ส่งออกอาหารไทยปี 68 คาดโต 5-7% จับตาความเสี่ยงนโยบายทรัมป์ 2.0

26 ธ.ค. 2567 | 14:38 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ธ.ค. 2567 | 14:38 น.

"วิศิษฐ์" เผย แนวโน้มส่งออกสำเร็จรูปไทยปี 68 ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าขยายตัว 5-7% โดยสินค้าราคาประหยัดแข่งขันได้ในตลาดโลกมีแนวโน้มเติบโตดี ขณะที่ไตรมาสแรกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ แม้ต้องจับตาการขึ้นภาษี ทรัมป์ 2.0

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า สำหรับภาพรวมตลาดสินค้าอาหารสำเร็จรูปในปี 2568 คงยังเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการตั้งเป้าเติบโต 5-7% ซึ่งเติบโตเป็นหมวดๆ เช่น ปีนี้เห็นชัดเจนว่าสินค้าหมวดที่เป็น หมวดคอมมูนิตี้หรือสินค้าที่ราคาไม่แพงแข่งขันราคาในตลาดโลกได้ เติบโตดีเพราะว่าทั่วโลก ยังประสบปัญหาเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นในกลุ่มที่ราคาไม่แพงแข่งขันได้มันก็ขายดีปีหน้า 

สำหรับไตรมาสแรกจากการประเมินตลาดส่งออกอาหารไทยก็ยังถือว่ามีการเติบโตต่อเนื่อง เพราะว่าในช่วง 3 เดือนแรก นโยบายใหม่ของสหรัฐฯ กำลังจัดตั้ง แต่หลังจาก 3 เดือนต้องมาดูว่านโยบายเป็นอย่างไร กระทบตลาดอาหารด้วยหรือไม่ 

ทั้งนี้ แต่เบื้องต้นก็คาดว่าไม่น่าจะกระทบมากเพราะว่าเป็นพื้นฐานของความจำเป็น แล้วก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอัตราเงินเฟ้อดังนั้น อุตวาหกรรมยังไปได้แต่ต้องติดตามใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ปรับตัวได้ทัน 

"สิ่งหนึ่งที่เราอาจจะมองเห็นเป็นผลกระทบในปีหน้า คือเรื่องความไม่ชัดเจนหรือ ได้ผลกระทบจากจีนที่ถูกสหรัฐฯขึ้นภาษี ซึ่งจีนต้องหาทางไปส่งสินค้าไปยังตลาดทั้งในอาเซียนและเข้ามาไทย หรือไปตลาดเดียวกันกับที่ประเทศไทย หรือประเทศในอาเซียนส่งออก ที่กลุ่มสินค้าใกล้เคียงกันหรือทดแทนกันได้ ซึ่งไทยต้องคอยรับมือด้วยเช่นกัน" นายวิศิษฐ์  กล่าว

อย่างไรก็ดี ปีหน้าโอกาสในการฟื้นตัวของหลายประเทศ อาจจะเริ่มคิดเห็นแนวโน้ม พอมีการฟื้นตัวแต่ละประเทศมักจะใช้เรื่องของการท่องเที่ยวเข้ามาเป็นตัวดึงดูดเพื่อสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งในเชิงการท่องเที่ยวจะประกอบไปด้วย เรื่องที่พักการเดินทาง อาหารก็เป็นส่วนสำคัญ ฉะนั้นการเตรียมพร้อมด้านอาหารของแต่ละประเทศ เพื่อรับการท่องเที่ยวก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เรามองว่าก็มีโอกาส

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมเรื่องความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงความแตกต่างที่มีจากสินค้าในประเทศไทย ที่ประเทศอื่นฯ อาจจะยังไม่เทียบไทยไม่ได้ ซึ่งถือว่าจุดแข็งของไทยที่ควรจะเดินต่อไป โดยเฉพาะอาหารที่มีแนวเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่ยังต้องแข็งเพราะเป็นพื้นฐาน 

"อีกทั้งยังต้องมีการเสริมเพิ่มขึ้นคืออาหารที่มีรสชาติความเป็นไทย หรือวัตถุดิบที่มาจากโลคอลคอนเทนต์ เป็นวัตถุดิบที่ประเทศอื่นอาจจะไม่ค่อยมี หรืออาจจะยังต้องเคยนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศไทย แต่เราจะเอามา แปรรูป เป็นอาหารรูปแบบอะไรมากขึ้นเพราะว่าความแตกต่างเหล่าวันนี้เป็นความแตกต่างที่ไม่ได้มาปัญหากันได้ง่ายๆในประเทศ" นายวิศิษฐ์ ระบุ

สำหรับทรัมป์ 2.0 ผู้ประกอบการกลุ่มอาหารก็มีความกังวลบ้าง เพราะว่ายังไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องของรายการสินค้าที่จะถูกเก็บภาษี หากทั้งโดนขึ้นภาษี 10% เหมือนกันหมด ในอนาคต อาจจะไม่น่ากังวล แต่หากขึ้นภาษีเฉพาะบางประเทศ ซึ่งเป็สประเทศได้รับการยกเว้นและส่งออกสินค้าเหมือนไทยก็ค่อนข้างกังวล คงจะต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป และเตรียมพร้อมในการเจรจา 

ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่โดดเด่นจะเติบโตต่อเนื่องที่เห็นชัดเจนเลยคืออาหารสัตว์เลี้ยง แม้กระทั้งในประเทศไทยหรือกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะประชาชนเริ่มให้ความสำคัญกับการมีเพื่อนเป็นสัตว์เลี้ยง หรือเป็นสมาชิกในครอบครัวของสัตว์เลี้ยงมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำ รวมถึฝประเทศที่พัฒนาเพราะว่าจะมีผู้สูงวัยค่อนข้างเยอะ

นอกจากนี้ ในหมวดอื่นๆสินค้าที่เป็นพื้นฐาน ก็อาจจะมีการเติบโดต เช่น สินค้าในการดำรงชีวิต หากแบ่งหมวดใหญ่ คือ หมวดคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว และถ้าแต่ละประเทศเริ่มกลับมามีการผลิตมากขึ้น หมวดของน้ำตาลก็จะกลับมาดีขึ้น ช่วงปีที่ผ่านค่อนข้างหดตัว เพราะว่าการผลิตแต่ละประเทศไม่ได้หวือหวา รวมถึงกลุ่มผลไม้ ซึ่งจะเป็นจุดเด่นโดยเเฉพาะผลไม้เมืองร้อน อาทิ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะพร้าว รวมถึงผลไม้แปรรูป ก็น่าจะกลับมาดี