thansettakij
ขยายผลจับแก๊งปุ๋ย-สารเคมี เถื่อน ยึดเพิ่มกว่า 1.5 ล้านบาท

ขยายผลจับแก๊งปุ๋ย-สารเคมี เถื่อน ยึดเพิ่มกว่า 1.5 ล้านบาท

13 ม.ค. 2568 | 05:08 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ม.ค. 2568 | 05:10 น.

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลุยปราบพ่อค้า-โรงงาน ผลิตปุ๋ย สารเคมี เมล็ดพันธุ์ เถื่อน ยึดเพิ่มกว่า 1.5 ล้านบาท ตามนโยบาย รัฐมนตรีเกษตร ฯ ทำสงครามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่ ศ.ดร.นฤมล  ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ซึ่งตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร และสารวัตรเกษตร ตรวจตราร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างเข้มงวด  หากพบผู้กระทำความผิดให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ล่าสุด  ( 9 ม.ค.68 )  สั่งการให้ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 โดยนายพนิต หมวกเพชร ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ สวพ.2

ขยายผลจับแก๊งปุ๋ย-สารเคมี เถื่อน ยึดเพิ่มกว่า 1.5 ล้านบาท

พร้อมด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร ร่วมกับกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 6 อำนวยการโดย พันเอกรวิรักษ์ สัตตบุศย์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจพญานาคราช พ.ต.อ.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 6, พ.ต.อ.อนิวรรตน์ สุรินทร์วงศ์ ผู้กำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 6 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดตรวจค้น/ตรวจสอบ นำโดย พ.ต.ท.อุเทน รวมสุข รอง ผกก.สืบสวน พ.ต.ท.อัศนันท์ ธนเลิศภูวเวทย์ รอง ผกก.สืบสวน ร.ต.อ.ศักดิ์สิทธิ์ ก้าวสินชัย รอง สว.กก.สืบสวน ด.ต.เพทาย ปลูกสร้าง จ.ส.ต.วรวุฒิ ตาศิริ จ.ส.ต.พิพัฒน์ สินปรีดี จ.ส.ต.ภูริวัชน์ พุ่มพวง และ ส.ต.ท.รชต สถาพร ผบ.หมู่ กก.สืบสวน 1 เข้าตรวจสอบร้านค้าแห่งหนึ่ง จ.พิษณุโลก พบการกระทำความผิด ดังนี้

1. ผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. ผลิตและขายปุ๋ยเคมี โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3. ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ขยายผลจับแก๊งปุ๋ย-สารเคมี เถื่อน ยึดเพิ่มกว่า 1.5 ล้านบาท

โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างและอายัด ดังนี้ วัตถุอันตราย จำนวน 10 รายการ, ปุ๋ยเคมี จำนวน 2 รายการ,  เมล็ดพันธุ์ควบคุม จำนวน 1 รายการ, อายัดปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และวัสดุอุปกรณ์การผลิตภายในร้านไว้ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 1,500,000 บาท  ซึ่งร้านค้า ดังกล่าวนั้น กระทำความผิด ดังนี้  1. ผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่มาตรา 23 วรรค 1 มีโทษตามมาตรา 73 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ขยายผลจับแก๊งปุ๋ย-สารเคมี เถื่อน ยึดเพิ่มกว่า 1.5 ล้านบาท

2. ผลิตและขายปุ๋ยเคมี โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 12 วรรค 1 มีโทษมาตรา 57 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ 3. ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 14 วรรค 1 มีโทษ มาตรา 56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จากนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ไปลงบันทึกรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานไว้ และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวย้ำว่า  การเลือกซื้อปุ๋ยให้ได้คุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เริ่มจากการตรวจฉลากตามข้อกำหนดของกฎหมาย ฉลากบรรจุปุ๋ยต้องเป็นภาษาไทย และต้องแสดงข้อความดังนี้ สูตรปุ๋ย ชื่อการค้า และประเภทของปุ๋ย เครื่องหมายการค้า ทะเบียนปุ๋ย ปริมาณธาตุอาหารรับรอง อินทรียวัตถุรับรอง หรือจุลินทรีย์รับรอง น้ำหนักสุทธิ หรือขนาดบรรจุของปุ๋ยตามระบบเมตริก ระบุที่ตั้งสำนักงาน และสถานที่ผลิตของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย

ขยายผลจับแก๊งปุ๋ย-สารเคมี เถื่อน ยึดเพิ่มกว่า 1.5 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้จะต้องมีบนหีบห่ออย่างชัดเจนและให้พิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ เม็ดปุ๋ยไม่จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง เม็ดปุ๋ยเคมีไม่มีลักษณะแตกยุ่ยมีฝุ่น หากเป็นปุ๋ยเคมีเหลว ไม่ตกตะกอน แยกชั้น ภาชนะบรรจุไม่บวม และเสียรูปทรง หากเป็นปุ๋ยชนิดเกล็ด ไม่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ไม่มีความชื้นสูง ข้อความในฉลากไม่เลอะเลือนอ่านไม่ออก และ ในส่วนร้านจำหน่ายปุ๋ยต้องมีใบอนุญาตขายปุ๋ย มีป้ายแสดงในที่เปิดเผย เก็บปุ๋ยแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน ไม่ปนกับสินค้าที่จะก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ และต้องไม่วางปุ๋ยโดยตรงกับพื้น เพื่อป้องกันความชื้น รักษาฉลาก หรือหีบห่อให้ครบถ้วน เก็บปุ๋ยในที่ไม่ถูกแสงแดด มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีอุปกรณ์ดับเพลิงในพื้นที่เก็บปุ๋ย และเป็นร้านที่ได้รับการรับรองการจำหน่ายปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ (Q-Shop) 

ขยายผลจับแก๊งปุ๋ย-สารเคมี เถื่อน ยึดเพิ่มกว่า 1.5 ล้านบาท
"รัฐมนตรีได้กำชับให้กรมวิชาการเกษตร ปราบปรามพวกมิจฉาชีพที่ผลิต จำหน่ายปัจจัยการผลิตปลอม ทั้งปุ๋ย วัตถุอันตราย หลอกขายเกษตรกรและได้มีมาตรการ เรื่อง การปราบปรามสินค้าเกษตรในพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น โรงคัดบรรจุทุเรียน โดยใช้มาตรการ 4 ไม่ คือ ไม่อ่อน ไม่หนอน ไม่สวมสิทธิ์ ไม่มีสี ไม่มีสาร โดยมอบเป็นนโยบายเร่งด่วนให้ดำเนินการทันที เพื่อไม่ให้เกษตรกรโดนเอาเปรียบ พร้อมกับสั่งการให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดหากเกษตรกร หรือผู้ที่ทราบเบาะแสการกระทำความผิดดังกล่าว ขอให้แจ้งได้ที่สายด่วน 1174 เพื่อจะได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตรเข้าไปดำเนินการตรวจสอบต่อไป" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้าย