จากกรณีที่ สำนักงานปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก. ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดให้เกษตรกรที่ถือครองที่ดินส.ป.ก.4-01 ที่มีอยู่จำนวน 1.6 ล้านรายซึ่งตรงคุณสมบัติและเงื่อนไขสามารถแจ้งความประสงค์ออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรม
การแจ้งความประสงค์ออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรม
- เริ่ม ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
สถานที่ยื่น เอกสารที่ยื่น สามารถยื่นขอเอกสารที่ดินผ่าน 2 ช่องทาง
- ยื่นด้วยตนเอง ณ ส.ป.ก.จังหวัด ผ่านช่องทางศูนย์บริการประชาชน โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่พร้อมให้บริการ
- ยื่นผ่านระบบบริการออนไลน์ ของ ส.ป.ก.
โดย ส.ป.ก. ตั้งเป้าแจกโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของขวัญปีใหม่ในวันที่ 15 มกราคม 2567
ล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ลงนามโดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ค.ป.ก.) และ ให้ระเบียบฯฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป
เปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด 2566 เปิด 20 คำถามที่พบบ่อย
1.การยื่นขอออกโฉนดออนไลน์
2. ถ้าเป็นโฉนดแล้ว จะโอนให้ลูกหลานหรือญาติพี่น้องได้ทุกกรณีไหม หรือยังห้ามโอนกรณีมีประกันสังคม ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิม
- เมื่อได้รับโฉนดเพื่อการเกษตรแล้ว ห้ามโอนไปยังเกษตรกรอื่นภายใน 2 ปี ยกเว้นโอนให้คู่สมรส บุตร ทายาท เครือญาติ และเกษตรผู้รับโอนต้องมีคุณสมบัติการเกษตรกรตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน
3.ออกโฉนดมาแล้ว ซื้อ-ขาย ได้เลยไหม+ซื้อขายกัน เปลี่ยนผู้ครอบครองมา ทำไงครับท่าน+บรรพบุรุษซื้อขายกันมา เปลี่ยนผู้ครอบครองมา จะทำไหม
- การออกโฉนดเพื่อการเกษตรแล้ว ห้ามโอนภายใน 2 ปี นับแต่โอนให้แก่คู่สมรส บุตร ทายาท และเครือญาติตามระเบียบ
4. มีกำหนดระยะเวลาการยื่นถึงเมื่อไหร่+ระยะเวลาดำเนินการนานแค่ไหน
- ยื่นความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 โดยยื่นที่ ส.ป.ก.จังหวัด หรือระบบ online ที่ www.alro.go.th
5. ประสงค์จะยื่นออกโฉนดเพื่อการเกษตร ปัจจุบัน ส.ป.ก. 4-01 เป็นชื่อมารดาอยากให้โฉนดเพื่อการเกษตรเป็นชื่อของบุตรควรจะโอนสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 เป็นชื่อบุตรก่อนแล้วไปยื่นออกเป็นโฉนดเพื่อการเกษตร และสามารถทำเรื่องภายในวันเดียวกันได้หรือไม่
- สามารถยื่นขอรับการจัดที่ดินแทนที่ และยื่นขอออกโฉนดเพื่อการเกษตรไปในคราวเดียวกันได้ หากได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
6. เอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง
- หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01)
- บัตรประชาชน
- เอกสารอื่น ๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ สกุล
7. หลักเกณฑ์การออกโฉนดมีอะไรบ้าง
- ต้องเป็นเกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ยื่นความประสงค์ที่ ส.ป.ก.จังหวัด หรือ ระบบ online ที่ www.alro.go.th
8.จะซื้อขายได้ไหม
- เกษตรกรไม่สามารถซื้อขายหรือเปลี่ยนมือระหว่างเกษตรกรด้วยกันเองได้ หากประสงค์จะเปลี่ยนมือต้องดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินที่กำหนด
9.จังหวัดไหนบ้างที่ยื่นขอออกโฉนดได้
- ทุกจังหวัด
- ยกเว้น ปทุมธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สิงห์บุรี เนื่องจากไม่มีที่ดินของรัฐ
10.ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการคัดเลือกรายชื่อผู้มีสิทธิยื่นคำขอออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมของจังหวัดนั้น (ตนเองมี ส.ป.ก. 4-01 ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์มากกว่า 5 ปี)
