​“พาณิชย์”ดัน 7 มาตรการ เพิ่มความสะดวกส่งออก-นำเข้าช่วงโควิด-19

22 ก.ค. 2564 | 15:35 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.ค. 2564 | 22:41 น.

คต. นำ 7 มาตรการมาใช้ ทั้งขยายวันเวลาหมดอายุบัตรประจำตัว ส่งคำขอขึ้นทะเบียนทางไปรษณีย์ ใช้ e-Form D ส่งออกอาเซียน ขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดด้วยระบบ ESS  หวังช่วยเหลือผู้ประกอบการยังคงดำเนินการส่งออก-นำเข้าสินค้าได้อย่างสะดวก ไร้อุปสรรคในช่วงโควิด-19   

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้นำ 7 มาตรการมาใช้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยยังคงสามารถส่งออก-นำเข้าสินค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไร้อุปสรรค เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยนำรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นและการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
​“พาณิชย์”ดัน 7 มาตรการ  เพิ่มความสะดวกส่งออก-นำเข้าช่วงโควิด-19
         โดยทั้ง 7 มาตรการ ประกอบด้วย 1.ขยายเวลาวันหมดอายุสำหรับบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า และบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจที่จะหมดอายุในช่วงระหว่างวันที่ 1 ส.ค.-31 ธ.ค.2564 ออกไปอีก 5 เดือน โดยอัตโนมัติ ในส่วนของกรณีจำเป็นต้องจัดทำบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า และบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจใหม่ ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอพร้อมส่งเอกสารทางไปรษณีย์ และกรมฯ จะจัดส่งบัตรให้ผู้ประกอบการทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังกรมฯ
    

     2.อนุญาตให้ผู้ประกอบการส่งคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าที่มีมาตรการควบคุมการส่งออก-นำเข้าผ่านทางไปรษณีย์ พร้อมสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาและเลขทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนผู้ประกอบการออนไลน์ของกรมฯ (Registration Database) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
         3.เชิญชวนให้ผู้ประกอบการเลือกใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-Form D) หรือการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (ASEAN Wide Self Certification: AWSC) สำหรับการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน แทนการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบกระดาษ4.ผลักดันการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยระบบการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (ESS) ซึ่งสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการลดขั้นตอน ลดระยเวลา และลดการสัมผัสกระดาษ

​“พาณิชย์”ดัน 7 มาตรการ  เพิ่มความสะดวกส่งออก-นำเข้าช่วงโควิด-19
         
5.เพิ่มการให้บริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก-นำเข้าสินค้าแบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยการเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมศุลกากรผ่านระบบ National Single Window (NSW) ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่ต้องนำเอกสารแบบกระดาษไปประกอบพิธีการทางศุลกากร
         6.อนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้แบบฟอร์มรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองตามที่กรมฯ กำหนดมายื่นประกอบการขอรับหนังสือรับรองแสดงการได้สิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ส.ค.-31 ธ.ค.2564 กรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถนำ C/O จากประเทศต้นทางมาแสดงได้เนื่องจากประเทศต้นทางล็อกดาวน์
         

7.รับชำระเงินผ่านการสแกน QR Code หรือการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)

  นอกจากนี้ กรมฯ ยังมีมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยได้สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของกรมฯ ได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และจัดทำระบบ Timeline a Day Report เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกรมฯ เข้าไปกรอกข้อมูลการเดินทางและกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในแต่ละวัน เช่น สถานที่ที่ไปทำกิจกรรม ช่วงเวลา และรูปแบบการเดินทาง เป็นต้น เพื่อให้สามารถเฝ้าติดตามได้ กรณีผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของกรมฯ ได้ไปสัมผัสผู้ติดเชื้อ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสนับสนุนที่ดีอย่างยิ่งในการช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการว่า กรมฯ ได้เฝ้าระวังและห่วงใย รวมถึงคำนึงความปลอดภัยอย่างเต็มที่ต่อการให้บริการที่เป็นเลิศแก่ผู้ประกอบการ