เอกชนห่วง "ค่าเงินบาทผันผวน" ส่งออกเสี่ยงขาดทุน แนะ 3 ข้อเตรียมรับมือ

03 ต.ค. 2567 | 16:30 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ต.ค. 2567 | 16:41 น.

ปธ.สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ ห่วงค่าเงินบาทแข็งค่า เสี่ยงขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แนะผู้ประกอบการทำประกันความเสี่ยง เตรียมเงินสำรอง จับตาสถานการณ์ตะวันออกกลางกระทบราคาน้ำมัน ต้นทุนส่งออก

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากสถานการณ์ค่าเงินบาทผันผวนและมีการแข็งค่าเร็วหากดูจากข้อมูลย้อนหลัง 3 เดือนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นถึง 12% ซึ่งถ้าหากเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าถึง 6% ในขณะที่เวียดนามแข็งค่า 1.4% จีนแข็งค่า 1.1% อินโดนีเซีย 2.7% 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยในช่วง ที่ผ่านมาสินค้าได้ส่งมอบไปเเล้วถ้าหากไม่ได้ทำเรื่องของการประกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน มีแนวโน้ม ที่จะขาดทุน แต่ถ้ามีการทำประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้แล้วก็อาจจะลดความสูญเสียหรือขาดทุนน้อยลง 

 

เอกชนห่วง \"ค่าเงินบาทผันผวน\" ส่งออกเสี่ยงขาดทุน แนะ 3 ข้อเตรียมรับมือ

 

ขณะเดียวกัน ในส่วนที่กำลังจะมีการเจรจาใหม่ เพื่อส่งมอบให้ช่วงต้นปีหน้า ผู้ประกอบการไทย อาจจะสูญเสียเรื่องของขีดความสามารถในการแข่งขันได้ เพราะว่าราคาไม่นิ่ง  

"ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ การขาดทุน เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก็จะมีผลต่อเรื่องของสภาพคล่องทางธุรกิจ โดยเฉพาะสินค้าภาคการเกษตร 

ซึ่ง สภาผู้ส่งออกก็เป็นห่วง และมีความกังวลใจอย่างมาก เกี่ยวกับความอ่อนไหวด้านอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นจึงอยากขอร้องให้ทางผู้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พยามรักษาสถียรภาพค่าเงินบาทของไทยไม่ให้แข็งค่าไปมากกว่านี้" นายชัญชาญ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการก็จะต้องมีการเตรียมตัวรับมือ ดังต่อไปนี้ 

1. เงินสำรองเพื่อให้สามรรถดำเนินธุรกิจต่อไปได้  

2. แนะนำให้ทำประกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน 

3. สินค้าที่มีการส่งออก โดยเฉพาะส่งออกไปจีน แนะนำใช้เงินหยวนแทนการซื้อขายดอลลาร์ เพราะว่าการส่งออกของประเทศไทย ไปยังประเทศจีน มีสัดส่วนประมาณ 12% ในขณะที่ การใช้ ค่าเงินหยวนสำหรับการซื้อขายยังมีเพียงแค่ 1- 2% เท่านั้น จึงอยากชื่นชวนให้ผู้ส่งออกที่ทำธุรกรรมระหว่างจีนให้พิจารณาเรื่องการใช้ เงินหยวน 

"สำหรับปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้แล้วก็ต้นปีหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญเรื่องของ การลดต้นทุน และการพิจารณาตลาดใกล้ เช่น ตลาดอาเซียน เพราะตลาดยังไปได้อีก อาทิ เวียดนาม ที่เรามีการเติบโตถึง 3% ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ประเทศมาเลเซีย ส่งออกเติบโตขึ้นถึง 4% ดังนั้นการค้าขายขในภูมิภาค น่าจะเหมาะสมในช่วงระยะเวลาที่เกิดการผันผวนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สุด ในขณะนี้" นายชัยชาญ กล่าว

ขณะที่ สงครามการค้าตะวันออกกลาง ก็มีแนวโน้มที่จะขยายตัวและเกิดความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ สำหรับการค้าขายของในตะวันออกกลางจะมีความเชื่อมโยงทางด้านการตลาดการส่งออก ดังนั้น เราจะต้องพิจารณาถึง ผลกระทบทั้งภูมิภาคในตอนกลาง น่าเสียดาย ที่ เกิดเรื่องของสงครามเกิดขึ้น เพราะว่าตะวันออกกลาง เป็นประเทศกลุ่มยุทธศาสตร์หลักของประเทศไทย การส่งออกในช่วงปีที่ผ่านมาของตะวันออกกลางก็สูงมากถึง 4% โดยเฉพาะอย่าง ตลาดซาอุดีอาระเบียเติบโตถึง 32% และในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลความอ่อนไหวของราคาน้ำมัน เพราะว่าภูมิภาคตะวันออกกลาง ก็เป็นแหล่งผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุด ซึ่งราคาน้ำมันก็จะส่งผลกระทบโดยตรงกับค่าพลังงาน ซึ่งค่าพลังงานก็มีผลต่อเรื่องของต้นทุนทั้งด้านการส่งออก ซึ่งตอนนี้ผู้ส่งออกก็แบกรับภาระต้นทุนต่างๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตาม ก็หวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะไม่รุนแรงและยืดเยื้อ ซึ่งผู้ประกอบการไทยจะต้องมีการปรับตัว ทั้งติดตามการส่งมอบสินค้า เติมสภาพคล่อง รองรับไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่กำลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต