“ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว” คืนชีพ รอบใหม่ “กุ้ง ไก่เนื้อ หมู”   ฉุดราคาร่วงทันที

09 ก.ค. 2564 | 20:41 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ก.ค. 2564 | 05:52 น.
3.2 k

ตรวจแถวสินค้าเกษตร หลัง “ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว” คืนชีพ รอบใหม่ “กุ้ง ไก่เนื้อ หมู”  ฉุดราคาร่วงทันที ขณะ “ทุเรียน” ผวาพ่อค้าฉวยจังหวะทุบ ส่วนผัก-ผลไม้ ส่งออก โชคดีลูกค้าปลายทางเปลี่ยนพฤติกรรมสั่งอาหารแบบดิลิเวอรี่ ต้นทุนขนส่ง 3 เท่า สูงกว่าก่อนโควิด

วันที่ 9 ก.ค. 64 มติที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เคาะมาตรการ "ล็อกดาวน์ " และขอความร่วมมืองดการเดินทางในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยจะเป็นการยกระดับมาตรการคุมระบาดโควิด เป็นเวลา 14 วัน โดยมีเป้าหมาย 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ,จังหวัดนครปฐม,จังหวัดนนทบุรี,จังหวัดปทุมธานี,จังหวัดสมุทรปราการ,จังหวัดสมุทรสาคราม,จังหวัดนราธิวาส,จังหวัดปัตตานี,จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา หวังลดผู้ป่วยภายใน 2-4 สัปดาห์

 

ส่วนมาตรการที่ใช้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด คือกรุงเทพและปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี และนครปฐม โดยมาตรการที่ยกระดับขึ้นมาที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป นั้น ( 10 ก.ค.2564) เป็นต้นไปนี้ นั้น

 

“ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว” คืนชีพ รอบใหม่ “กุ้ง ไก่เนื้อ หมู”   ฉุดราคาร่วงทันที

 

น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” พอประกาศ “ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว” ราคาสุกรมีชีวิตร่วงทันที 4 บาท/กิโลกรัม จากราคา 72 บาท/กิโลกรัม เหลือ 68 บาท/กิโลกรัม กล่าว ถ้าราคาปรับลงแล้วประชาชนได้ประโยชน์ก็ดี เพราะมีการปิดตลาดหลายแห่ง ผลผลิตไม่สามารถส่งไปขายได้ แล้วก็โควิดในอุตสาหกรรมก็มีการกักตัว เข้มตรวจโรค ก็ต้องยอมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฝืนไม่ได้ ไม่โทษใครจะโทษรัฐบาลหรือก็เลือกเข้ามากันเอง ประชาชนก็ต้องมีบทเรียน ถ้าไม่มีบทเรียนวงจรก็ซ้ำไปซ้ำมา

 

ฉวีวรรณ คำพา

 

เช่นเดียวกับ นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือฉวีวรรณ กล่าวว่า ก่อนที่จะล็อกดาวน์ -เคอร์ฟิว ราคาไก่ตกลงมาอยู่แล้วเพราะกำลังซื้อในประเทศไม่ค่อยมี ทุกคนก็ไม่ค่อยไปตลาด ประชาชนเก็บตัวเงียบหมด ภายในราคาตกต่ำมาก แต่ถ้ส่งออกต่างประเทศก็ยังได้เพราะมีคำสั่งออร์เดอร์ล่วงหน้า ทางโรงงานก็มีปัญหาเรื่องแรงงาน ก็กลัวที่แรงงานจะนำเชื้อโควิด ก็ทำให้ไม่กล้ารับคนงานใหม่ขณะคนเก่าก็ตรวจเข้มทุกวัน ทำให้สถานการณ์ลำบากกันไปหมด

 