- ได้รับอนุญาตให้เข้าประโยชน์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถยื่นคำขอออกโฉนดเพื่อการเกษตรได้
- โดยสามารถยื่นได้ 3 ช่องทาง ณ ส.ป.ก.จังหวัด/mobile unit/ระบบ online www.alro.go.th
11.โฉนดของ ส.ป.ก. กับของกรมที่ดินแตกต่างกันอย่างไร
- โฉนดเพื่อการเกษตร เป็นกรรมสิทธิ์เป็นของ ส.ป.ก. อาศัยอำนาจตาม พรบ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยอนุญาตให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์
- โฉนดที่ดิน เป็นกรรมสิทธิของผู้ครอบครอง ออกโดยอาศัยตามประมวลกฎหมายที่ดิน
12. ถ้าเป็นที่ดินอยู่อาศัยสามารถทำโฉนดได้ไหม
- ไม่ได้ เนื่องจาก ที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ช. เป็นการจัดที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย การออกโฉนดเพื่อการเกษตร ออกเฉพาะที่ดินประเภทเกษตรกรรม
13.ส.ป.ก.4-01ข ไปเปลี่ยนได้ไหมเริ่มเปลี่ยนวันไหน
- ได้ เนื่องจาก ส.ป.ก.4-01 ข. เป็นการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ประเภทแปลงเกษตรกรรม
14.ปัจจุบันครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. 80 ไร่ จะขอออกโฉนด จะสามารถออกได้เลยไหม หรือต้องแบ่งให้ครอบครองแค่ 50 ไร่ อีก 30 ไร่ กระจายสิทธิให้ทายาท
- หากเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และได้รับอนุญาตประเภทสัตว์ใหญ่ (ประกาศกระทรวง วันที่ พฤศจิกายน 2565) ก็สามารถที่จะขอออกโฉนดเพื่อการเกษตรได้ทั้ง 80 ไร่ - หากเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และได้รับอนุญาตประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่น จะมีสิทธิขอออกโฉนดเพื่อการเกษตร 50 ไร่ ส่วนอีก 30 ไร่ ต้องเพิกถอนการจัดที่ดินจำนวน 30 ไร่ นำไปจัดตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน
15.เป็นโฉนดแล้ว จะขอให้มาสอบเขต หรือ รังวัดแบ่งแปลง ได้เร็วขึ้นไหม
- เกษตรกรมีหน้าที่ดูแลรักษาหลักหมุดตามระเบียบฯ หากหลักหมุดสูญหาย ต้องยื่นคำร้อง และ ส.ป.ก.จะดำเนินการให้ตามลำดับ
16.ถ้าจะเป็นชื่อคนตาย พอเปลี่ยนเป็นชื่อคนที่มีชีวิตอยู่ ต้องรอกี่เท่าไหร่ ถึงจะยื่นเรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดได้
- ต้องดำเนินการจัดที่ดินแทนที่ แล้วเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และเข้าเงื่อนไขได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับต่อจากคนแรก) ก็สามารถยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตรได้
17.เกษตรกรไปทำเรื่องขอออกโฉนดต้องเอาคู่สมรสไปด้วย หรือไม่
- ไม่ต้องนำคู่สมรสมา และไม่ต้องได้ความยินยอมจากคู่สมรส
18.ตอนนี้ทำเรื่องการโอนสิทธิไว้แล้ว อยู่ในระหว่างการตรวจสอบ จะขอยื่นเรื่องการออกโฉนดจะต้องใช้ชื่อเจ้าของเดิมหรือเจ้าของใหม่ยื่น
- หากเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และเข้าเงื่อนไขได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับต่อจากคนแรก) ก็สามารถยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตรได้
19.การยื่นขอออกโฉนดเพื่อการเกษตรสามารถยื่นได้พร้อมกันทั้งจังหวัดไหม? มีแผนการดำเนินงานอย่างไร? กรณีเกษตรกรโทรไปถาม ส.ป.ก. จังหวัด แล้วแจ้งว่ามีแผนการดำเนินงานในพื้นที่ของอำเภอตนเองในปี พ.ศ.2569 ซึ่งต้องใช้ระยะเวลารอนานเสียโอกาสเข้าจำนองกับธนาคาร / ทางการเงินซึ่งเข้าใจว่าที่ ส.ป.ก. ประกาศผ่าน เฟชบุ๊ค / เว็ปไซต์ สามารถยื่นพร้อมกันได้ทั่วประเทศ
- สามารถยื่นได้พร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยจังหวัดจะมีแผนการดำเนินการ 5 ปี (2566-2571) โดยในแต่ละปี ส.ป.ก.จังหวัด จะกำหนดพื้นที่ดำเนินรายอำเภอ
20.ที่ดินเอกชน ของ ส.ป.ก. ทำเป็นโฉนดได้ไหม
- ที่ดินเอกชน เป็นที่ดินที่ ส.ป.ก.ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อเกษตรกรเช่าซื้อครบตามกำหนดสัญญา ส.ป.ก. มีหน้าที่ไปโอนกรรมสิทธิให้แก่เกษตรกรซึ่งที่ดินเอกชนไม่สามารถออกโฉนดเพื่อการเกษตรได้.
ที่มา: ส.ป.ก.