เช็กเงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33 และ มาตรา 39 เมื่ออายุครบ 55 ปี

24 พ.ค. 2567 | 12:37 น.
อัปเดตล่าสุด :24 พ.ค. 2567 | 12:50 น.
39.8 k

เช็กเงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33 และ มาตรา 39 บำเหน็จ หรือ บำนาญ เมื่ออายุครบ 55 ปี ตรวจสอบทางออนไลน์ผ่าน www.sso.go.th

เช็กเงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33 และ มาตรา 39 บำเหน็จ หรือ บำนาญ  ประกันสังคมจ่ายเงินชราภาพ เมื่ออายุครบ 55 ปี

เงินบำนาญชราภาพคืออะไร

  • เงินบำนาญชราภาพคือ เงินกรณีชราภาพที่ประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 รายเดือนตลอดชีวิต

เงื่อนไขการรับเงินชราภาพ

  • กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ได้รับเป็นบำเหน็จชราภาพ แต่หาก ส่งเงินสมทบ 180 เดือนขึ้นไป (ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม) ได้รับเป็นบำนาญชราภาพ

 

เงินชราภาพผู้ประกันตนจะมีสิทธิในการขอรับประโยชน์ทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นไปตาม หลักเกณฑ์เงื่อนไข ดังนี้

1) มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

2) ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

เช็กเงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33 และ มาตรา 39 ผ่านทางออนไลน์

  • ขั้นตอนแรก เข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th
  • คลิกไปที่ผู้ประกันตน
  • กรอกเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก
  • กรอกรหัสผ่าน
  • คลิก
  • ไปที่หัวข้อ การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพมาตรา 33/39

กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ

ตัวอย่าง  ผู้ประกันตนได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท คำนวณ ดังนี้

  • ถูกหักเงินสมทบ 5% ของค่าจ้าง        (5 x 10,000) / 100  = 500 บาท
  • กรณีว่างงาน 0.5%  (0.5 x 10,000) / 100  =  50 บาท  
  • กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 3%   (3 x 10,000) / 100  = 300 บาท
  • ผู้ประกันตนอายุ 2 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 2 เดือน     
  •  ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 2 = 600.00 บาท 
  •  การคำนวณเงินเดือนของผู้ประกันตน ทางสำนักงานประกันสังคมจะทำการคำนวณจากเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

หมายเหตุ : ข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลที่มีในระบบ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะไม่รวมยอดที่อยู่ระหว่างการบันทึก เงินสมทบค้างชำระหรือข้อขัดข้องอื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา.

 

ที่มา: ประกันสังคม