อัพเดทล่าสุด “ถนนวงแหวนโคราช” คืบหน้าถึงไหนแล้ว

02 มิ.ย. 2564 | 16:25 น.
969

ทล.เดินหน้าก่อสร้างโครงการถนนวงแหวนรอบเมืองโคราช วงเงิน 1.2 หมื่นล้าน คืบหน้ากว่า 80% เล็งก่อสร้างเพิ่มอีก 2 ตอน ระยะทาง 48 กม. คาดแล้วเสร็จปี 66

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 290 สายถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา มีระยะทางทั้งหมด 110 กิโลเมตร วงเงิน 12,759,006,348 บาท คืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 80 ที่ผ่านมา ได้เปิดใช้เส้นทางวงแหวนด้านใต้บางส่วน ระยะทางรวม 29.22 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ตอน ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 ตอน ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ส่วนด้านทิศเหนือ ระยะทางรวม 48 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จตอนที่ 1 ที่เหลืออีก 2 ตอนอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 

 

อัพเดทล่าสุด “ถนนวงแหวนโคราช” คืบหน้าถึงไหนแล้ว

ทั้งนี้ปัจจุบันยังเหลือการก่อสร้างอีกประมาณ 30 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ทางหลวงหมายเลข 205 - ทางหลวงหมายเลข 26 จะเสร็จครบวง เหลืองานก่อสร้างประมาณร้อยละ 20 ขณะที่ผ่านมา ได้เปิดใช้เส้นทางวงแหวนด้านใต้ไปแล้ว ระยะทางรวม 29.22 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ตอน ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 ตอน ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ส่วนด้านทิศเหนือก่อสร้างแล้วเสร็จตอนที่ 1 ที่เหลืออีก 2 ตอนอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการปี 2566

 

อัพเดทล่าสุด “ถนนวงแหวนโคราช” คืบหน้าถึงไหนแล้ว

สำหรับโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา อยู่ในพื้นที่ อ.ปักธงชัย, อ.เมืองนครราชสีมา และ อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นถนนวงแหวนรอบเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีระยะทางยาวที่สุดในต่างจังหวัด ถือเป็นถนนวงแหวนที่มีระยะทางยาวเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย รองมาจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) เริ่มจากทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่หลักกิโลเมตรที่ 126 บริเวณตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน ไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ถนนราชสีมา-กบินทร์บุรี) บริเวณตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา  โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 7 ตอน ได้แก่ ทิศเหนือ 3 ตอน (ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร) และทิศใต้ 4 ตอน (ระยะทางประมาณ 62 กิโลเมตร) โดยตลอดแนวที่ถนนตัดผ่านนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและพื้นที่เกษตรกรรม ในปี 2549 ได้ฤกษ์ก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองขึ้น เนื่องจาก เป็นโครงการขนาดใหญ่จึงมีการแบ่งงานก่อสร้างออกเป็นช่วงๆ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะเป็นเส้นทางที่สามารถระบายการจราจรที่คับคั่งบริเวณตัวเมืองนครราชสีมา รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เส้นทางและประชาชนในพื้นที่โดยรอบ ส่งเสริมศักยภาพทางด้านการคมนาคม การค้า การขนส่ง โดยรวมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสามารถรองรับการขยายตัวของผังเมืองรวมในอนาคต 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง