นระบบ แยกพนักงานที่มีความเสี่ยงออกจากพนักงานปกติอย่างเด็ดขาดชัดเจน ก่อนนำเข้าระบบบับเบิลแอนด์ซีล ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้ไม่พบพนักงานป่วย หรือมีอาการหนักเพิ่มเติม  
    

นอกจากนี้ พนักงานในโรงงานยังได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 กันแล้วเกือบ 100% ทำให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันที่ดี เมื่อผนวกกับมาตรการบับเบิลแอนด์ซีลที่เข้มข้น ทำให้โรงงานแห่งนี้จัดเป็นต้นแบบโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ ที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการระบบป้องกันโควิด-19 ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของนครราชสีมา