สนค. เผย เงินเฟ้อเดือนก.พ. -0.77% ยันเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด

05 มี.ค. 2567 | 11:37 น.
อัปเดตล่าสุด :05 มี.ค. 2567 | 14:52 น.

สนค. เผย เดือนกุมภาพันธ์ปี 67 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 0.77% ต่อเนื่อง 5 เดือน คาดแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคม มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ยืนยันเศรษฐกิจยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 107.22 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเท่ากับ 108.05 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง 0.77%  ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

เงินเฟ้อเดือนก.พ. 2567 ติดลบตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด ทั้งเนื้อสัตว์ และผักสด  จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ประกอบกับฐานราคาเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ใช้คำนวนณเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง สำหรับสินค้าและบริการอื่นๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ

อย่างไรก็ตามหากดูจากอัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ในเดือนมกราคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยลดลง 1.11% และยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ที่ระดับต่ำอันดับ 4 จาก 135 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น 0.43% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้น 0.52%

ทั้งนี้ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2567 ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปัจจัยสนันสนุนค่าครองชีพจากทางภาครัฐ นวมถึงการตรึงราคาค่าไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวระดับต่ำต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ได้แก่

  1. สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
  2. เงินบาทที่มรแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลให้การนำเข้าสินค้ามีรรคาสูงขึ้น
  3. สภาพอากาศที่มีความแปรปรวนในช่วงท้ายของเอลนีโญ
  4. การขยายตัวต่อเนื่องของภาคท่องเที่ยว ส่งผลให้ราคาสินค้สภาคท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น

สนค.คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ (-0.3) – 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 0.7) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 54.2 จากระดับ 54.5 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีควาทเชื่อมั่นผู่บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ขณะที่ดัชนีควาทเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต  (3 เดือนข้างหน้า) ปรับตัวลดลง เพราะดัชนีฯผู้บริโภคโดยรวมยังอยู่ในความเชื่อมั่นคาดว่ามาจาก การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคธุรกิจท่องเที่ยว การขยายตัวของภาคส่งออก ราคาสินค้าเกษตรบางตัวปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ราคาน่ำมันเชื้อเพลิงบางชนิดปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีเงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่อง 5 เดือน เป็นสัญญาณสะท้อนว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืดไหมนั้น ตนมองว่ายังไม่เข้าสู่สภาวะเงินฝืด อย่างไรก็ตามต้องดูรายละเอียดราคาสินค้า การขยายตัวเศรษรกิจที่อยู่ระดับต่ำ รวมถึงอัตราว่างงาน เพราะฉะนั้นต้องดูหลาย ๆ เรื่องควบคู่กัน