ปี 66 จัดตั้งธุรกิจใหม่ พุ่ง 8.5 หมื่นราย ต่างชาติลงทุนไทย 1.3 แสนล้านบาท 

23 ม.ค. 2567 | 16:26 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ม.ค. 2567 | 21:22 น.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รายงาน ปี 66 นักลงทุนไทย จัดตั้งธุรกิจใหม่สูงสุดในรอบ 10 ทะลุ 8.5 หมื่นราย ขณะที่นักลงทุนต่างชาติลงทุนในไทย ราว 1.3 แสนล้านบาท ส่วนการเลิกกิจการอยู่ในเกณฑ์ปกติ

KEY

POINTS

  • นักลงทุนไทยจัดตั้งธุรกิจใหม่ ทะลุ 8.5 หมื่นราย สูงสุดในรอบ 10 ปีทุนจดทะเบียนรวมกว่า 5.6 แสนล้านบาท
  • ชาวต่างชาติหอบเงินลงทุนเข้าไทย ภายใต้ พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ แตะ 1.3 แสนล้านบาท ญี่ปุ่นครองแชมป์อันดับ 1 ทั้งจำนวนนักลงทุนและเงินที่นำเข้ามาลงทุน
  • การเลิกกิจการคิดเป็น 27.41% ของการจัดตั้งธุรกิจ น้อยกว่าปีที่ผ่านมา และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2565 แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การเลิกประกอบกิจการยังคงเป็นปกติ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า นำข้อมูลจากคลังข้อมูลธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย DBD DataWarehouse+ มาทำการวิเคราะห์และประมวลผลภาพรวมการลงทุนของคนไทยและชาวต่างชาติตลอดปี ออกเป็นรายงาน ‘ที่สุดแห่งปี 2566 ด้านการลงทุนในประเทศไทย’ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

ที่สุดแห่งการจัดตั้งธุรกิจภาพรวมในประเทศไทย

  • ปี 2566 ยอดการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่สูงสุดในรอบ 10 (ปี 2557 - 2566)
  • มีจำนวน 85,300 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 8,812 ราย (+12%)
  • มูลค่าทุนจดทะเบียน 562,469.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 132,640.83 ล้านบาท (+31%)

ธุรกิจที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 

  1. ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 6,524 ราย ทุน 13,236.72 ล้านบาท
  2. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6,393 ราย ทุน 29,289.12 ล้านบาท
  3. ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 4,001 ราย ทุน 8,046.23 ล้านบาท 
  4. ธุรกิจให้คำปรึกษา 2,046 ราย ทุน 4,034.23 ล้านบาท
  5. ธุรกิจตัวแทนนายหน้า 1,943 ราย ทุน 6,413.98 ล้านบาท
  6. ธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต 1,713 ราย ทุน 2,270.84 ล้านบาท
  7. ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า 1,643 ราย ทุน 2,693.93 ล้านบาท
  8. ธุรกิจขายปลีกสินค้า 1,484 ราย ทุน 2,009.29 ล้านบาท
  9. ธุรกิจจัดนำเที่ยว 1,419 ราย ทุน 2,702.58 ล้านบาท
  10. ธุรกิจขายส่งสินค้าทั่วไป 1,084 ราย ทุน 3,719.92 ล้านบาท

ที่สุดแห่งการจัดตั้งธุรกิจในกรุงเทพมหานคร / ภูมิภาค / จังหวัด และธุรกิจที่ได้รับความสนใจ

การจัดตั้งธุรกิจทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 85,300 ราย

  • ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 25,120 ราย (29%)
  • ภูมิภาค 60,180 ราย (71%)

หากพิจารณาตามเขตภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 ภาค

  1. ภาคกลาง 17,581 ราย (20.61%) 
  2. ภาคใต้ 11,675 ราย (13.69%) 
  3. ภาคตะวันออก 10,948 ราย (12.83%) 
  4. ภาคตะะวันออกเฉียงเหนือ 8,942 ราย (10.48%) 
  5. ภาคเหนือ 8,604 ราย (10.09%) 
  6. ภาคตะวันตก 2,430 ราย (2.85%) 

พื้นที่การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในกรุงเทพมหานคร ปี 2566 เขตที่มีการจัดตั้งนิติบุคคลสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 

  1. เขตวัฒนา 1,632 ราย 
  2. เขตห้วยขวาง 1,277 ราย
  3. เขตคลองสามวา 993 ราย 

โดย 3 อันดับที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบกับปี 2565 ได้แก่ 

