‘วงการบันเทิง’ สะเทือน เมื่อ ‘ดารา-คนดัง’ ตกเป็นเครื่องมือหลอกลงทุนขายตรง

10 ต.ค. 2567 | 15:59 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ต.ค. 2567 | 19:38 น.

วงการบันเทิงกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่น่าตกใจ เมื่อมีการนำชื่อเสียงไปใช้ ขุมพลังผู้ทางอิทธิพล เมื่อ ‘ดารา-คนดัง’ ตกเป็นเครื่องมือหลอกลงทุนขายตรง อะไรคือแรงกระเพื่อมหลัก ที่นี่มีคำตอบ

 “ผู้ทรงอิทธิพล” เป็นแรงกระเพื่อมไปสู่ “ความน่าเชื่อถือ” ในหนึ่งบทบาทของการเป็นผู้ทรงอิทธิพลหนีไม่พ้น ดารา นักแสดง คนดัง เซเลบริตี้

ในแวดวงของการตลาด ธุรกิจ มีกลยุทธ์ที่ใช้เป็นเทคนิคการตลาดที่นำคนมีชื่อเสียงในสังคมมาส่งเสริมโปรดักซ์หรือบริการต่าง ๆ มาอย่างยาวนานไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของ “Presenter Marketing” รวมถึง “Influencer Marketing”

ถอดรหัสแรงกระเพื่อมทรงอิทธิพลของ “พรีเซ็นเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์”

หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า “พรีเซ็นเตอร์” และ “อินฟลูเอนเซอร์” กับการที่เหล่าคนดังที่เราชื่นชอบมีหน้าของพวกเขาอยู่บนสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีมาอย่างยาวนาน และยังประสบความสำเร็จต่อเนื่อง หากมีคำถามว่าทำไมกลยุทธ์เหล่านี้ถึงประสบความสำเร็จได้?

‘วงการบันเทิง’ สะเทือน เมื่อ ‘ดารา-คนดัง’ ตกเป็นเครื่องมือหลอกลงทุนขายตรง

ตำตอบคือ “ความน่าเชื่อถือ” ผู้บริโภคหลายรายที่ตัดสินใจซื้อเพราะ “พรีเซ็นเตอร์” เนื่องจากชื่นชอบและเชื่อมั่นว่าสิ่งที่นำเสนอผ่านบุคคลนั้นผ่านการรับรองมาแล้ว ยิ่งในยุคปัจจุบันที่โซเชียลมีบทบาทมากพอที่จะให้ “การหลงเชื่อ” เกินขึ้นได้

พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียและการใช้เวลาท่องโลกออนไลน์ของคนไทยที่มีอัตราสูงในอันดับต้นๆ ของโลก โดยจากข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) พบว่าประชากรไทยมีการอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ประมาณ 89.5% และมีช่องทางโซเชียลมีเดียมากถึง 50 ล้านคน คิดเป็น 71.5% ของประชากรทั้งหมด

อย่างไรก็ดี การเป็นผู้ทรงอิทธิพลในสื่อนั้น ทำให้อาชีพอินฟลูเอนเซอร์ในไทยโตพุ่งฉุดไม่อยู่ ข้อมูลจาก “สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)” รายงานถึงสถานการณ์ “Influencer” ในภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 ปี 2566 โดยระบุว่าเป็นหนึ่งใน “สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ”นั้น ประเทศไทยมีจำนวน Influencer กว่า 2 ล้านคน เป็นอันดับสองในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รองจากอินโดนีเซีย

‘วงการบันเทิง’ สะเทือน เมื่อ ‘ดารา-คนดัง’ ตกเป็นเครื่องมือหลอกลงทุนขายตรง

อาชีพ Influencer สามารถสร้างรายได้สูงถึง 800 - 700,000 บาทต่อโพสต์ ทำให้เป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่ การแข่งขันในวงการ Influencer นำไปสู่การสร้างเนื้อหาที่เน้นความเป็นกระแส โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อสังคม

สภาองค์กรของผู้บริโภคเตือน ดารา-คนดังใช้ชื่อเสียงในทางที่เหมาะสม

จากกรณีข่าวดัง The iCon Group อาณาจักร “บอสพอล” กรณีมีคนดังเอี่ยวด้วย ข้อมูลจากสภาองค์กรของผู้บริโภคดาราในหลายประเทศทั่วโลกมีบทบาทสำคัญในการ คุ้มครองผู้บริโภค โดยใช้ความมีชื่อเสียงและอิทธิพลของตนเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค

จากการเป็นกระบอกเสียงรณรงค์ต่างๆ ไปจนถึงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ดาราเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทั่วโลก

เจสสิกา อัลบา นักแสดงสาวชื่อดังที่ก่อตั้งบริษัท The Honest Company ซึ่งผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและครอบครัว โดยเน้นความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคม

เอ็มมา วัตสัน นักแสดงที่เป็นที่รู้จักจากการสนับสนุนแฟชั่นที่ยั่งยืนและเป็นธรรม

‘วงการบันเทิง’ สะเทือน เมื่อ ‘ดารา-คนดัง’ ตกเป็นเครื่องมือหลอกลงทุนขายตรง

การส่งเสริมให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบ และป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคในรูปแบบต่างๆ บทบาทเหล่านี้มีหลายลักษณะ เช่น

การเป็นกระบอกเสียงในการรณรงค์ ดารามักจะเข้าร่วมใน แคมเปญการรณรงค์ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในหลายประเด็น เช่น การส่งเสริมความโปร่งใสในผลิตภัณฑ์ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย หรือการป้องกันการหลอกลวงทางการโฆษณา ตัวอย่างเช่น:

การเรียกร้องความรับผิดชอบของธุรกิจ ดาราหลายคนใช้แพลตฟอร์มของตนเองในการเรียกร้องให้ธุรกิจต่างๆ รับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการ ที่อาจเป็นอันตรายหรือทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ เช่น การเรียกร้องให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มลดการใช้สารเติมแต่งที่เป็นอันตราย หรือให้ธุรกิจแฟชั่นใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและแรงงานที่เป็นธรรม

การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีจริยธรรม ดาราหลายคนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีจริยธรรม โดยใช้ชื่อเสียงของตนเองในการแนะนำหรือเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสุขภาพ และมีความโปร่งใสต่อผู้บริโภค เช่น สินค้าประเภทออร์แกนิก หรือสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากแหล่งที่ยั่งยืน

การเปิดเผยข้อมูลสินค้าที่เป็นอันตราย ดาราในบางประเทศยังทำหน้าที่เป็น ผู้แจ้งเบาะแส โดยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายหรือหลอกลวงผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การเปิดเผยผลกระทบทางลบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจไม่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือการใช้อิทธิพลของตนเองในการส่งเสริมให้ผู้บริโภคตรวจสอบข้อมูลก่อนซื้อผลิตภัณฑ์