“ยิ่งมามีมาตรการ “ล็อกดาวน์ -เคอร์ฟิว” เพราะว่าตอนตี1 และตอนตี2 คนก็เริ่มออกมาจับจ่ายกันอยู่แล้ว แล้วถ้ามีล็อกดาวน์ก็จะยิ่งทำให้คนไม่กล้าออกมาอีก เพราะถ้าพลาดจะกลายเป็นขัดคำสั่งรโยบายรัฐบาล ส่วนการปิดตลาดโควิด จากที่พ่อค้า-แม่ค้ามาซื้อของในตลาดเพื่อไปจำหน่ายปลีก เมื่อปิดตลาดก็ไม่มาซื้อ ทำให้ไม่มีการซื้อขาย เศร้ามาก”


 

นางฉวีวรรณ กล่าวว่า เชื่อว่าถ้าหากได้ฉีดวัคซีนโควิด ให้ทั่วประเทศประเทศความตึงเครียดจะได้เบาลง แต่ช้าจังเลย เพราะตอนนี้ประชาชนพร้อมที่จะฉีด ก็ไม่มีวัคซีนให้ประชาชนได้ฉีด ก็อยากจะเสนอรัฐบาลว่าตอนนี้สวนทางกันวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะเรื่องข้าวโพด กากถั่วเหลือง แพงมากแต่ราคาขายเนื้อสัตว์ถูกมาก ที่สุดเกษตรกรผู้เลี้ยงในวงการปศุสัตว์ช่วงนี้ลำบากกันเพราะต้นทุนสูงการผลิตสูงเหลือเกินอยากให้รัฐบาลมาช่วยดูแลตรงนี้บ้าง

 

ครรชิต เหมะรักษ์

นายครรชิต เหมะรักษ์ นายกสมาคมเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวว่าราคาไม่ดี แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายมากนัก วันนี้ราคาเริ่มตกมานิดหน่อย บวกกับวงจรราคากุ้งจะตกในช่วงนี้ และอีกช่วงก็ประมาณกันยายน -ตุลาคม  ดังนั้นจะต้องมีมาตรการรองรับ โครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้ง ที่ใช้งบประมาณ 1,800 ล้าน โดยกำหนด ราคากุ้งที่ขนาด 100 ตัว  ราคาที่ 130 บาท กุ้งขนาด 90 ตัว ราคา 135บาทตัว/กิโลกรัม กุ้งขนาด 80 ตัว ราคา 140บาท กุ้งขนาด 70 ตัว ราคา 160 บาท กุ้งขนาด 60 ตัว ราคา 170 บาท  กุ้งขนาด 50 ตัว ราคา 180 บาท กุ้งขนาด 40 ตัว 200 บาท กุ้งขนาด  30 ตัว ราคา 215บาท และ กุ้งขนาด 25 ตัว ราคา 240 บาท (อินโฟกราฟฟิก)

 

 

“สถานการณ์เป็นรายวัน อย่างบางพื้นที่กุ้งไปตลาดมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียล็อกดาวน์ด้วย การส่งของไปด้วยความลำบาก ต้องมาบริหารตามสถานการณ์ และยิ่งมาล็อกดาวน์ 14 วัน ก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก อย่างกุ้งก้ามกราม  ตลาดส่วนใหญ่ในประเทศ มีผลร้านอาหารไม่เปิด กุ้งอั้นอยู่ในบ่อ ก็ลำบาก แต่ถ้าจะเลวร้ายเช่นเดือนเมษายน ก็ต้องเตรียมมาตรการรองรับ ในช่วงเดือน กันยายน -ตุลาคม  ก็จะซ้ำรอยเดิม

 

ฉัตกมล  มุ่งพยาบาท

 

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย ราคาทุเรียนภาคใต้ราคายังทรงๆ หน้าสวน 110-115 บาท/กิโลกรัม จากราคาในช่วงแรก 130-140 บาท/กิโลกรัม ราคาลงมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ฝ่ายพ่อค้าก็อ้างว่าตู้คอนเทรนเนอร์ขาด แล้วเกษตรกรที่ขายตรงส่งออก ก็มีสวนทุเรียนGAP อยู่แล้ว มองว่าเป็นข้ออ้างของพ่อค้ามากกว่าที่บอกว่ามีน้อย 

