โฉนดเพื่อการเกษตร ขายได้ไหม หลัง ส.ป.ก.คิกออฟมอบทั่วประเทศ

18 ม.ค. 2567 | 07:01 น.
2.6 k

โฉนดเพื่อการเกษตรขายได้ไหม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กดปุ่มคิกออฟ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 มอบโฉนดที่ดินทั่วประเทศ 25,000 ราย คลิกอ่านรายละเอียดทั้งหมดด่วน

โฉนดเพื่อการเกษตรขายได้ไหม ยังคงเป็นคำถามสำหรับผู้ที่เปลี่ยนสิทธิจากโฉนดที่ดิน ส.ป.ก.4-01 มาเป็นโฉนดเพื่อการเกษตร  จากกรณีที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  หรือ ส.ป.ก. ได้มอบโฉนดเพื่อการเกษตร ให้กับผู้ถือครองสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ที่ลงทะเบียนเปลี่ยนสิทธิเป็นโฉนดเพื่อการเกษตร จำนวน 25,000 รายทั่วประเทศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา

ยังคงมีคำถามว่าโฉนดเพื่อการเกษตรขายได้หรือไม่ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ทำการตรวจสอบพบว่า การออกโฉนดมาแล้ว ซื้อ-ขาย ได้เลยไหม+ซื้อขายกัน เปลี่ยนผู้ครอบครองได้หรือไม่

คำตอบ

  • คือ การออกโฉนดเพื่อการเกษตรแล้ว ห้ามโอนภายใน 2 ปี นับแต่โอนให้แก่คู่สมรส บุตร ทายาท และเครือญาติตามระเบียบ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน  2566

นอกจากนี้แล้วหากเป็นโฉนดแล้ว จะโอนให้ลูกหลาน หรือ ญาติพี่น้องได้ทุกกรณีไหม หรือ ยังห้ามโอนกรณีมีประกันสังคม ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม ส.ป.ก. ได้แจ้งว่า เมื่อได้รับโฉนดเพื่อการเกษตรแล้ว ห้ามโอนไปยังเกษตรกรอื่นภายใน 2 ปี ยกเว้นโอนให้คู่สมรส บุตร ทายาท เครือญาติ และเกษตรผู้รับโอนต้องมีคุณสมบัติการเกษตรกรตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน

 

 

โฉนดเพื่อการเกษตร

ก่อนหน้านี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธาน “Kick off พิธีมอบโฉนดเพื่อการเกษตรเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567” ว่า  รัฐบาลมีเป้าหมายให้พี่น้องเกษตรกรได้อยู่ดีกินดี และลดความเหลื่อมล้ำซึ่งจากนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ต้องการพัฒนาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นโฉนด กระทรวงเกษตรฯ โดย ส.ป.ก. จึงได้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยมีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 30 เห็นชอบในการพิจารณาปรับปรุงเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ ส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนดเพื่อการเกษตรตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีเกษตรกรที่เข้าคุณสมบัติการเปลี่ยนเป็นโฉนดเพื่อการเกษตร จำนวน 2.27 ล้านแปลง เนื้อที่ประมาณ 22 ล้านไร่ เกษตรกร จำนวน 1.6 ล้านคน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรผู้ได้รับโฉนดเพื่อการเกษตร ส.ป.ก.

 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า