  1. เขตธนบุรี เติบโต 51.61% 
  2. เขตห้วยขวาง เติบโต 51.48%
  3. เขตพระโขนง เติบโต 32.01% 

ทั้งนี้ 5 ธุรกิจที่น่าสนใจและมีการอัตราการเติบโตของการจัดตั้งสูงสุด 5 อันดับแรกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ 

  1. ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 
  2. ธุรกิจผับบาร์สถานบันเทิง 
  3. ธุรกิจขนมอบและเบเกอรี่ 
  4. ธุรกิจเกม ของเล่น รวมถึงโมเดลสะสม
  5. ธุรกิจจัดหางาน

พื้นที่การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในเขตภูมิภาค ปี 2566 จังหวัดที่มีการจัดตั้งนิติบุคคลสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 

  1. จ.ชลบุรี 7,370 ราย 
  2. จ.ภูเก็ต 4,983 ราย
  3. จ.นนทบุรี 4,583 ราย 

 

โดยจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตของจำนวนการจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 

  1. จ.ภูเก็ต เติบโต 40.82%
  2. จ.สุราษฎร์ธานี เติบโต 32.16%
  3. จ.พังงา เติบโต 21.99% 

โดย 3 จังหวัดดังกล่าวอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้งด้านการท่องเที่ยว การลงทุน และจังหวัดที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร โดยธุรกิจที่น่าสนใจและมีอัตราการเติบโตของการจัดตั้งสูงสุด 5 อันดับแรกในเขตภูมิภาค ได้แก่ 

  1. ธุรกิจขายส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์จักรยานยนต์ 
  2. ธุรกิจเช่าจักรยานยนต์ 
  3. ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 
  4. ธุรกิจขนส่งทางน้ำ
  5. ธุรกิจการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยี

การเลิกประกอบธุรกิจ ปี 2566

ปี 2566 มีจำนวนธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการทั้งสิ้น 23,380 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 1,500 ราย (7%) มูลค่าทุนเลิกประกอบกิจการ 160,056.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 33,008.08 ล้านบาท (26%) (ปี 2565 เลิกประกอบธุรกิจ 21,880 ราย ทุน 127,048.39 ล้านบาท)

ประเภทธุรกิจที่มีการเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 

  1. ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป  2,166 ราย (9.26%) 
  2. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,146 ราย (4.90%) 
  3. ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 699 ราย (2.99%)

 

ที่สุดของการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจและคงอยู่ปัจจุบัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รับจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล ตั้งแต่ปี 2466 เป็นต้นมา รวมกว่า 101 ปี มีจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจทั้งสิ้น 1,877,236 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 29.41 ล้านล้านบาท โดยปัจจุบันมีนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ 890,317 ราย  

 

บทสรุปที่สุดของการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจและเลิกประกอบกิจการ ปี 2566

การเลิกกิจการคิดเป็น 27.41% ของการจัดตั้งธุรกิจ น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 28.61% และอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง (2561-2565) ซึ่งอยู่ที่ 29.75% ประกอบกับจำนวนการเลิกประกอบกิจการในปี 2566 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2565 แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การเลิกประกอบกิจการยังคงเป็นปกติ

 

ที่สุดแห่งปี 2566 ด้านการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

ปี 2566 อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 667 ราย เงินลงทุนรวม 127,532 ล้านบาท จ้างงานคนไทยรวม 6,845 คน 

 

10 ประเทศที่เป็นที่สุดของการลงทุนในประเทศไทย

  1. ญี่ปุ่น 137 ราย (20.5 %) เงินลงทุนรวม 32,148 ล้านบาท (25.2%)
  2. สิงคโปร์ 102 ราย (15.3%) ทุน 25,405 ล้านบาท (19.9%) 
  3. สหรัฐอเมริกา 101 ราย (15.1%) ทุน 4,291 ล้านบาท (3.4%) 
  4. จีน 59 ราย (8.9%) ทุน 16,059 ล้านบาท (12.6%) 
  5. ฮ่องกง 34 ราย (5.1%) ทุน 17,325 ล้านบาท (13.6%) 
  6. เยอรมนี  26 ราย (3.9%) ทุน 6,087 ล้านบาท (4.8%) 
  7. สวิตเซอร์แลนด์ 23 ราย (3.5%) ทุน 2,960 ล้านบาท (2.3%) 
  8. เนเธอร์แลนด์ 20 ราย (3.0%) 911 ล้านบาท (0.7%) 
  9. สหราชอาณาจักร 19 ราย (2.9%) ทุน 433 ล้านบาท (0.3%)
  10. ไต้หวัน 18 ราย (2.7%) ทุน 1,125 ล้านบาท (0.9%) 

ประเภทธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย

  1. บริการรับจ้างผลิต 136 ราย (20.4%) ทุน 42,644 ล้านบาท (33.4%)
  2. บริการด้านคอมพิวเตอร์ 68 ราย (10.2%) ทุน 1,434 ล้านบาท (1.1%)
  3. บริการให้คำปรึกษา 62 ราย (9.3%) ทุน 7,803 ล้านบาท (6.1%)
  4. ค้าส่งสินค้า 58 ราย (8.7%) ทุน 7,873 ล้านบาท (6.2%)
  5. บริการทางวิศวกรรม 46 ราย (6.9%) ทุน 2,756 ล้านบาท (2.2%)
  6. บริการให้เช่า 45 ราย (6.8%) ทุน 16,096 ล้านบาท (12.6%)
  7. ค้าปลีกสินค้า 41 ราย (6.2%) ทุน 1,635 ล้านบาท (1.3%)
  8. บริการทางการเงิน 23 ราย (3.5%) ทุน 6,805 ล้านบาท (5.3%)
  9. คู่สัญญาเอกชน 22 ราย (3.3%) ทุน 689 ล้านบาท (0.5%)
  10. นายหน้า 20 ราย (3.0%) ทุน 1,697 ล้านบาท (1.3%)

ประเทศที่เป็นที่สุดของการลงทุนในพื้นที่ EEC ของประเทศไทย

ปี 2566 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 134 ราย (20%) ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย มูลค่าการลงทุน จำนวน 38,613 ล้านบาท (30%) ของเงินลงทุนทั้งหมด 

  1. ญี่ปุ่น 44 ราย (32.8 %) ทุน 7,053 ล้านบาท (18.3%)
  2. จีน 30 ราย (22.4%) ทุน 4,128 ล้านบาท (10.7%) 
  3. ฮ่องกง 10 ราย (7.5%) ทุน 14,573 ล้านบาท (37.6%) 
  4. สิงคโปร์ 8 ราย (5.9%) ทุน 3,653 ล้านบาท (9.4%) 
  5. สหรัฐอเมริกา นักลงทุน 7 ราย (5.2%) ทุน 65 ล้านบาท (0.1%) 
  6. เกาหลีใต้ 7 ราย (5.2%) ทุน 331 ล้านบาท (0.8%) 
  7. ไต้หวัน 6 ราย (4.4%) ทุน 743 ล้านบาท (1.9%) 
  8. สวิตเซอร์แลนด์ 5 ราย (3.7%) ทุน 714 ล้านบาท (1.8%) 
  9. ลักเซมเบิร์ก 3 ราย (2.2%) ทุน 1,453 ล้านบาท (3.7%) 
  10. นอร์เวย์ 2 ราย (1.4%) ทุน 376 ล้านบาท (0.9%) 

ประเภทธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนประกอบธุรกิจในพื้นที่ EEC

  1. บริการรับจ้างผลิต 58 ราย (43.2%) ทุน 17,662 ล้านบาท (45.7%)
  2. บริการให้เช่า 17 ราย (12.6%) ทุน 13,522 ล้านบาท (35%)
  3. ค้าส่งสินค้า 11 ราย (8.2%) ทุน 3,080 ล้านบาท (7.9%)
  4. บริการทางวิศวกรรม 10 ราย (7.4%) ทุน 93 ล้านบาท (0.2%)
  5. ค้าปลีกสินค้า 7 ราย (5.2%) ทุน 844 ล้านบาท (2.1%)
  6. บริการให้คำปรึกษา 5 ราย (3.7%) ทุน 192 ล้านบาท (0.5%)
  7. บริการทางการเงิน 4 ราย (2.9%) ทุน 1,589 ล้านบาท (4.1%)
  8. บริการติดตั้ง ซ่อมแซม 4 ราย (2.9%) ทุน 83 ล้านบาท (0.2%)
  9. กิจการโรงแรม 1 ราย (0.7%) ทุน 100 ล้านบาท (0.3%)
  10. การขายอาหาร 1 ราย (0.7%) ทุน 25 ล้านบาท (0.1%)