 

"ความจริงๆ มีเกษตรกรที่มีทำ แต่หากเทียบราคาก็ถือว่าดีกว่าปีที่แล้ว ที่อยู่ประมาณ 90-100 บาท/กิโลกรัม ชาวสวนก็ไม่พอใจเท่าไร เพราะราคาก่อนหน้านี้ราคาสูง ต้องรอดูอีก 2-3 วันหลังจากนี้ที่รัฐบาลประกาศ “ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิวส์” ก็ห่วงว่าราคาจะตกลงไปอีก เพราะพ่อค้าอาจจะฉวยจังหวะกดราคาอ้างโน้นนี่ น่าเป็นห่วง

 

พจน์ เทียมตะวัน

 

ปิดท้าย นายพจน์ เทียมตะวัน"นายกสมาคมผู้ประกอบการพืชผัก ผลไม้ไทย กล่าวว่าโชคดีลูกค้า ตลาดปลายทางลูกค้าต่างประเทศก็ปรับพฤติกรรมใช้สั่งอาหารแบบดิลิเวอรี่ รับประทานตามบ้าน จึงทำให้มีผลกระทบน้อย แต่ว่าต้นทุนค่าขนส่งสูงมาก ถึง 3 เท่า เทียบกับก่อนการะบาดไวรัสโควิด-19 เพราะการขนส่งจะใช้แบบเช่าเหมาลำไป ตั้งแต่ล็อกดาวน์ครั้งที่แล้วจะใช้วิธีนี้ส่งของให้ลูกค้าแต่ละประเทศ หรือพวกสายการบินยุโรปมีบินเข้ามาไทยบ้างก็อาศัยจังหวะขนส่งกลับออกไป ราคาสูงมากหากเทียบก่อนสถานการณ์โควิดระบาด แม้ว่าตอนนี้ไฟล์บินจะเริ่มมีมากขึ้น

 

“ในช่วงโควิด มีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นมากก็น่าจะเกิดผลกระทบจากโควิด เรื่องการว่างงานหันมาประกอบธุรกิจค้าผลไม้กันมากขึ้น เพิ่มคู่แข่งขัน ถ้าเป็นผลไม้ไม่ส่งผลดีเท่าไร เนื่องจากตลาดในประเทศผู้บริโภคลดลง ราคาถูก อาจจะไปกระทบเรื่องรายได้เกษตรกร แต่ปริมาณการส่งออกก็เพิ่มขึ้น เพราะผลไม้ถูกลง แต่อุปสรรคก็คือว่าค่าเครื่องบินแพงกว่าเดิมถึง 3 เท่า”

 

นายพจน์ กล่าวว่า ความจริงผมประมาณการไว้ว่าสถานการณ์โควิดในประเทศเดิมคิดว่าปลายปีน่าจะจบ แต่ตอนนี้เปลี่ยนแล้วก็บวกไปอีก 2 ปี ประเมินจากสถานการณ์ต่างประเทศอย่างกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในเยอรมัน  ฝรั่งเศส หรือตลาดลอนดอน ยังแพร่ระบาดอยู่ค่อนข้างมากด แต่วิธีการปฏิบัติบ้านเรากับประเทศคู่ค้ามีความแตกต่างกันจากตัวไวรัส

 

“ลูกค้าต่างประเทศเล่าให้ฟัง พวกภัตตาคาร ก็จะเป็นการสั่งดิลิเวอรี่ถึงบ้านส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการไทยก็ปรับตัวได้ทัน ทั้งเรื่องของการแพ็กกิ้ง และกระบวนการขนส่ง มีความพร้อมก็สามารถปรับตัวได้เร็วมาก จึงไม่ได้กระทบอะไรมากในเรื่องของธุรกิจส่งออก”