ทะลวงทางลัด-อุโมงค์ต่างระดับ  อุบลราชธานียกชั้นโลจิสติกส์เชื่อม‘ลาวใต้’

05 ส.ค. 2564 | 11:09 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ส.ค. 2564 | 18:28 น.
591

    กรมทางหลวงเปิดใช้แล้ว เส้นทางลัด วารินฯ-หนองงูเหลือม เชื่อมสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 เส้นทางสู่กรุงฉลุย ร่นระยะทางลงกว่า 30 กม. ยกระดับโครงข่ายโลจิสติกส์ค้าชายแดนสู่ลาวใต้ ได้ทั้งทางช่องเม็ก-วังเต่า และ สะพานข้ามโขง แห่งที่ 6 นาตาล-สาละวันในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้กรมทางหลวงก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 2178 สายแยกทางหลวงหมายเลข 2085-อุบลราชธานี เป็น 4 ช่องจราจรแล้วเสร็จ เพื่อพัฒนาโครงข่ายทางหลวงระหว่างจังหวัดในภูมิภาคอีสานใต้ รองรับการคมนาคมขนส่งสินค้าชายแดนไทย-อินโดจีน

กรมทางหลวงเปิดใช้ทางหลวงหมายเลข 2178 ที่ขยายเป็น4เลน จากวารินชำราบลัดไปเชื่อมทางหลวงหมายเลข 24 เส้นทางหลักเชื่อมกรุง
โดยทางหลวงหมายเลข 2178 สาย วารินชำราบ-หนองงูเหลือม เริ่มจากเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านอำเภอสำโรง อำเภอโนนคูณ สิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลข 2085 ตำบลหนองงูเหลือมอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
    
จากจุดนี้สามารถเชื่อมต่อทาง หลวงหมายเลข 24 ซึ่งปัจจุบันประชาชนใช้เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางระหว่างจังหวัด และเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครอีกทั้งเป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าระหว่างชายแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านด่านพรมแดนช่องเม็ก จ. อุบลราชธานี ทำให้ปริมาณการจราจรหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง
   ทะลวงทางลัด-อุโมงค์ต่างระดับ  อุบลราชธานียกชั้นโลจิสติกส์เชื่อม‘ลาวใต้’

  แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเส้นล่าง

กรมทางหลวงจึงดำเนินการก่อสร้างขยายทางหลวง หมายเลข 2178 สาย แยกทางหลวงหมายเลข 2085-อุบลราชธานี มีจุดเริ่มต้นที่ กม.27+910 ถึง กม.42+500 รวมระยะทาง 14.59 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร ผิวจราจรแบบแอสฟัลท์คอนกรีต กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทาง กว้างข้างละ 2.5 เมตร มีเกาะกลางแยกทิศทางการจราจรไป-กลับ ก่อสร้างจุดกลับรถ จำนวน 11 แห่ง พร้อมงานติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง งบประมาณ 598,166,800 บาท
ทะลวงทางลัด-อุโมงค์ต่างระดับ  อุบลราชธานียกชั้นโลจิสติกส์เชื่อม‘ลาวใต้’   

 เมื่อโครงการแล้วเสร็จและเปิดใช้งาน จะช่วยบรรเทาการจราจรติดขัด รองรับปริมาณการจราจรได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าทางการเกษตร มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ประหยัดค่าใช้จ่ายใน

การเดินทาง ใช้เวลาลดลง เพราะร่นระยะทางได้ถึง 30 กม. จากเส้นทางเดิมพร้อมเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งสินค้าไปสู่กลุ่มประเทศอินโดจีนและเอเชีย ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังชายแดน ทางด่านช่องเม็ก จ.อุบลฯ-จำปาสัก และมุกดาหาร-สะหวันนะเขต
   สะพานข้ามโขง 6 อ.นาตาล อุบลราชธานี ข้ามไปเชื่อมเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน สปป.ลาว อยู่ในแผนก่อสร้าง  

พร้อมทั้งรองรับแผนการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 6 ของจังหวัดอุบลฯ ที่ อ.นาตาล-แขวงสาละวันสปป.ลาว ซึ่งจะก่อสร้างในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งสอดรับกับการก่อสร้างอุโมงค์ ลอดวงเวียน “แยกดงอู่ผึ้ง-วนารมย์” มี กำหนดแล้วเสร็จเปิดใช้งานช่วงเดือนเมษายน 2565 ซึ่งในขณะนี้ความคืบหน้าในการก่อสร้างไปกว่า 60% แล้ว
   ทะลวงทางลัด-อุโมงค์ต่างระดับ  อุบลราชธานียกชั้นโลจิสติกส์เชื่อม‘ลาวใต้’  

ทะลวงทางลัด-อุโมงค์ต่างระดับ  อุบลราชธานียกชั้นโลจิสติกส์เชื่อม‘ลาวใต้’

ทางด้านนายเอกพงศ์ เศรษฐมานพ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 1 กรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า โครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 231 กับทางหลวงหมายเลข 23 (แยกดงอู่ผึ้ง) พร้อมทางคู่ขนานระหว่าง กม.0+100-กม.4+160 ระยะทาง 4.06 กิโลเมตร (กม.) โดยก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดขนาด 6 ช่องจราจรไปกลับ กับวงเวียนขนาด 3 ช่องจราจร และโครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 231 กับทางหลวงหมายเลข 212 (แยกวนารมย์) รูปแบบก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดขนาด 4 ช่องจราจรไปกลับ และวงเวียนขนาด 2 ช่องจราจร ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าเป็นอุโมงค์วงเวียนต่างระดับที่ออกแบบสวยที่สุดในเมืองไทย วงเงิน 798.65 ล้านบาท มีบริษัท ส.เขมราฐ อินดรัสตรี้ จำกัด เป็นผู้รับจ้าง
ทะลวงทางลัด-อุโมงค์ต่างระดับ  อุบลราชธานียกชั้นโลจิสติกส์เชื่อม‘ลาวใต้’     

ปัจจุบันการก่อสร้างในภาพรวมก้าวหน้า 60% ผู้รับเหมาอยู่ระหว่างขุดเจาะเสาเข็มอุโมงค์ทั้ง 2 โครงการ มั่นใจว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2565 จากนั้นจะใช้เวลาเก็บรายละเอียดประมาณ 1 เดือน เพื่อเปิด บริการประชาชนช่วงเดือนเมษายน 2565 มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 ให้การเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวเกิด ความคล่องตัว
   ทะลวงทางลัด-อุโมงค์ต่างระดับ  อุบลราชธานียกชั้นโลจิสติกส์เชื่อม‘ลาวใต้’  

ซึ่งหากทั้ง 2 โครงการแล้วเสร็จ จะช่วยแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณ 2 ทางแยกได้เป็นอย่างดี เนื่องจากทั้ง 2 จุดมีปริมาณการจราจรหนาแน่นหลายหมื่นคันต่อวัน โดยแยกดงอู่ผึ้ง และแยกวนารมย์ เป็นจุดเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอื่นๆและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของ จ.อุบลราชธานี จะทำให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมถึงสนับสนุนการขนส่งสินค้าและเศรษฐกิจชายแดน เนื่องจากเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาวได้ 

ด่านช่องเม็ก ประตูการค้าไทยกับสปป.ลาวตอนใต้

ชลธิษ จันทร์สิงห์ /รายงาน
หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,702 วันที่ 5-7 สิงหาคม พ.ศ.2564