เปิดแพ็กเกจแผนอุ้มธุรกิจประมงฝ่าโควิด

27 ส.ค. 2564 | 01:00 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ส.ค. 2564 | 05:21 น.

“อลงกรณ์” เปิดแพ็กเกจแผนอุ้มเกษตรกร -ธุรกิจ ประมงพื้นบ้าน-พาณิชย์ กุ้ง ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อัดสินเชื่อ สู้ “โควิด”

อลงกรณ์ พลบุตร

วันที่ 26 สิงหาคม 2564 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย เผยหลังการประชุมหารือขับเคลื่อนการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมง ครั้งที่ 5/2564 ผ่านระบบ Zoom วาระการประชุมที่เกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการประมงไทย

 

โดยมีความก้าวหน้าของโครงการประกันภัยกลุ่มเรือประมงพื้นบ้าน การจัดทำแนวทางการพัฒนาประมงพื้นบ้านที่มีความคืบหน้าการเสนอเพื่อขอรับงบประมาณต่อไปรวมไปถึงการจัดทำร่างนโยบายและแนวทางการพัฒนาการทำการประมงพาณิชย์อย่างยั่งยืนความก้าวหน้าโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่จะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ในเดือนตุลาคม 2564

บรรยากาศที่ประชุม

โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืนปี 2564 วงเงินชดเชยดอกเบี้ย 450 ล้านบาทโดยขณะนี้ มีบริษัทสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 15 บริษัท ซึ่งจะดำเนินการหารือกับบริษัทที่เกี่ยวข้องในการร่วมลงทุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป การแก้ปัญหาเรื่องขนำหอยในพื้นที่อ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการประชุมหารือในพื้นที่เพื่อหาทางออกสำหรับปัญหานี้เป็นที่เรียบร้อย

 

โดยมีมติให้ขนำหอยเป็นลักษณะของอาคารและสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่เพิ่งอนุญาตได้อีกประเภทหนึ่ง และการแก้ปัญหาการขออนุญาตส่งออกสัตว์น้ำ ที่ได้รับการร้องเรียนมาขนาดนี้ได้รับการแก้ปัญหาไปที่เรียบร้อย และการช่วยเหลือด้านการตลาดกุ้งก้ามกรามโดยขณะนี้ทางกรมประมงได้ดำเนินการจัดทำระบบจำหน่ายสินค้าล่วงหน้าเพื่อเป็นช่องทางในการกระจายเพิ่มให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง และผลการศึกษากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อช่วยเหลือชาวประมงได้พิจารณาในหลัก การที่เกี่ยวข้องพร้อมนำเข้าหารือกับเกษตรกรในการจัดทำโครงการขอรับเงินสนับสนุนต่อไป

 

พร้อมร่วมกันพิจารณาจัดหาแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งทะเล ที่กำลังประสบปัญหาในขณะนี้ ด้านโครงการ fisherman village resort โดยมีความคืบหน้าในการขับเคลื่อนร่วมกับโครงการ Thailand riviera นั้นขณะนี้ได้คัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาตามเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่ตำบลคลองโคนจังหวัดสมุทรสงครามไปสิ้นสุดที่อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรีได้จำนวนสี่ชุมชนนำร่องซึ่งจะมีการขอรับสนับสนุน

บรรยากาศที่ประชุม

 

งบประมาณวงเงิน 34 ล้านบาทเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน ด้านความก้าวหน้าโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ขณะนี้มีผู้ร่วมโครงการกว่า 5,596 รายรวมวงเงินสินเชื่อประมาณ 6,509 ล้านบาท

 

ขณะนี้ได้รับอนุมัติวงเงินไปกว่าร้อยละ 32 ของผู้เข้าร่วมโครงการ โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืนมีการเห็นชอบใช้งบประมาณงบกลางปี 2565 หรืองบประมาณปกติปี 2566 สำหรับกลุ่มเรือจำนวน 75 ลำวงเงิน 490 ล้านบาท

 

พร้อมกันนี้คณะกรรมการได้พิจารณาการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำโครงการเสนอของทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสร้างแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่เกษตรกรต่อไป