ชู “บางระจันโมเดล” ลุยป้อง ศก.ไทย 7 แสนล้าน หลังแพลตฟอร์มต่างชาติกุมตลาด

28 ก.ย. 2567 | 12:20 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ย. 2567 | 12:36 น.

“อลงกรณ์” ชู “บางระจันโมเดล” ปกป้องเศรษฐกิจไทย 7 แสนล้าน หลังถูกแพลตฟอร์มต่างชาติครอบครองตลาดเกือบ100% ผนึกกำลัง 5 องค์กรช่วยเอสเอ็มอีไทยอยู่รอด ย้ำต้องมีการควบคุมมาตรฐานสินค้า การเสียภาษีสินค้า ภาษีนิติบุคคล และมาตรการปกป้องคุ้มครองตามข้อตกลง WTO

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์( FKII Thailand ) รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย (28 ก.ย. 256) ว่า ตลาดอี-คอมเมิร์ซของไทยมีการซื้อขายผ่านช่องทางอี-คอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ ณ เวลานี้มากกว่า 7 แสนล้านบาทต่อปี

ชู “บางระจันโมเดล” ลุยป้อง ศก.ไทย 7 แสนล้าน หลังแพลตฟอร์มต่างชาติกุมตลาด

อย่างไรก็ดี ตลาดได้ถูกครอบครองโดยแพลตฟอร์มต่างชาติแบบครบวงจรเกือบ 100% จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ระบบซัพพลายเชน,โรงงานผลิตสินค้า ,ระบบอี-มาร์เก็ตเพลส, ระบบขนส่งโลจิสติกส์ จนถึงระบบการชำระเงิน

สินค้าส่วนใหญ่ที่นำมาจำหน่ายมาจากต่างประเทศ ส่งผลกระทบทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งดั้งเดิมของไทย ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจขนส่งและบริการส่งถึงลูกค้าได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และเสียเปรียบดุลการค้ามากขึ้น

แนวทางหนึ่งในการแก้ไขสถานการณ์ที่เข้าขั้นวิกฤตดังกล่าวคือ การสนับสนุนบริษัทอี-คอมเมิร์ซไทย และเอสเอ็มอีไทย โดยสร้างระบบนิเวศการค้า(Eco-System)ในการซื้อขายในประเทศไทย รวมทั้งผนึกความร่วมมือกันต่อสู้ที่เรียกว่า “บางระจันโมเดล” และขอให้ภาครัฐกำกับดูแลการค้าออนไลน์ข้ามชาติให้มีความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการภายในด้วย

ชู “บางระจันโมเดล” ลุยป้อง ศก.ไทย 7 แสนล้าน หลังแพลตฟอร์มต่างชาติกุมตลาด

ทั้งนี้ต้องมีการควบคุมมาตรฐานสินค้าต่างชาติ และการเสียภาษีสินค้า ภาษีนิติบุคคล รวมทั้งการใช้มาตรการปกป้องคุ้มครองผู้ประกอบการไทยตามกฎกติกาการค้า ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)

นอกจากนี้ขอให้ยกหารือประเด็นการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนรูปแบบใหม่ F2C(Factory to Customer) กรณีเตมู (TEMU) ภายใต้กลไกข้อตกลงทวิภาคีไทย-จีน และพหุภาคี เอฟทีเออาเซียน-จีน ความตกลง DEFA(Digital Economy Framework Agreement)และAEC (ASEAN Economic Community) บนพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีระหว่างไทย-จีนและความร่วมมือในกรอบอาเซียน

ล่าสุดสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์ร่วมกับสถาบันทิวา(TVA)ได้จัดงาน “รวมพลังไทย : สร้างอาชีพ สร้างชาติ” (Thai Power : Building Careers, Building the Nation) SME - E-COMMERCE COLLABORATION โดยได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ 5 องค์กร ได้แก่

ชู “บางระจันโมเดล” ลุยป้อง ศก.ไทย 7 แสนล้าน หลังแพลตฟอร์มต่างชาติกุมตลาด

สถาบันทิวา (TVA), สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ISMED),สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี), บริษัท โกชิปป์ จำกัด และ บริษัท นีโอเวนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด เพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาอี-คอมเมิร์ซไทยและเอสเอ็มอีไทย

รวมถึงได้จัดเวทีสัมมนาเพื่อผนึกความร่วมมือของ 5 องค์กร โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ประธาน FKII Thailand และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวเปิดงานและบรรยายหัวข้อ “สถานการณ์ตลาดและผลกระทบของอีคอมเมิร์ซและเอสเอ็มอีไทยกับแนวทางแก้ปัญหา

ชู “บางระจันโมเดล” ลุยป้อง ศก.ไทย 7 แสนล้าน หลังแพลตฟอร์มต่างชาติกุมตลาด

ในงานยังมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 องค์กรดังกล่าว เพื่อจัดทำกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเอสเอ็มอีกับผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซไทยด้วย