การประชุมสุดยอดของผู้นำบริกส์ (BRICS) ที่จัดขึ้นในเมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม 2567 สร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญให้กับเวทีการเมืองและเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง
วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ใช้เวทีการประชุมครั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของบริกส์ในเศรษฐกิจโลก โดย ปูตินคาดการณ์ว่า กลุ่ม BRICS จะมีการเติบโตเฉลี่ยถึง 3.8% ในปี 2024-2025 ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.2-3.3% เเละยังกล่าวว่า แนวโน้มของบทบาทผู้นำกลุ่ม BRICS ในเศรษฐกิจโลกมีแต่จะแข็งแกร่งขึ้น จากการเติบโตของประชากร การขยายตัวของเมือง การสะสมทุน และการเติบโตของผลผลิต
สะท้อนจากการขยายขอบเขตอย่างเป็นทางการ หลังประกาศเพิ่ม 13 ประเทศพันธมิตรใหม่ หนึ่งในนั้นรวมไทย และสองชาติอาเซียนอย่างมาเลเซียและเวียดนาม โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างอิทธิพลและเพิ่มการเข้าถึงทั่วโลกให้กว้างขวางขึ้น
โดยการออก "ปฏิญญาคาซาน" (Kazan Declaration) ที่ถือเป็นแถลงการณ์ร่วมของผู้นำทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จสำคัญที่สะท้อนถึงบทบาทที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มบริกส์ในการผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเมืองในระดับโลก
สันติภาพในยูเครน
BRICS แสดงจุดยืนชัดเจนเกี่ยวกับข้อขัดแย้งในยูเครน โดยยืนยันว่ารัฐทุกแห่งควรปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติอย่างเคร่งครัด พร้อมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาผ่านการเจรจาและการทูต การเปิดใจเพื่อหาทางออกโดยสันติเป็นสิ่งที่บริกส์ยืนหยัดและให้ความสำคัญ
เราเน้นย้ำว่ารัฐทั้งหมดควรดำเนินการอย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติทั้งฉบับและความสัมพันธ์กัน เรารับทราบด้วยความชื่นชมต่อข้อเสนอที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและการบริการที่ดี ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสันติผ่านการสนทนาและการทูต
วิกฤตการณ์ในตะวันออกกลาง
สถานการณ์ในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ถูกหยิบยกมาพูดถึงอย่างจริงจัง ผู้นำ BRICS ประณามความรุนแรงและการเสียชีวิตของพลเรือนจากการโจมตีของอิสราเอล อีกทั้งเรียกร้องให้หยุดยั้งการกระทำทางทหารทันทีและเร่งฟื้นฟูสันติภาพในพื้นที่
เราขอแสดงความวิตกต่อสถานการณ์ในเลบานอนตอนใต้ เราขอประณามการสูญเสียชีวิตพลเรือนและความเสียหายมหาศาลต่อโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนอันเป็นผลจากการโจมตีของอิสราเอลในเขตที่อยู่อาศัยในเลบานอน และเรียกร้องให้ยุติการโจมตีโดยทันที
คว่ำบาตรจากชาติตะวันตก
การคว่ำบาตรฝ่ายเดียวจากชาติตะวันตกโดยเฉพาะต่อรัสเซียและอิหร่านถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อประชากรที่ยากจนที่สุด และกลุ่ม BRICS เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นธรรม
เรากังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลกระทบอันเลวร้ายของการใช้มาตรการบังคับฝ่ายเดียวที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการคว่ำบาตรที่ผิดกฎหมาย ต่อเศรษฐกิจโลก การค้าระหว่างประเทศ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การปฏิรูประบบการเงินโลก
การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก BRICS โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างระบบที่ยุติธรรมและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เป็นผู้นำในประเด็นนี้ เรียกร้องให้เกิดการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินอย่างเร่งด่วน
เราเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปฏิรูปการเงินระหว่างประเทศเพื่อรับมือกับความท้าทายทางการเงินระดับโลก รวมถึงการกำกับดูแลเศรษฐกิจระดับโลก เพื่อให้สถาปัตยกรรมการเงินระหว่างประเทศมีความครอบคลุมและยุติธรรมมากขึ้น
แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ของBRICS
รัสเซียเสนอจัดตั้ง "BRICS Grain Exchange" หรือแพลตฟอร์มการซื้อขายธัญพืช เพื่อให้กลุ่มสามารถแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรอย่างธัญพืช น้ำมัน และโลหะได้โดยตรง ลดการพึ่งพาผู้นำเข้ารายใหญ่นอกกลุ่ม
เรายินดีต้อนรับความคิดริเริ่มของฝ่ายรัสเซียเพื่อจัดตั้งแพลตฟอร์มการซื้อขายธัญพืช (สินค้าโภคภัณฑ์) ภายในกลุ่ม BRICS (BRICS Grain Exchange) และพัฒนาต่อไป รวมถึงขยายไปยังภาคการเกษตรอื่นๆ
ระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนของ BRICS
ปฏิญญาคาซานยกย่องความสำคัญของการชำระเงินข้ามพรมแดนที่โปร่งใสและปลอดภัย โดยเน้นการลดอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นของประเทศสมาชิกในการทำธุรกรรม
เราตระหนักถึงประโยชน์อย่างกว้างขวางของเครื่องมือการชำระเงินข้ามพรมแดนที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โปร่งใส ปลอดภัย และครอบคลุม ซึ่งสร้างขึ้นบนหลักการของการลดอุปสรรคทางการค้าและการเข้าถึงที่ไม่เลือกปฏิบัติให้เหลือน้อยที่สุด เรายินดีกับการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศกลุ่ม BRICS และคู่ค้าของพวกเขา
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน
โครงการริเริ่ม BRICS CLEAR ถูกกล่าวถึงเป็นทางเลือกในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระหนี้และการฝากเงินข้ามพรมแดนที่เป็นอิสระ สร้างโอกาสให้กลุ่มบริกส์สามารถพัฒนาตลาดการเงินของตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโครงสร้างเดิม
เราตกลงที่จะหารือและศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานการชำระและการฝากข้ามพรมแดนอิสระ BRICS Clear ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มเพื่อเสริมโครงสร้างพื้นฐานตลาดการเงินที่มีอยู่ รวมทั้งศักยภาพการประกันภัยต่ออิสระของ BRICS รวมถึง BRICS
การป้องกันการระบาดใหญ่ในอนาคต
BRICS ยังให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต สนับสนุนการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าและศูนย์วิจัยวัคซีนที่สามารถรับมือกับโรคติดต่อในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมทางการเงิน
BRICS ต้อนรับกลไกความร่วมมือระหว่างธนาคาร (ICM) ของกลุ่ม BRICS ที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกและขยายแนวทางและแนวทางทางการเงินที่สร้างสรรค์สำหรับโครงการและโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการค้นหากลไกการจัดหาเงินทุนที่ยอมรับได้ในท้องถิ่น
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
BRICS เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการรักษาโครงข่ายความปลอดภัยทางการเงินระดับโลกที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพโดยมีกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่มีโควตาและมีทรัพยากรเพียงพอเป็นศูนย์กลาง
เกี่ยวกับ G20
BRICS ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานอย่างต่อเนื่องและสร้างสรรค์ของกลุ่ม G20 โดยยึดหลักฉันทามติที่เน้นผลลัพธ์ที่เน้นผลลัพธ์
สมาชิก BRICS
บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ (เข้าร่วมกลุ่มในปี 2554) จากนั้นอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้เข้าเป็นสมาชิกเต็มตัวเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2567
สำหรับการประชุมสุดยอดที่เมืองคาซานนับเป็นครั้งแรกที่สมาชิกใหม่ของกลุ่มได้เข้าร่วมการประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ร่วมด้วยผู้แทนจากประเทศอื่น ๆ อีกกว่า 30 ประเทศ